ถึงช่วง(อาจ)เครียดอีก ‘ภาวะซินโดรม’ ‘การเมือง’ ก็มีผล!!
ประเทศไทยในยามนี้ นอกจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการประกอบอาชีพ-ปากท้อง ปัญหาสังคมรูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ กับเรื่อง ’การเมือง“ สถานการณ์ก็ ’เขม็งเกลียว“ ดึงทั้งสังคมไทยให้ต้องใส่ใจจดจ่ออีกครั้ง
การเมืองในไทยเป็นเรื่องใหญ่ยึดโยงกับทุกเรื่องไม่ว่าจะคิดเห็นเช่นไรในด้านใดยังไงก็ต้องเกี่ยว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันเรื่องเกี่ยวกับ “สุขภาพจิต” เป็นเรื่องที่ทางแวดวงสาธารณสุขในประเทศไทยพยายามจะให้ความรู้ความเข้าใจกับ สังคมไทยโดยรวม ซึ่งกับ ’สถานการณ์การเมือง“ในประเทศไทยในยุคหลัง ๆ มานี้ก็ ’มีส่วนยึดโยงกับเรื่องสุขภาพจิต“ ของประชาชนคนไทยด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่คิดเห็นหรือมีจุดยืนเช่นไรก็ตาม และกับการเมืองไทยที่สถานการณ์เขม็งเกลียวอีก ภาวะ ’เครียดสถานการณ์ทางการเมือง“ ก็อาจขยายวงอีก
ว่ากันในทางวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพจิต กับเรื่องทางการเมืองนั้น ยุคหลัง ๆ มานี้ทางกรมสุขภาพจิตก็เคยมีการระบุถึง สภาวะ “ความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง” หรือ “โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “พีเอสเอส (Political Stress Syndrome : PSS)” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะต้องสนใจกันอีก สภาวะพีเอสเอสนี้ เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และกับผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ก็สนใจเรื่องการเมืองโดย“เกิดจากภาวะความตึงเครียด...จากเรื่องการเมือง”
ตามข้อมูลในทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเพียว ๆ ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยตอนนี้ หรือในอดีต หากใครเกิดสภาวะพีเอสเอส ก็จะทำให้มีอาการทั้งทางจิตใจ และทางกาย รวมถึงมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น และที่สำคัญคือจะเกิดความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล อาจจะกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต จนกลายเป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจโดยเฉพาะคนที่“อิน”หรือติดตามการเมืองอยู่ตลอดเวลา
“พีเอสเอสไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติด้านจิตใจมากที่สุด ในรอบ 30 ปี จนกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญในเมืองไทย”...นี่เป็นบางส่วนจากข้อมูลในเชิง’อุบัติการณ์ด้านสุขภาพจิต“คนไทย’อันเนื่องจากอุบัติการณ์ทางการเมือง“
นี่เป็นอีกเรื่องอีกปัญหาที่เกิดกับคนไทยยุคนี้ และตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าจะต้องสนใจกันอีก เพิ่มเติมข้อมูลในทางวิชาการด้านสุขภาพจิต กับสภาวะ “ความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง” หรือ “โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม” หรือ “พีเอสเอส” นั้น ใครก็ตามที่เกิดสภาวะนี้ขึ้น อาการทางจิตใจ ที่อาจจะเป็นคือ...สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่ายก้าวร้าวหรือรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้หมดหวังสิ้นหวังรู้สึกว่าไม่มีทางออก
อาการทางกาย ที่อาจจะเกิดจากสภาวะความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง คือ...ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือแขนขา นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้องปวดท้องชาตามร่างกายโดยที่ตัวเองก็อาจไม่รู้ว่าเผชิญสภาวะพีเอสเอสอยู่
ส่วนด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือ อาการด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น นั้น ก็อาจจะเป็นได้ดังนี้คือ...มีการโต้เถียงกับผู้อื่น หรือแม้แต่กับบุคคลในครอบครัว โดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง จนถึงรุนแรง โดยที่ไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีการพยายามเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมาก่อน จนอาจจะทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพอย่างรุนแรงร้ายแรงเช่นมีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังเอาชนะ อาจจะมีการทะเลาะวิวาทด้วยกำลังกับผู้อื่นอาจจะทำอะไรจนเกิดเป็นคดีความใหญ่โต!!
