อย่าใช้ยา 'โรคหัวใจ' ร่วมกับผู้อื่น
ยากลุ่มระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System Drug) เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ยาละลายลิ่มเลือด และยาลดไขมันในเส้นเลือด มีทั้งยาที่ผลิตในประเทศและนำเข้า เป็นกลุ่มยาที่มีมูลค่าการใช้สูงขึ้นมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีอัตราการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลุ่มระบบหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใน การเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากผลิต และที่นำเข้า ณ ด่านอาหารและยา ในปี 2550-2555 ส่งตรวจวิเคราะห์จำนวน 327 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางห้องปฏิบัติการพบว่าผิดมาตรฐาน 49 ตัวอย่าง เป็นยาที่ผลิตในประเทศเพียง 8 ตัวอย่าง และเป็นยาชื่อสามัญ (Genneric Drug) ที่นำเข้าจำนวน 41 ตัวอย่าง
สำหรับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลุ่มระบบหัวใจ และหลอดเลือดที่สุ่มตัวอย่างยาจากโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศตามโครงการสร้าง หลักประกันสุขภาพและมาตรฐานการบริการด้านยา ปี 2545-2554 ผลการตรวจสอบคุณภาพยาระบบหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 2,023ตัวอย่าง จาก 553 ทะเบียนยาพบผิดมาตรฐาน 216 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10.7 โดยผิดมาตรฐานหัวข้อ ปริมาณตัวยาสำคัญ การละลายของตัวยาและสารละลายตัว ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาที่พบผิดมาตรฐาน ทางกรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ได้แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการต่อไปแล้ว
จากผลวิเคราะห์คุณภาพ พบว่า ยาที่ผลิตในประเทศส่วนใหญ่มีคุณภาพมาตรฐานสากล ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในการใช้ยาที่ผลิตใน ประเทศ เป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องใช้อย่าง ต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง ไม่ขาดยา และไม่ลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง และควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ควบคู่กับการควบคุมอาหารที่มีรสเค็มหรือมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง เครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมทั้งอาหารหวานและอาหารไขมันสูง ร่วมกับออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยาของผู้อื่น แม้ว่าจะมีอาการเหมือนกัน เนื่องจากโรคหัวใจมีหลายชนิด ซึ่งมีการใช้ยาต่างกัน และสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น บางคนอาจมีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง หรือมีภาวะโรคอื่นหรือยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย เป็นต้น ยาที่ใช้จึงแตกต่างกัน หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/35872 (ขนาดไฟล์: 167)
thaihealth.or.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ยาจำนวนหลายเม็ด ยากลุ่มระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System Drug) เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ยาละลายลิ่มเลือด และยาลดไขมันในเส้นเลือด มีทั้งยาที่ผลิตในประเทศและนำเข้า เป็นกลุ่มยาที่มีมูลค่าการใช้สูงขึ้นมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีอัตราการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลุ่มระบบหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใน การเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากผลิต และที่นำเข้า ณ ด่านอาหารและยา ในปี 2550-2555 ส่งตรวจวิเคราะห์จำนวน 327 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางห้องปฏิบัติการพบว่าผิดมาตรฐาน 49 ตัวอย่าง เป็นยาที่ผลิตในประเทศเพียง 8 ตัวอย่าง และเป็นยาชื่อสามัญ (Genneric Drug) ที่นำเข้าจำนวน 41 ตัวอย่าง สำหรับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลุ่มระบบหัวใจ และหลอดเลือดที่สุ่มตัวอย่างยาจากโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศตามโครงการสร้าง หลักประกันสุขภาพและมาตรฐานการบริการด้านยา ปี 2545-2554 ผลการตรวจสอบคุณภาพยาระบบหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 2,023ตัวอย่าง จาก 553 ทะเบียนยาพบผิดมาตรฐาน 216 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 10.7 โดยผิดมาตรฐานหัวข้อ ปริมาณตัวยาสำคัญ การละลายของตัวยาและสารละลายตัว ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาที่พบผิดมาตรฐาน ทางกรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ได้แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการต่อไปแล้ว จากผลวิเคราะห์คุณภาพ พบว่า ยาที่ผลิตในประเทศส่วนใหญ่มีคุณภาพมาตรฐานสากล ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในการใช้ยาที่ผลิตใน ประเทศ เป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องใช้อย่าง ต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง ไม่ขาดยา และไม่ลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง และควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ควบคู่กับการควบคุมอาหารที่มีรสเค็มหรือมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง เครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมทั้งอาหารหวานและอาหารไขมันสูง ร่วมกับออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยาของผู้อื่น แม้ว่าจะมีอาการเหมือนกัน เนื่องจากโรคหัวใจมีหลายชนิด ซึ่งมีการใช้ยาต่างกัน และสภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น บางคนอาจมีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง หรือมีภาวะโรคอื่นหรือยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย เป็นต้น ยาที่ใช้จึงแตกต่างกัน หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ขอบคุณ... http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/35872 thaihealth.or.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)