ตั้งเป้าลดภาวะตาบอดจากต้อกระจกปีงบ 57

แสดงความคิดเห็น

11 ส.ค. 56 - นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคตาต้อกระจกรายใหม่ 60,000 คน ขณะที่มีผู้ป่วยสะสมรอรับการผ่าตัดกว่า 100,000 คน ซึ่งหากยังปล่อยให้สภาวะดำเนินไปเช่นนี้ จะส่งผลให้ตัวเลขผู้ป่วยสะสมทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว สปสช.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขใช้แนวทางการบริหารจัดการโรคเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม เริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และให้บริการด้วยคุณภาพและมาตรฐานตามที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์กำหนด มีการกำหนดแนวทางการชดเชยที่เหมาะสม ชัดเจนแก่โรงพยาบาลที่รักษา ทำให้ผู้ป่วยตาต้อกระจกเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดการรอคิว ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย ผลการดำเนินงาน มีผู้ได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 100,000 ราย โดยล่าสุดในปี 2555 มีผู้ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกและการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม 141,574 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 142 จากเป้าหมาย 100,000 ครั้ง

“สำหรับแนวทางการบริหารจัดการโรคตาต้อกระจกในปีงบประมาณ 2557 นั้น ตั้งเป้าหมายผ่าตัดแก่ผู้ป่วยต้อกระจกอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 120,000 ราย โดยจะลดอัตราผู้ป่วยที่ตาบอดจากต้อกระจก ดังนั้นจึงต้องเพิ่มการผ่าตัดตาต้อกระจกในผู้ป่วยตาต้อกระจกที่มีภาวะตามัว มากจนมองไม่เห็น (blinding cataract) ให้เข้าถึงบริการมากขึ้น ตั้งเป้าหมายว่าในแต่ละเขต มีจำนวนผู้ป่วยตามัวจนมองไม่เห็นได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 จากเดิมที่แต่ละเขตมีผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ารับการรักษาเฉลี่ยร้อยละ 13 ซึ่งจะต้องเน้นไปที่การบริการตรวจคัดกรองที่ต้องครอบคลุมผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อให้ได้รับการผ่าตัดและลดภาวะการตาบอดจากต้อกระจกลงได้ และเพิ่มอัตราการจ่ายให้สถานพยาบาลที่ผ่าตัดตาต้อกระจกในกลุ่มผู้ป่วยที่มี ภาวะตามัวมากจนมองไม่เห็น (blinding cataract) ให้ได้รับค่าชดเชย 9,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่เท่ากับการผ่าตัดในกลุ่มซับซ้อน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายหลักนั่นเอง”

นพ.วินัย กล่าวว่า ขณะเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยในพื้นที่ที่เข้าถึงการรักษายาก เช่น พื้นที่ทุรกันดาร และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ได้ปรับวิธีการให้สามารถเบิกจ่ายโดยใช้งบผู้ป่วยในของแต่ละเขตได้ ในกรณีที่แต่ละเขตมีการทำการผ่าตัดเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ วิธีนี้จะทำให้ไม่ต้องกังวลกับงบประมาณว่าจะมีให้หรือไม่ เนื่องจากสามารถใช้งบผู้ป่วยในได้ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนั้น ผู้ป่วยไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด มีเพียงจ่ายค่าธรรมเนียม 30บาทต่อครั้งเท่านั้น หากไม่ประสงค์จ่ายก็สามารถทำได้ แต่การปรับวิธีการนี้จะทำให้สถานพยาบาลทำงานได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้การผ่าตัดตาต้อกระจกครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และลดจำนวนผู้ป่วยสะสมนั่นเอง

ขอบคุณ http://prachatai.com/journal/2013/08/48134?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm)_campaign=Feed%3A+prachatai+(ประชาไท+Prachatai.com (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ส.ค.56

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 12/08/2556 เวลา 02:29:53

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

11 ส.ค. 56 - นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคตาต้อกระจกรายใหม่ 60,000 คน ขณะที่มีผู้ป่วยสะสมรอรับการผ่าตัดกว่า 100,000 คน ซึ่งหากยังปล่อยให้สภาวะดำเนินไปเช่นนี้ จะส่งผลให้ตัวเลขผู้ป่วยสะสมทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว สปสช.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขใช้แนวทางการบริหารจัดการโรคเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม เริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และให้บริการด้วยคุณภาพและมาตรฐานตามที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์กำหนด มีการกำหนดแนวทางการชดเชยที่เหมาะสม ชัดเจนแก่โรงพยาบาลที่รักษา ทำให้ผู้ป่วยตาต้อกระจกเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดการรอคิว ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย ผลการดำเนินงาน มีผู้ได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 100,000 ราย โดยล่าสุดในปี 2555 มีผู้ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกและการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม 141,574 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 142 จากเป้าหมาย 100,000 ครั้ง “สำหรับแนวทางการบริหารจัดการโรคตาต้อกระจกในปีงบประมาณ 2557 นั้น ตั้งเป้าหมายผ่าตัดแก่ผู้ป่วยต้อกระจกอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 120,000 ราย โดยจะลดอัตราผู้ป่วยที่ตาบอดจากต้อกระจก ดังนั้นจึงต้องเพิ่มการผ่าตัดตาต้อกระจกในผู้ป่วยตาต้อกระจกที่มีภาวะตามัว มากจนมองไม่เห็น (blinding cataract) ให้เข้าถึงบริการมากขึ้น ตั้งเป้าหมายว่าในแต่ละเขต มีจำนวนผู้ป่วยตามัวจนมองไม่เห็นได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 จากเดิมที่แต่ละเขตมีผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ารับการรักษาเฉลี่ยร้อยละ 13 ซึ่งจะต้องเน้นไปที่การบริการตรวจคัดกรองที่ต้องครอบคลุมผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อให้ได้รับการผ่าตัดและลดภาวะการตาบอดจากต้อกระจกลงได้ และเพิ่มอัตราการจ่ายให้สถานพยาบาลที่ผ่าตัดตาต้อกระจกในกลุ่มผู้ป่วยที่มี ภาวะตามัวมากจนมองไม่เห็น (blinding cataract) ให้ได้รับค่าชดเชย 9,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่เท่ากับการผ่าตัดในกลุ่มซับซ้อน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายหลักนั่นเอง” นพ.วินัย กล่าวว่า ขณะเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยในพื้นที่ที่เข้าถึงการรักษายาก เช่น พื้นที่ทุรกันดาร และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ได้ปรับวิธีการให้สามารถเบิกจ่ายโดยใช้งบผู้ป่วยในของแต่ละเขตได้ ในกรณีที่แต่ละเขตมีการทำการผ่าตัดเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ วิธีนี้จะทำให้ไม่ต้องกังวลกับงบประมาณว่าจะมีให้หรือไม่ เนื่องจากสามารถใช้งบผู้ป่วยในได้ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนั้น ผู้ป่วยไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด มีเพียงจ่ายค่าธรรมเนียม 30บาทต่อครั้งเท่านั้น หากไม่ประสงค์จ่ายก็สามารถทำได้ แต่การปรับวิธีการนี้จะทำให้สถานพยาบาลทำงานได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้การผ่าตัดตาต้อกระจกครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และลดจำนวนผู้ป่วยสะสมนั่นเอง ขอบคุณ … http://prachatai.com/journal/2013/08/48134?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm)_campaign=Feed%3A+prachatai+(ประชาไท+Prachatai.com ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...