ชี้ปล่อยเด็กอยู่กับทีวีพัฒนาภาษาช้าแนะวิธีสังเกต-ผุดคู่มือครู

แสดงความคิดเห็น

พญ.พรรณ พิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่องว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า แต่ไม่ได้รับการใส่ใจหรือแก้ปัญหาตั้งแต่ช่วงขวบปีแรกๆ ซึ่งกรณีอ่านเขียนไม่คล่องนั้นเกิดจากการพัฒนาการล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีใครสื่อสารกับลูกตั้งแต่เด็ก เช่น พ่อแม่ต้องทำงานก็ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี ไม่ได้มีการพูดคุยกับลูก ทำให้เด็กมีปัญหาการพัฒนาการด้านภาษาพ่อแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆเช่นเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นต้น

"เด็กที่มีพัฒนาการด้าน ภาษาล่าช้า ทำให้บางครั้งจะไม่สามารถอ่านเขียนแบบเรียงบรรทัดได้ พ่อแม่ต้องสังเกตและช่วยเหลือ หากอยากทราบว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาหรือไม่ สังเกตได้ตั้งแต่เล็ก จากสมุดการบ้าน หากเละ เขียนผิดๆ ตกหล่น ให้รีบแก้ไข แต่ส่วนใหญ่เมื่อเด็กอ่านเขียนไม่คล่อง ครูมักจะคิดว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ก็จะบังคับให้อ่านหนังสือ บังคับให้เขียนจนกว่าจะได้เหมือนเพื่อนๆ ซึ่งการสอนแบบนี้จะไม่สามารถช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่เป็นปกติได้"รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

พญ.พรรณพิมลกล่าวว่า การฝึกพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสำหรับเด็กประถมหรือมัธยม ต้องฝึกให้อ่านแบบภาพแทน ถ้าให้ฝึกจากการสะกดตัวอักษรจะทำให้เด็ก งง ซึ่งปัจจุบันร.ร.หลายแห่งจะมีการเปิดสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว โดยจะเปิดห้องเรียนพิเศษเหมือนเรียนซ่อมเสริม แต่จะให้เด็กได้มาเรียนรู้ภาษาในลักษณะของสื่อการเรียนการสอนที่คล้ายกับการ เล่นเกม โดยในปี 2557 กรมสุขภาพจิต จะร่วมกับ ศธ. ให้เด็ก ป.1 มีกระบวนการประเมินเพื่อหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยจะทำคู่มือสำหรับครูโดยเฉพาะ การทดสอบจะทำให้ทราบปัญหาและหาทางกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กกลับมาเป็นปกติได้

ขอบคุณ...ข่าวสดรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 28/08/2556 เวลา 03:08:23

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.พรรณ พิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่องว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า แต่ไม่ได้รับการใส่ใจหรือแก้ปัญหาตั้งแต่ช่วงขวบปีแรกๆ ซึ่งกรณีอ่านเขียนไม่คล่องนั้นเกิดจากการพัฒนาการล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีใครสื่อสารกับลูกตั้งแต่เด็ก เช่น พ่อแม่ต้องทำงานก็ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี ไม่ได้มีการพูดคุยกับลูก ทำให้เด็กมีปัญหาการพัฒนาการด้านภาษาพ่อแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆเช่นเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นต้น "เด็กที่มีพัฒนาการด้าน ภาษาล่าช้า ทำให้บางครั้งจะไม่สามารถอ่านเขียนแบบเรียงบรรทัดได้ พ่อแม่ต้องสังเกตและช่วยเหลือ หากอยากทราบว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาหรือไม่ สังเกตได้ตั้งแต่เล็ก จากสมุดการบ้าน หากเละ เขียนผิดๆ ตกหล่น ให้รีบแก้ไข แต่ส่วนใหญ่เมื่อเด็กอ่านเขียนไม่คล่อง ครูมักจะคิดว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ก็จะบังคับให้อ่านหนังสือ บังคับให้เขียนจนกว่าจะได้เหมือนเพื่อนๆ ซึ่งการสอนแบบนี้จะไม่สามารถช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่เป็นปกติได้"รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว พญ.พรรณพิมลกล่าวว่า การฝึกพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสำหรับเด็กประถมหรือมัธยม ต้องฝึกให้อ่านแบบภาพแทน ถ้าให้ฝึกจากการสะกดตัวอักษรจะทำให้เด็ก งง ซึ่งปัจจุบันร.ร.หลายแห่งจะมีการเปิดสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว โดยจะเปิดห้องเรียนพิเศษเหมือนเรียนซ่อมเสริม แต่จะให้เด็กได้มาเรียนรู้ภาษาในลักษณะของสื่อการเรียนการสอนที่คล้ายกับการ เล่นเกม โดยในปี 2557 กรมสุขภาพจิต จะร่วมกับ ศธ. ให้เด็ก ป.1 มีกระบวนการประเมินเพื่อหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยจะทำคู่มือสำหรับครูโดยเฉพาะ การทดสอบจะทำให้ทราบปัญหาและหาทางกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กกลับมาเป็นปกติได้ ขอบคุณ...ข่าวสดรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...