ทั้งนี้ การหันเหความสนใจไปที่เรื่องอื่น ๆ การลดความสำคัญในการสนใจการเมืองลงมา การให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน การหาทางระบายออก ออกกำลังกาย พักผ่อนด้วยวิธีต่าง ๆ (ไม่รวมการเล่นไฮโล-เล่นพนัน, เมา) การฝึกผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติ ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการหันเข้าหาวิธีหรือสิ่งที่ทำให้สงบได้ เช่น ศาสนา...เหล่านี้เป็นแนวทางป้องกัน หรือแก้ไขปัญหา “ความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง” หรือ “โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม” หรือ “พีเอสเอส” ซึ่งทางกรมสุขภาพจิตก็เคยระบุไว้ด้วยว่า...สภาวะนี้อาจจะหายไปได้เองเมื่อ สถานการณ์คลี่คลาย หรือเมื่อละความสนใจไปสู่เรื่องอื่นๆบ้าง
เหล่านี้ก็เป็นโดยสังเขป เป็นหลักใหญ่ใจความ เกี่ยวกับเรื่อง ’สุขภาพจิต“ ที่ ’สถานการณ์ทางการเมือง“ ก็ ’อาจจะส่งผลกระทบได้“ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นหรือมีจุดยืนเป็นเช่นไรอย่างไรก็ตาม ที่สำคัญ...ไม่เพียงกับผู้ใหญ่ที่เข้าใจการเมือง กับ ’เด็ก ๆ“ ที่ไม่เข้าใจการเมือง...ก็ด้วย!!!!!.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/224711 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพสื่อประสาทภายในสมองมนุษย์ ประเทศไทยในยามนี้ นอกจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการประกอบอาชีพ-ปากท้อง ปัญหาสังคมรูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ กับเรื่อง ’การเมือง“ สถานการณ์ก็ ’เขม็งเกลียว“ ดึงทั้งสังคมไทยให้ต้องใส่ใจจดจ่ออีกครั้ง การเมืองในไทยเป็นเรื่องใหญ่ยึดโยงกับทุกเรื่องไม่ว่าจะคิดเห็นเช่นไรในด้านใดยังไงก็ต้องเกี่ยว ทั้งนี้ ในปัจจุบันเรื่องเกี่ยวกับ “สุขภาพจิต” เป็นเรื่องที่ทางแวดวงสาธารณสุขในประเทศไทยพยายามจะให้ความรู้ความเข้าใจกับ สังคมไทยโดยรวม ซึ่งกับ ’สถานการณ์การเมือง“ในประเทศไทยในยุคหลัง ๆ มานี้ก็ ’มีส่วนยึดโยงกับเรื่องสุขภาพจิต“ ของประชาชนคนไทยด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่คิดเห็นหรือมีจุดยืนเช่นไรก็ตาม และกับการเมืองไทยที่สถานการณ์เขม็งเกลียวอีก ภาวะ ’เครียดสถานการณ์ทางการเมือง“ ก็อาจขยายวงอีก ว่ากันในทางวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพจิต กับเรื่องทางการเมืองนั้น ยุคหลัง ๆ มานี้ทางกรมสุขภาพจิตก็เคยมีการระบุถึง สภาวะ “ความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง” หรือ “โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “พีเอสเอส (Political Stress Syndrome : PSS)” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะต้องสนใจกันอีก สภาวะพีเอสเอสนี้ เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และกับผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ก็สนใจเรื่องการเมืองโดย“เกิดจากภาวะความตึงเครียด...จากเรื่องการเมือง” ตามข้อมูลในทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเพียว ๆ ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยตอนนี้ หรือในอดีต หากใครเกิดสภาวะพีเอสเอส ก็จะทำให้มีอาการทั้งทางจิตใจ และทางกาย รวมถึงมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น และที่สำคัญคือจะเกิดความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล อาจจะกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต จนกลายเป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจโดยเฉพาะคนที่“อิน”หรือติดตามการเมืองอยู่ตลอดเวลา “พีเอสเอสไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติด้านจิตใจมากที่สุด ในรอบ 30 ปี จนกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญในเมืองไทย”...