เคล็ดลับสุขภาพดี - สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ...ลดเสี่ยงข้อเสื่อม
อาการลุกก็ปวด นั่งก็ปวด เป็นอาการที่ใครเป็นแล้วต้องเอ่ยเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทรมานอย่างยิ่ง” โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า ซึ่งถือเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคข้อเข่าเสื่อม ฉะนั้นหากใครไม่อยากปวดข้อเข่าตอนแก่ ควรหมั่นออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคต
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ภูธร สังขรักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกและข้อ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความรู้ว่า ข้อเข่าเสื่อม คือ การสึกหรอของกระดูกผิวข้อ ทำให้ไม่เรียบรื่นหรือมีลักษณะเป็นแผล ทำให้มีอาการปวด ซึ่งลักษณะของข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเวลาเดินลงน้ำหนัก ปวดเวลาขึ้นลงบันได เวลางอเข่า ปวดข้อฝืด ข้อติด งอแล้วเหยียดลำบาก ปวดเวลานั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบเข่าเกเข้าหรือเกออกและมีเสียงกร๊อบแกร๊บในข้อร่วมกับมีอาการปวด
แนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมอันดับแรกสามารถทำได้โดยการลดน้ำหนัก บริหารร่างกายโดยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ ออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ และการหลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดมากๆ หลีกเลี่ยงการงอเข่า เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ ส่วนการรักษาด้วยยาแก้ปวดมีหลายชนิดที่ปลอดภัยและให้ผลลดการปวดได้ดี คือ พาราเซตามอล อย่างไรก็ตาม ยาลดการอักเสบ มักมีผลข้างเคียงหากใช้ไม่ถูกต้อง เช่น กระเพาะอักเสบเป็นแผล ไตทำงานลดลง สำหรับยากินเสริมน้ำเลี้ยงข้อเข่าและยาปรับสภาพข้อเข่ามีทั้งชนิดผงละลายน้ำ และชนิดเม็ด ซึ่งผลการรักษายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และวิธีฉีดยาเข้าข้อปัจจุบันมี 2 ชนิด คือสารทดแทนน้ำหล่อเลี้ยงข้อและยาฉีดเข้าข้อที่เป็นสเตียรอยด์
อย่างไรก็ตามการผ่าตัด โดยทั่วไปจะพิจารณาเมื่อการรักษาโดยวิธีปฏิบัติตัวและรับประทานยาไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยาหรือทำให้เกิดความทุกข์ทรมานไม่สามารถ ใช้งานหรือช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการผ่าตัดมี 3 วิธี ได้แก่ 1.ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อยและยังมีการเสื่อมของข้อไม่มาก 2.การเปลี่ยนผิวข้อบางส่วนเฉพาะบริเวณที่สึกหรอ วิธีนี้มีข้อจำกัดมาก เช่น ผิวสึกบางส่วน การเคลื่อนไหวข้อต้องดี และ 3.การเปลี่ยนผิวข้อเทียมทั้งหมด แล้วใส่ข้อเทียมโลหะที่มีความเรียบลื่นยึดติดกระดูกด้วยวัสดุคล้ายซีเมนต์และแทรกด้วยแผ่นพลาสติกชนิดพิเศษเพื่อรองรับน้ำหนัก
ร่างกายคนเราก็เหมือนรถยนต์ ในวันหนึ่งวันใดเครื่องยนต์อาจจะเสียหรือเรรวนได้ ข้อเข่าก็เหมือนการสึกกร่อนของเครื่องยนต์ที่ใช้งานมานาน จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้กลับมาใช้งานตามเดิม หากเรารู้จักดูแลรักษาข้อเข่าด้วยการออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงให้กล้าม เนื้อเป็นประจำก็จะสึกหรอไม่มาก และมีร่างกายแข็งแรงอายุยืนยาว
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/223632 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อทางการแพทย์ ภาพเอ็กซเรย์ข้อต่อของหัวเข่า และภาพหญิงสาวกำลังออกกำลังกาย อาการลุกก็ปวด นั่งก็ปวด เป็นอาการที่ใครเป็นแล้วต้องเอ่ยเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทรมานอย่างยิ่ง” โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า ซึ่งถือเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคข้อเข่าเสื่อม ฉะนั้นหากใครไม่อยากปวดข้อเข่าตอนแก่ ควรหมั่นออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคต เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ภูธร สังขรักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกและข้อ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความรู้ว่า ข้อเข่าเสื่อม คือ การสึกหรอของกระดูกผิวข้อ ทำให้ไม่เรียบรื่นหรือมีลักษณะเป็นแผล ทำให้มีอาการปวด ซึ่งลักษณะของข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเวลาเดินลงน้ำหนัก ปวดเวลาขึ้นลงบันได เวลางอเข่า ปวดข้อฝืด ข้อติด งอแล้วเหยียดลำบาก ปวดเวลานั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบเข่าเกเข้าหรือเกออกและมีเสียงกร๊อบแกร๊บในข้อร่วมกับมีอาการปวด แนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมอันดับแรกสามารถทำได้โดยการลดน้ำหนัก บริหารร่างกายโดยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ ออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ และการหลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดมากๆ หลีกเลี่ยงการงอเข่า เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ ส่วนการรักษาด้วยยาแก้ปวดมีหลายชนิดที่ปลอดภัยและให้ผลลดการปวดได้ดี คือ พาราเซตามอล อย่างไรก็ตาม ยาลดการอักเสบ มักมีผลข้างเคียงหากใช้ไม่ถูกต้อง เช่น กระเพาะอักเสบเป็นแผล ไตทำงานลดลง สำหรับยากินเสริมน้ำเลี้ยงข้อเข่าและยาปรับสภาพข้อเข่ามีทั้งชนิดผงละลายน้ำ และชนิดเม็ด ซึ่งผลการรักษายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และวิธีฉีดยาเข้าข้อปัจจุบันมี 2 ชนิด คือสารทดแทนน้ำหล่อเลี้ยงข้อและยาฉีดเข้าข้อที่เป็นสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตามการผ่าตัด โดยทั่วไปจะพิจารณาเมื่อการรักษาโดยวิธีปฏิบัติตัวและรับประทานยาไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยาหรือทำให้เกิดความทุกข์ทรมานไม่สามารถ ใช้งานหรือช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการผ่าตัดมี 3 วิธี ได้แก่ 1.ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อยและยังมีการเสื่อมของข้อไม่มาก 2.การเปลี่ยนผิวข้อบางส่วนเฉพาะบริเวณที่สึกหรอ วิธีนี้มีข้อจำกัดมาก เช่น ผิวสึกบางส่วน การเคลื่อนไหวข้อต้องดี และ 3.การเปลี่ยนผิวข้อเทียมทั้งหมด แล้วใส่ข้อเทียมโลหะที่มีความเรียบลื่นยึดติดกระดูกด้วยวัสดุคล้ายซีเมนต์และแทรกด้วยแผ่นพลาสติกชนิดพิเศษเพื่อรองรับน้ำหนัก ร่างกายคนเราก็เหมือนรถยนต์ ในวันหนึ่งวันใดเครื่องยนต์อาจจะเสียหรือเรรวนได้ ข้อเข่าก็เหมือนการสึกกร่อนของเครื่องยนต์ที่ใช้งานมานาน จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้กลับมาใช้งานตามเดิม หากเรารู้จักดูแลรักษาข้อเข่าด้วยการออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงให้กล้าม เนื้อเป็นประจำก็จะสึกหรอไม่มาก และมีร่างกายแข็งแรงอายุยืนยาว ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/223632 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)