แพทย์ชี้พฤติกรรมฮิตคนเจน-วายติดออนไลน์-ดูซีรีส์ เสี่ยงออฟฟิศ ซินโดรม
เดิมทีโรคออฟฟิศ ซินโดรม เป็นโรคที่ฮอตฮิตในหมู่หนุ่มสาวออฟฟิศวัยทำงาน แต่ในปัจจุบันนี้เด็กรุ่นใหม่ควรระวัง! อย่าชะล่าใจว่าอาการ “เจ็บ-ปวด-ป่วย” เป็นเรื่องไกลตัว เพราะพฤติกรรมติดออนไลน์-ดูซีรีส์ ก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นออฟฟิศ ซินโดรม ตั้งแต่อายุยังน้อย
ด้วยเหตุนี้ บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามชั้นนำจัดงาน “ฟีล กู๊ด ทูเกทเตอร์” ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” เผยพฤติกรรมความเสี่ยงโรค“ออฟฟิศ ซินโดรม” กับกลุ่มคนยุคใหม่พร้อมแนะวิธีไกลโรคหยุดปัญหาอาการปวด ณ เซ็นทรัล เวิลด์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดย นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย ที่ปรึกษาฝ่ายการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ รพ.บำรุง ราษฎร์ เผยว่า เมื่อก่อนออฟฟิศ ซินโดรมจัดเป็นโรคฮิตของหนุ่มสาวออฟฟิศวัยทำงานช่วงอายุ 20-30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลเสียทำลายสุขภาพในระยะยาว แต่ล่าสุดพบโรคนี้ได้กับกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกายและมีไลฟ์สไตล์ในการเรียนหรือทำงานแบบเดิม ซ้ำๆ ขยับตัวน้อย เช่น ติดออนไลน์ ชอบดูซีรีส์ต่อเนื่องหรือใช้คอม พิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เฉลี่ย 2-6 ชั่วโมง/วัน หรือกลุ่มคนที่ติดมือถือหรือโน้ต แพดที่ต้องนั่งก้มหน้าและเพ่งสายตาเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวสอบซึ่งอ่านหนังสือเรียนหนังสือในท่านั่งเดิมเป็นเวลานานอีกด้วย
“หลายคนอาจชะล่าใจว่าอาการปวดที่พบเบื้องต้น เช่น การปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่ การปวดหลัง หรือปวดศีรษะเป็นอาการที่ไม่ได้ร้ายแรงมาก แต่หารู้ไม่ว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเซ็กซ์เสื่อม โรคข้อและกล้ามเนื้ออักเสบ ปัญหากระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก เป็นต้น จนกลายเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรมในที่สุด ซึ่งอาการปวดที่พบในหมู่คนไข้บ่อยสุดคืออาการปวดต้นคอ ทั้งนี้ พบว่าพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ขยับตัวน้อยส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองจากความเครียดสูงขึ้น เมื่อร่วมกับการพักผ่อนน้อยและกินอาหารไม่ถูกต้อง นานไปจะยิ่งทำให้ร่างกายเครียดมากยิ่งขึ้นหากไม่ดูแลจะทำให้เป็นโรคเรื้อรังระยะยาวได้”
นพ.สมบูรณ์ แนะวิธีการป้องกันและบำบัดอาการออฟฟิศ ซินโดรมว่า สำหรับใครที่มีไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรม อยากให้เริ่มง่าย ๆ ที่ตัวเองเพียงสังเกตและใส่ใจกับอาการปวดตามบริเวณคอ หลัง ไหล่ ขา ว่าเริ่มเป็นอาการปวดเรื้อรังหรือไม่ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำเดิมๆ ซ้ำๆ ด้วยการออกกำลังกาย เช่น บริหารคอด้วยการก้มเงยและหมุนคอ ยืดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ท่าละ 5-10 ครั้ง 10-30 วินาที ประมาณวันละ 2 รอบ สำหรับคนติดคอมพิวเตอร์-ดูซีรีส์ออนไลน์ ทุก 2 ชั่วโมง ให้บริหารสายตาด้วยการกลอกตาขึ้น-ลง มองวิวไกลๆ เพื่อพักสายตา หรือผู้ที่ชอบพิมพ์คอมพิวเตอร์ แชตมือถือ หรือเล่นโน้ต แพด ให้ลองหาลูกบอลฟองน้ำมาบีบเบาๆ ประมาณ 15-20 ครั้ง ให้ได้ 3 เซตต่อวัน ดูแลอาหารการกินด้วยการกินน้ำมันปลาและโอเมก้า 3 เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อและอักเสบ กินธัญพืชพวกแฟล็กซีด พบมากในลูกวอลนัตเพื่อเสริมโอเมก้า 3 อีกทั้งยังมีแมกนีเซียมสูงช่วยลดอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คนเจน-วาย รุ่นใหม่ห่างไกลโรคออฟฟิศ ซินโดรม.