นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เปิดงาน มหกรรมฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 14 ส.ค. ที่โรงพยาบาลราชวิถี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ และมอบคำมั่นนโยบายฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ ก่อนที่จะเยี่ยมชมการสาธิตการขึ้นทะเบียนสุขภาพแม่และเด็ก การตรวจครรภ์ เยี่ยม และมอบของขวัญให้กับแม่หลังคลอด พร้อมมอบบัตรสุขภาพเด็กให้หญิงหลังคลอด เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรไทยให้สอดคล้องกับโครงการเพื่อเด็ก และสตรีขององค์การสหประชาชาติในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กและสตรีทั่วโลกให้ได้ 16 ล้านคน ภายในปี 2558
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีหญิงตั้งครรภ์ปีละ 8 แสนคน ซึ่งจากนี้ไปแม่ทุกคนจะได้รับสิทธิ์ตามโครงการนี้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคมข้าราชการหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค
นายกฯ กล่าวว่า งานอนามัยเป็นงานขั้นพื้นฐานในการดูแลคุณภาพชีวิต นอกจากนี้พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายดูแลคุณภาพประชาชนตลอดช่วงชีวิต โดยบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลแรงงานต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการเพื่อเด็กและสตรีขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบการฝากครรภ์ครั้งนี้ จะเน้นให้หญิงเริ่มฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มีระบบการดูแลตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ โดยพบว่าปัจจุบันอัตราการฝากครรภ์เร็วเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า หรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ อยู่ที่ร้อยละ 53 พบแม่มีอัตราการขาดสารไอโอดีนร้อยละ 53 ภาวะโลหิตจางร้อยละ 18 พบทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 8 ทารกแรกเกิดมีภาวะดาวน์ซินโดรม 1.25:1,000 การเกิดมีชีพ เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 6:1,000 การเกิดมีชีพ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด 6:1,000 การเกิดมีชีพ เด็กติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกร้อยละ 2.2 เด็กกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียงร้อยละ 54 หรือประมาณ 430,000 คน และเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 ซึ่งหากเข้าสู่ระบบการดูแลอย่างรวดเร็ว จะมีจ่ายยา 3 ชนิด ได้แก่ โฟเลตป้องกันความพิการแต่กำเนิด ไอโอดีนป้องกันปัญญาอ่อนและเหล็กป้องกันปัญหาซีด ให้เด็กเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการสมวัย และโภชนาการต่างๆ จัดโรงเรียนพ่อแม่สอนการปฏิบัติตัวตามหลักวิชาการ โดยออกบัตรประจำตัวทั้งหญิงตั้งครรภ์สีชมพู ซึ่งจะมีวันกำหนดคลอดเมื่อครบ 40 สัปดาห์ และออกบัตรให้ลูกสีเหลือง ระบุวันเกิดตามบัตรประชาชน
ตามโครงการนี้ หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ทุกสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นโครงการ 30 บาท ประกันสังคม และข้าราชการ สามารถฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากเดิมที่หญิงตั้งครรภ์ในโครงการ 30 บาท และประกันสังคม ต้องฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลที่ระบุในสัญญา หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็จะต้องเสียเงินเอง ทำให้ไปฝากท้องเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์มีเพียงร้อยละ 53 ซึ่งการฝากครรภ์ช้า จะไม่สามารถค้นหาแก้ไขความผิดปกติได้ทัน ส่งผลให้เด็กไทยแรกเกิดมีต้นทุนชีวิตต่ำ เกิดมาไม่สมบูรณ์ นพ.ประดิษฐ์กล่าว
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 14 ส.ค. ที่โรงพยาบาลราชวิถี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ด้วยบัตรสุขภาพแม่และเด็ก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ และมอบคำมั่นนโยบายฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ ก่อนที่จะเยี่ยมชมการสาธิตการขึ้นทะเบียนสุขภาพแม่และเด็ก การตรวจครรภ์ เยี่ยม และมอบของขวัญให้กับแม่หลังคลอด พร้อมมอบบัตรสุขภาพเด็กให้หญิงหลังคลอด เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรไทยให้สอดคล้องกับโครงการเพื่อเด็ก และสตรีขององค์การสหประชาชาติในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กและสตรีทั่วโลกให้ได้ 16 ล้านคน ภายในปี 2558 ทั้งนี้ ประเทศไทยมีหญิงตั้งครรภ์ปีละ 8 แสนคน ซึ่งจากนี้ไปแม่ทุกคนจะได้รับสิทธิ์ตามโครงการนี้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคมข้าราชการหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค นายกฯ กล่าวว่า งานอนามัยเป็นงานขั้นพื้นฐานในการดูแลคุณภาพชีวิต นอกจากนี้พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายดูแลคุณภาพประชาชนตลอดช่วงชีวิต โดยบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลแรงงานต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการเพื่อเด็กและสตรีขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบการฝากครรภ์ครั้งนี้ จะเน้นให้หญิงเริ่มฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มีระบบการดูแลตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ โดยพบว่าปัจจุบันอัตราการฝากครรภ์เร็วเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า หรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ อยู่ที่ร้อยละ 53 พบแม่มีอัตราการขาดสารไอโอดีนร้อยละ 53 ภาวะโลหิตจางร้อยละ 18 พบทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 8 ทารกแรกเกิดมีภาวะดาวน์ซินโดรม 1.25:1,000 การเกิดมีชีพ เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 6:1,000 การเกิดมีชีพ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด 6:1,000 การเกิดมีชีพ เด็กติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกร้อยละ 2.2 เด็กกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียงร้อยละ 54 หรือประมาณ 430,000 คน และเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ มีพัฒนาการสมวัยเพียงร้อยละ 70 ซึ่งหากเข้าสู่ระบบการดูแลอย่างรวดเร็ว จะมีจ่ายยา 3 ชนิด ได้แก่ โฟเลตป้องกันความพิการแต่กำเนิด ไอโอดีนป้องกันปัญญาอ่อนและเหล็กป้องกันปัญหาซีด ให้เด็กเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการสมวัย และโภชนาการต่างๆ จัดโรงเรียนพ่อแม่สอนการปฏิบัติตัวตามหลักวิชาการ โดยออกบัตรประจำตัวทั้งหญิงตั้งครรภ์สีชมพู ซึ่งจะมีวันกำหนดคลอดเมื่อครบ 40 สัปดาห์ และออกบัตรให้ลูกสีเหลือง ระบุวันเกิดตามบัตรประชาชน ตามโครงการนี้ หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ทุกสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นโครงการ 30 บาท ประกันสังคม และข้าราชการ สามารถฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากเดิมที่หญิงตั้งครรภ์ในโครงการ 30 บาท และประกันสังคม ต้องฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลที่ระบุในสัญญา หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็จะต้องเสียเงินเอง ทำให้ไปฝากท้องเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์มีเพียงร้อยละ 53 ซึ่งการฝากครรภ์ช้า จะไม่สามารถค้นหาแก้ไขความผิดปกติได้ทัน ส่งผลให้เด็กไทยแรกเกิดมีต้นทุนชีวิตต่ำ เกิดมาไม่สมบูรณ์ นพ.ประดิษฐ์กล่าว ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05qUTVNREExTnc9PQ==&subcatid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)