ชี้สาเหตุ-วัยเสี่ยงปัญหานอนไม่หลับแนะเร่งแก้ก่อนโรคแทรก

แสดงความคิดเห็น

ผศ.นพ.สุ รชัย เกื้อศิริกุล ผอ.ฝ่ายการแพทย์ และ ผอ.คลินิกปัญหาการนอน ร.พ.มนารมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มปัญหานอนไม่หลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่า ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วไปเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และร้อยละ 6-10 มีปัญหารุนแรงต้องได้รับการรักษา ยิ่งอายุมากขึ้นจะมีปัญหาการนอนหลับยากมากขึ้น และช่วงเวลาการนอนหลับลึกจะน้อยกว่าช่วงเด็ก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดต่อการนอนจะมากขึ้นทั้งความเครียด การเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป มีอัตราเสี่ยงสูงมากขึ้น เนื่องจากมีฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยทำให้นอนหลับลดลง รายงานการวิจัยพบว่าความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม

"ผู้มีอาการนอนไม่หลับ ควรแก้ไขรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรัง และอาจช่วยไม่ให้มีปัญหาโรคแทรกซ้อนเกิดตามมา ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิดที่ใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ แต่ยาเหล่านั้นก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึม รวมทั้งปัญหาการดื้อยาทำให้ต้องรับประทานยาเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยาอย่างกะทันหัน"ผศ.นพ.สุรชัยกล่าว

ผศ.นพ.สุรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันมีการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยเมลาโทนิน แทนยานอนหลับทั่วไป โดยพบว่านำมาใช้ช่วยปรับเวลานอนหลับและหายจากการอ่อนเพลียในการเดินทางข้าม โซนเวลา เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และการชะลอวัย เป็นต้น ทั้งนี้ เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตได้เองจากต่อม ไพเนียลในสมอง โดยแสงสว่างทำให้มีการผลิตเมลาโทนินน้อยในช่วงเวลากลางวัน และความมืดทำให้มีการผลิตเมลาโทนินมากในช่วงเวลากลางคืน

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdNVEF5TURnMU5nPT0=&sectionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdPQzB3TWc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 3/08/2556 เวลา 02:22:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผศ.นพ.สุ รชัย เกื้อศิริกุล ผอ.ฝ่ายการแพทย์ และ ผอ.คลินิกปัญหาการนอน ร.พ.มนารมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มปัญหานอนไม่หลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่า ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วไปเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และร้อยละ 6-10 มีปัญหารุนแรงต้องได้รับการรักษา ยิ่งอายุมากขึ้นจะมีปัญหาการนอนหลับยากมากขึ้น และช่วงเวลาการนอนหลับลึกจะน้อยกว่าช่วงเด็ก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดต่อการนอนจะมากขึ้นทั้งความเครียด การเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป มีอัตราเสี่ยงสูงมากขึ้น เนื่องจากมีฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยทำให้นอนหลับลดลง รายงานการวิจัยพบว่าความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม "ผู้มีอาการนอนไม่หลับ ควรแก้ไขรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรัง และอาจช่วยไม่ให้มีปัญหาโรคแทรกซ้อนเกิดตามมา ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิดที่ใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ แต่ยาเหล่านั้นก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึม รวมทั้งปัญหาการดื้อยาทำให้ต้องรับประทานยาเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยาอย่างกะทันหัน"ผศ.นพ.สุรชัยกล่าว ผศ.นพ.สุรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันมีการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยเมลาโทนิน แทนยานอนหลับทั่วไป โดยพบว่านำมาใช้ช่วยปรับเวลานอนหลับและหายจากการอ่อนเพลียในการเดินทางข้าม โซนเวลา เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และการชะลอวัย เป็นต้น ทั้งนี้ เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตได้เองจากต่อม ไพเนียลในสมอง โดยแสงสว่างทำให้มีการผลิตเมลาโทนินน้อยในช่วงเวลากลางวัน และความมืดทำให้มีการผลิตเมลาโทนินมากในช่วงเวลากลางคืน ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdNVEF5TURnMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdPQzB3TWc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...