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/228676 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงสาวแสดงอาการปวดต้นคอ เดิมทีโรคออฟฟิศ ซินโดรม เป็นโรคที่ฮอตฮิตในหมู่หนุ่มสาวออฟฟิศวัยทำงาน แต่ในปัจจุบันนี้เด็กรุ่นใหม่ควรระวัง! อย่าชะล่าใจว่าอาการ “เจ็บ-ปวด-ป่วย” เป็นเรื่องไกลตัว เพราะพฤติกรรมติดออนไลน์-ดูซีรีส์ ก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นออฟฟิศ ซินโดรม ตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยเหตุนี้ บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามชั้นนำจัดงาน “ฟีล กู๊ด ทูเกทเตอร์” ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” เผยพฤติกรรมความเสี่ยงโรค“ออฟฟิศ ซินโดรม” กับกลุ่มคนยุคใหม่พร้อมแนะวิธีไกลโรคหยุดปัญหาอาการปวด ณ เซ็นทรัล เวิลด์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดย นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย ที่ปรึกษาฝ่ายการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ รพ.บำรุง ราษฎร์ เผยว่า เมื่อก่อนออฟฟิศ ซินโดรมจัดเป็นโรคฮิตของหนุ่มสาวออฟฟิศวัยทำงานช่วงอายุ 20-30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลเสียทำลายสุขภาพในระยะยาว แต่ล่าสุดพบโรคนี้ได้กับกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกายและมีไลฟ์สไตล์ในการเรียนหรือทำงานแบบเดิม ซ้ำๆ ขยับตัวน้อย เช่น ติดออนไลน์ ชอบดูซีรีส์ต่อเนื่องหรือใช้คอม พิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เฉลี่ย 2-6 ชั่วโมง/วัน หรือกลุ่มคนที่ติดมือถือหรือโน้ต แพดที่ต้องนั่งก้มหน้าและเพ่งสายตาเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวสอบซึ่งอ่านหนังสือเรียนหนังสือในท่านั่งเดิมเป็นเวลานานอีกด้วย “หลายคนอาจชะล่าใจว่าอาการปวดที่พบเบื้องต้น เช่น การปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่ การปวดหลัง หรือปวดศีรษะเป็นอาการที่ไม่ได้ร้ายแรงมาก แต่หารู้ไม่ว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเซ็กซ์เสื่อม โรคข้อและกล้ามเนื้ออักเสบ ปัญหากระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก เป็นต้น จนกลายเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรมในที่สุด ซึ่งอาการปวดที่พบในหมู่คนไข้บ่อยสุดคืออาการปวดต้นคอ ทั้งนี้ พบว่าพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ขยับตัวน้อยส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองจากความเครียดสูงขึ้น เมื่อร่วมกับการพักผ่อนน้อยและกินอาหารไม่ถูกต้อง นานไปจะยิ่งทำให้ร่างกายเครียดมากยิ่งขึ้นหากไม่ดูแลจะทำให้เป็นโรคเรื้อรังระยะยาวได้” นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย ที่ปรึกษาฝ่ายการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ รพ.บำรุง ราษฎร์ นพ.สมบูรณ์ แนะวิธีการป้องกันและบำบัดอาการออฟฟิศ ซินโดรมว่า สำหรับใครที่มีไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศ ซินโดรม อยากให้เริ่มง่าย ๆ ที่ตัวเองเพียงสังเกตและใส่ใจกับอาการปวดตามบริเวณคอ หลัง ไหล่ ขา ว่าเริ่มเป็นอาการปวดเรื้อรังหรือไม่ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำเดิมๆ ซ้ำๆ ด้วยการออกกำลังกาย เช่น บริหารคอด้วยการก้มเงยและหมุนคอ ยืดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ท่าละ 5-10 ครั้ง 10-30 วินาที ประมาณวันละ 2 รอบ สำหรับคนติดคอมพิวเตอร์-ดูซีรีส์ออนไลน์ ทุก 2 ชั่วโมง ให้บริหารสายตาด้วยการกลอกตาขึ้น-ลง มองวิวไกลๆ เพื่อพักสายตา หรือผู้ที่ชอบพิมพ์คอมพิวเตอร์ แชตมือถือ หรือเล่นโน้ต แพด ให้ลองหาลูกบอลฟองน้ำมาบีบเบาๆ ประมาณ 15-20 ครั้ง ให้ได้ 3 เซตต่อวัน ดูแลอาหารการกินด้วยการกินน้ำมันปลาและโอเมก้า 3 เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อและอักเสบ กินธัญพืชพวกแฟล็กซีด พบมากในลูกวอลนัตเพื่อเสริมโอเมก้า 3 อีกทั้งยังมีแมกนีเซียมสูงช่วยลดอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คนเจน-วาย รุ่นใหม่ห่างไกลโรคออฟฟิศ ซินโดรม. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/society/228676 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)