นี่เป็นบางส่วนจากข้อมูลในเชิง’อุบัติการณ์ด้านสุขภาพจิต“คนไทย’อันเนื่องจากอุบัติการณ์ทางการเมือง“ นี่เป็นอีกเรื่องอีกปัญหาที่เกิดกับคนไทยยุคนี้ และตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าจะต้องสนใจกันอีก เพิ่มเติมข้อมูลในทางวิชาการด้านสุขภาพจิต กับสภาวะ “ความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง” หรือ “โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม” หรือ “พีเอสเอส” นั้น ใครก็ตามที่เกิดสภาวะนี้ขึ้น อาการทางจิตใจ ที่อาจจะเป็นคือ...สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่ายก้าวร้าวหรือรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้หมดหวังสิ้นหวังรู้สึกว่าไม่มีทางออก อาการทางกาย ที่อาจจะเกิดจากสภาวะความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง คือ...ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือแขนขา นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้องปวดท้องชาตามร่างกายโดยที่ตัวเองก็อาจไม่รู้ว่าเผชิญสภาวะพีเอสเอสอยู่ ส่วนด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือ อาการด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น นั้น ก็อาจจะเป็นได้ดังนี้คือ...มีการโต้เถียงกับผู้อื่น หรือแม้แต่กับบุคคลในครอบครัว โดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง จนถึงรุนแรง โดยที่ไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีการพยายามเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมาก่อน จนอาจจะทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพอย่างรุนแรงร้ายแรงเช่นมีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังเอาชนะ อาจจะมีการทะเลาะวิวาทด้วยกำลังกับผู้อื่นอาจจะทำอะไรจนเกิดเป็นคดีความใหญ่โต!! ทั้งนี้ การหันเหความสนใจไปที่เรื่องอื่น ๆ การลดความสำคัญในการสนใจการเมืองลงมา การให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน การหาทางระบายออก ออกกำลังกาย พักผ่อนด้วยวิธีต่าง ๆ (ไม่รวมการเล่นไฮโล-เล่นพนัน, เมา) การฝึกผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติ ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการหันเข้าหาวิธีหรือสิ่งที่ทำให้สงบได้ เช่น ศาสนา...เหล่านี้เป็นแนวทางป้องกัน หรือแก้ไขปัญหา “ความเครียดจากสถานการณ์ทางการเมือง” หรือ “โพลิติคอล สเตรส ซินโดรม” หรือ “พีเอสเอส” ซึ่งทางกรมสุขภาพจิตก็เคยระบุไว้ด้วยว่า...สภาวะนี้อาจจะหายไปได้เองเมื่อ สถานการณ์คลี่คลาย หรือเมื่อละความสนใจไปสู่เรื่องอื่นๆบ้าง เหล่านี้ก็เป็นโดยสังเขป เป็นหลักใหญ่ใจความ เกี่ยวกับเรื่อง ’สุขภาพจิต“ ที่ ’สถานการณ์ทางการเมือง“ ก็ ’อาจจะส่งผลกระทบได้“ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นหรือมีจุดยืนเป็นเช่นไรอย่างไรก็ตาม ที่สำคัญ...ไม่เพียงกับผู้ใหญ่ที่เข้าใจการเมือง กับ ’เด็ก ๆ“ ที่ไม่เข้าใจการเมือง...ก็ด้วย!!!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/224711 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)