กรมสุขภาพจิตเผยเด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้า 2.4 แสนคนต่อปี
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่กรมสุขภาพจิต พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าว “สถานการณ์ปัญหาเด็กบกพร่องทางพัฒนาการของไทย” ว่า ปัจจุบันพบเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 240,000 คนต่อปี จากการสำรวจพบว่าเด็กร้อยละ 30 จะมีปัญหาการพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า และในจำนวนนี้ร้อยละ 5 มักเป็นเด็กออทิสติก โดยปัจจัยสำคัญคือ การขาดการดูแลตั้งแต่วัยแรกเกิด-5 ปี อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงอัตราการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ พฤติกรรม และอารมณ์ของไทยยังมีน้อย โดยเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาเข้าถึงเพียง 33,592 คน หรือประมาณร้อยละ 5.23 เป็นเด็กออทิสติก 7,212 คน หรือประมาณร้อยละ 12.02 ของประชากรเด็ก ดังนั้น การค้นหา การช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสม ตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็น ทรัพยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า ในการค้นหาเด็กที่มีความเสี่ยง กรมสุขภาพจิตได้ทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี สำหรับผู้ปกครองขึ้น ซึ่งมีการตีพิมพ์และแจกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว โดยจะส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศแห่งละ 30 เล่ม โดยคู่มือดังกล่าวจะระบุถึงการพัฒนาการของเด็ก ทั้งด้านการเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา และ ด้านการช่วยเหลือและสังคม ซึ่งในแต่ละด้านจะมีการให้คำแนะนำการกระตุ้นพัฒนาการแต่ละช่วงวัย โดยช่วงอายุที่สำคัญคือช่วง 9 เดือน ต้องดูพัฒนาการของลูก เช่น วัย 1 เดือนสามารถนอนคว่ำ ยกศีรษะและหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งได้หรือไม่ เป็นต้น
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่กรมสุขภาพจิต พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าว “สถานการณ์ปัญหาเด็กบกพร่องทางพัฒนาการของไทย” ว่า ปัจจุบันพบเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 240,000 คนต่อปี จากการสำรวจพบว่าเด็กร้อยละ 30 จะมีปัญหาการพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า และในจำนวนนี้ร้อยละ 5 มักเป็นเด็กออทิสติก โดยปัจจัยสำคัญคือ การขาดการดูแลตั้งแต่วัยแรกเกิด-5 ปี อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงอัตราการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ พฤติกรรม และอารมณ์ของไทยยังมีน้อย โดยเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาเข้าถึงเพียง 33,592 คน หรือประมาณร้อยละ 5.23 เป็นเด็กออทิสติก 7,212 คน หรือประมาณร้อยละ 12.02 ของประชากรเด็ก ดังนั้น การค้นหา การช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสม ตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็น ทรัพยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า ในการค้นหาเด็กที่มีความเสี่ยง กรมสุขภาพจิตได้ทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี สำหรับผู้ปกครองขึ้น ซึ่งมีการตีพิมพ์และแจกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว โดยจะส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศแห่งละ 30 เล่ม โดยคู่มือดังกล่าวจะระบุถึงการพัฒนาการของเด็ก ทั้งด้านการเคลื่อนไหวหรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษา และ ด้านการช่วยเหลือและสังคม ซึ่งในแต่ละด้านจะมีการให้คำแนะนำการกระตุ้นพัฒนาการแต่ละช่วงวัย โดยช่วงอายุที่สำคัญคือช่วง 9 เดือน ต้องดูพัฒนาการของลูก เช่น วัย 1 เดือนสามารถนอนคว่ำ ยกศีรษะและหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งได้หรือไม่ เป็นต้น ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1376042375&grpid=&catid=19&subcatid=1904 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)