ระแวงสังคม–หวาดกลัวฝูงชน...รักษาได้
อาการสั่นสะพรึงเมื่อเฉิดฉายอยู่กลางฝูงชน รู้สึกเขินอาย สติแตก ขาดความมั่นใจ หรือกระทั่งขาดสมาธิจนไม่สามารถร่วมกิจกรรมกับกลุ่มคนได้ ว่ากันตามหลักจิตวิทยาอาการเหล่านั้นคือสัญญาณของโรค บ่งชี้ตามหลักการจำกัดความได้ว่าเป็นโรคหวาดระแวงสังคม (Social Phobia) โดยโรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
อาการของผู้ป่วยแสดงออกมากน้อยตามลักษณะรายบุคคล อาทิ เมื่อเกิดความกลัวจะตึงเครียด เกร็ง ใจสั่น เหงื่อออกตามมือหรือเท้า หรืออาจพูดจาเสียงสั่นคล้ายมีก้อนจุกในลำคอ บางรายหนักเข้าอาการแสดงออกผ่านทางร่างกาย ทั้งปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดท้อง นอนไม่หลับ ซ้ำร้ายกว่านั้น หากอาการรุนแรงมีโอกาสเกิดเป็นภาวะซึมเศร้า กระทั่งผู้ป่วยต้องหลบตัวออกจากสังคม ไม่สุงสิงกับคนรอบข้าง คิดวิตกกังวลตลอดเวลา ที่สุดแล้วก็จะอยู่คนเดียวตามลำพัง หลบตัวอยู่ในห้อง ไม่ติดต่อกับใครเป็นเวลานาน มีเพียงคนสนิทหรือคนในครอบครัวเท่านั้นที่สามารถพูดคุยกันได้
การสอบทานอาการเบื้องต้น เช่น ลังเลรู้สึกไม่สบายใจ หรือยอมเป็นคนตามเมื่อต้องเป็นจุดสนใจของคนอื่น มีความพยายามหลบเลี่ยงที่จะเริ่มพูดคุย แสดงออก ไปงานรื่นเริง รับโทรศัพท์ หรือสั่งอาหารตามร้านภัตตาคาร ไม่กล้าสบตาผู้อื่นหรือมักพูดจาเบาๆ พึมพำ คุยหรือเล่นกับเพื่อนน้อย ใส่ใจกับคำพูดคำวิจารณ์ต่างๆ อย่างมาก กลัว “ขายหน้า”
หากเกิดในเด็ก มีโอกาสที่เด็กจะปฏิเสธที่จะไปโรงเรียน โดยจะอ้างสาเหตุต่างๆ นานาว่า ไม่สบาย ปวดหัว ปวดท้องบ่อยๆ ปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้เด็กกลายเป็นใบ้ เพราะไม่กล้าพูดหรือคุยกับใครเลย
การรักษาอาการกลัวไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่มียารักษาโรคกลัวโดยตรง แต่มียาช่วยเหลือซึ่งก่อให้เกิดผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความกล้าขึ้น เช่น ยาคลายความวิตกกังวล ยารักษาภาวะซึมเศร้า ยาลดอาการใจสั่น หรือยานอนหลับ อย่างไรก็ดี ยากลุ่มดังกล่าวจะส่งผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือเกิดอาการง่วงในขณะที่มีฤทธิ์ยา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีวิธีการรักษาที่เรียกว่า Medication คือ การเผชิญหน้ากับความกลัว กล่าวคือ หากผู้ป่วยเปิดใจยอมรับและกล้าเผชิญความกลัว โดยเริ่มทีละเล็กทีละน้อย ความกลัวดังกล่าวก็จะเริ่มลดลงไป วิธีการดังกล่าวเรียกว่าพฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) สำหรับการรักษาให้ได้ผล จำเป็นต้องใช้ 2 แบบผสมผสานกัน ซึ่งปัจจุบันแพทย์มักเลือกใช้วิธีนี้ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรรักษาโดยมีนักจิตวิทยาดูแล พร้อมกับควรมีการปรับเสริมบุคลิกภาพควบคู่ ทั้งการฝึกสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจเพื่อลดความตื่นเต้น การฝึกโยคะ การออกกำลังกาย การฝึกควบคุมจิตใต้สำนึก
การเข้ารับการรักษา ในประเทศไทยยังไม่มีสถานที่เฉพาะ แต่ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสามารถเข้าปรึกษาได้ที่แผนกจิตเวชของโรงพยาบาล ทั่วไปได้ ที่ผ่านมามีวิธีการรักษาที่น่าสนใจ โดย พ.ท.นพ.พงศธร เนตราคม จิตแพทย์ประจำกองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คุณหมอพงศธรได้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือทำพฤติกรรมบำบัด เริ่มจากให้ผู้ป่วยแชตรูมกับเพื่อนๆ กระทั่ง 12 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วยเริ่มกล้าสื่อสารกับคนไม่คุ้นเคยผ่านอีเมล เริ่มมีความกล้าขึ้น โดยผู้ป่วยเวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากถึงครั้งละประมาณ 2-3 ชั่วโมง เฉลี่ย 5 วันต่อสัปดาห์ จนเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16 เธอเริ่มกล้าออกงานสังคม สัปดาห์ที่ 20 เธอไปไหนคนเดียวได้ และไม่กลัวการสนทนากับคนแปลกหน้าอีกต่อไป...โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ชายหนุ่มพูดคุยกับตัวเอง อาการสั่นสะพรึงเมื่อเฉิดฉายอยู่กลางฝูงชน รู้สึกเขินอาย สติแตก ขาดความมั่นใจ หรือกระทั่งขาดสมาธิจนไม่สามารถร่วมกิจกรรมกับกลุ่มคนได้ ว่ากันตามหลักจิตวิทยาอาการเหล่านั้นคือสัญญาณของโรค บ่งชี้ตามหลักการจำกัดความได้ว่าเป็นโรคหวาดระแวงสังคม (Social Phobia) โดยโรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการของผู้ป่วยแสดงออกมากน้อยตามลักษณะรายบุคคล อาทิ เมื่อเกิดความกลัวจะตึงเครียด เกร็ง ใจสั่น เหงื่อออกตามมือหรือเท้า หรืออาจพูดจาเสียงสั่นคล้ายมีก้อนจุกในลำคอ บางรายหนักเข้าอาการแสดงออกผ่านทางร่างกาย ทั้งปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดท้อง นอนไม่หลับ ซ้ำร้ายกว่านั้น หากอาการรุนแรงมีโอกาสเกิดเป็นภาวะซึมเศร้า กระทั่งผู้ป่วยต้องหลบตัวออกจากสังคม ไม่สุงสิงกับคนรอบข้าง คิดวิตกกังวลตลอดเวลา ที่สุดแล้วก็จะอยู่คนเดียวตามลำพัง หลบตัวอยู่ในห้อง ไม่ติดต่อกับใครเป็นเวลานาน มีเพียงคนสนิทหรือคนในครอบครัวเท่านั้นที่สามารถพูดคุยกันได้ การสอบทานอาการเบื้องต้น เช่น ลังเลรู้สึกไม่สบายใจ หรือยอมเป็นคนตามเมื่อต้องเป็นจุดสนใจของคนอื่น มีความพยายามหลบเลี่ยงที่จะเริ่มพูดคุย แสดงออก ไปงานรื่นเริง รับโทรศัพท์ หรือสั่งอาหารตามร้านภัตตาคาร ไม่กล้าสบตาผู้อื่นหรือมักพูดจาเบาๆ พึมพำ คุยหรือเล่นกับเพื่อนน้อย ใส่ใจกับคำพูดคำวิจารณ์ต่างๆ อย่างมาก กลัว “ขายหน้า” หากเกิดในเด็ก มีโอกาสที่เด็กจะปฏิเสธที่จะไปโรงเรียน โดยจะอ้างสาเหตุต่างๆ นานาว่า ไม่สบาย ปวดหัว ปวดท้องบ่อยๆ ปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้เด็กกลายเป็นใบ้ เพราะไม่กล้าพูดหรือคุยกับใครเลย การรักษาอาการกลัวไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่มียารักษาโรคกลัวโดยตรง แต่มียาช่วยเหลือซึ่งก่อให้เกิดผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความกล้าขึ้น เช่น ยาคลายความวิตกกังวล ยารักษาภาวะซึมเศร้า ยาลดอาการใจสั่น หรือยานอนหลับ อย่างไรก็ดี ยากลุ่มดังกล่าวจะส่งผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือเกิดอาการง่วงในขณะที่มีฤทธิ์ยา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีวิธีการรักษาที่เรียกว่า Medication คือ การเผชิญหน้ากับความกลัว กล่าวคือ หากผู้ป่วยเปิดใจยอมรับและกล้าเผชิญความกลัว โดยเริ่มทีละเล็กทีละน้อย ความกลัวดังกล่าวก็จะเริ่มลดลงไป วิธีการดังกล่าวเรียกว่าพฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) สำหรับการรักษาให้ได้ผล จำเป็นต้องใช้ 2 แบบผสมผสานกัน ซึ่งปัจจุบันแพทย์มักเลือกใช้วิธีนี้ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรรักษาโดยมีนักจิตวิทยาดูแล พร้อมกับควรมีการปรับเสริมบุคลิกภาพควบคู่ ทั้งการฝึกสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจเพื่อลดความตื่นเต้น การฝึกโยคะ การออกกำลังกาย การฝึกควบคุมจิตใต้สำนึก การเข้ารับการรักษา ในประเทศไทยยังไม่มีสถานที่เฉพาะ แต่ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสามารถเข้าปรึกษาได้ที่แผนกจิตเวชของโรงพยาบาล ทั่วไปได้ ที่ผ่านมามีวิธีการรักษาที่น่าสนใจ โดย พ.ท.นพ.พงศธร เนตราคม จิตแพทย์ประจำกองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คุณหมอพงศธรได้ใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือทำพฤติกรรมบำบัด เริ่มจากให้ผู้ป่วยแชตรูมกับเพื่อนๆ กระทั่ง 12 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วยเริ่มกล้าสื่อสารกับคนไม่คุ้นเคยผ่านอีเมล เริ่มมีความกล้าขึ้น โดยผู้ป่วยเวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากถึงครั้งละประมาณ 2-3 ชั่วโมง เฉลี่ย 5 วันต่อสัปดาห์ จนเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16 เธอเริ่มกล้าออกงานสังคม สัปดาห์ที่ 20 เธอไปไหนคนเดียวได้ และไม่กลัวการสนทนากับคนแปลกหน้าอีกต่อไป...โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/สุขภาพ-ความงาม/241034/ระแวงสังคม–หวาดกลัวฝูงชน-รักษาได้ โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)