จิตแพทย์ชี้เด็ก ม.1 อ่านไม่ออก-เขียนไม่คล่อง เหตุพัฒนาการล่าช้า

แสดงความคิดเห็น

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ว่า ปัญหานี้แท้จริงแล้วเกิดจากการที่เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า แต่ไม่ได้รับการใส่ใจหรือแก้ปัญหาตั้งแต่เด็ก อย่างกรณีอ่านเขียนไม่คล่องนั้นเกิดจากการพัฒนาการล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีใครสื่อสารกับลูกตั้งแต่เด็ก เช่น พ่อแม่ต้องทำงานก็ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี แม้แต่ตอนกลางคืนก็ไม่ได้มีการพูดคุยกับลูก ตรงนี้จะทำให้เด็กมีปัญหาการพัฒนาการด้านภาษา ดังนั้น พ่อแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆ

"หากอยากทราบว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาหรือไม่ ความจริงแล้วสามารถสังเกตได้ตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเข้าวัยเรียนแล้ว สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ประถมศึกษาจากสมุดการบ้าน หากสมุดการบ้านเละ เขียนผิดๆ ตกหล่น ให้รีบแก้ไข แต่ส่วนใหญ่เมื่อเด็กอ่านเขียนไม่คล่อง ที่ผ่านมาครูมักจะคิดว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ก็จะบังคับเขาให้อ่านหนังสือ บังคับให้เขียนจนกว่าจะได้เหมือนเพื่อนๆ ซึ่งการสอนแบบนี้จะไม่สามารถช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่เป็นปกติได้"

พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า การฝึกพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสำหรับเด็กประถมหรือมัธยมนั้น ต้องฝึกให้เขาอ่านแบบภาพแทน ถ้าให้ฝึกจากการสะกดตัวอักษร เขาจะงง ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งจะมีการเปิดสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว แล้ว แต่ยังไม่ทั้งหมด โดยจะเปิดห้องเรียนพิเศษเหมือนเรียนซ่อมเสริม แต่จะให้เด็กได้มาเรียนรู้ภาษาในลักษณะของสื่อการเรียนการสอนที่คล้ายกับการ เล่นเกม จะช่วยให้เด็กได้รับความสนุกด้วย

ทั้งนี้ในปี 2557 กรมสุขภาพจิตจะมีความร่วมมือกับ ศธ. เพื่อให้เด็ก ป.1 มีกระบวนการประเมินเพื่อหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยจะทำคู่มือสำหรับครูโดยเฉพาะ เพราะที่ผ่านมามักพบว่าเด็ก ป.1 มีปัญหาออทิสติกร้อยละ 8 เด็กแอลดีร้อยละ 10 ซึ่งเมื่อรู้ได้ไวว่าเด็กมีปัญหาจะได้กระตุ้นพัฒนาการให้ถูกด้าน เด็กก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377504240&grpid=&catid=09&subcatid=0902 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 27/08/2556 เวลา 04:15:32

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ว่า ปัญหานี้แท้จริงแล้วเกิดจากการที่เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า แต่ไม่ได้รับการใส่ใจหรือแก้ปัญหาตั้งแต่เด็ก อย่างกรณีอ่านเขียนไม่คล่องนั้นเกิดจากการพัฒนาการล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีใครสื่อสารกับลูกตั้งแต่เด็ก เช่น พ่อแม่ต้องทำงานก็ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี แม้แต่ตอนกลางคืนก็ไม่ได้มีการพูดคุยกับลูก ตรงนี้จะทำให้เด็กมีปัญหาการพัฒนาการด้านภาษา ดังนั้น พ่อแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆ "หากอยากทราบว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาหรือไม่ ความจริงแล้วสามารถสังเกตได้ตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเข้าวัยเรียนแล้ว สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ประถมศึกษาจากสมุดการบ้าน หากสมุดการบ้านเละ เขียนผิดๆ ตกหล่น ให้รีบแก้ไข แต่ส่วนใหญ่เมื่อเด็กอ่านเขียนไม่คล่อง ที่ผ่านมาครูมักจะคิดว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ก็จะบังคับเขาให้อ่านหนังสือ บังคับให้เขียนจนกว่าจะได้เหมือนเพื่อนๆ ซึ่งการสอนแบบนี้จะไม่สามารถช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่เป็นปกติได้" พญ.พรรณพิมลกล่าวอีกว่า การฝึกพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสำหรับเด็กประถมหรือมัธยมนั้น ต้องฝึกให้เขาอ่านแบบภาพแทน ถ้าให้ฝึกจากการสะกดตัวอักษร เขาจะงง ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งจะมีการเปิดสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว แล้ว แต่ยังไม่ทั้งหมด โดยจะเปิดห้องเรียนพิเศษเหมือนเรียนซ่อมเสริม แต่จะให้เด็กได้มาเรียนรู้ภาษาในลักษณะของสื่อการเรียนการสอนที่คล้ายกับการ เล่นเกม จะช่วยให้เด็กได้รับความสนุกด้วย ทั้งนี้ในปี 2557 กรมสุขภาพจิตจะมีความร่วมมือกับ ศธ. เพื่อให้เด็ก ป.1 มีกระบวนการประเมินเพื่อหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยจะทำคู่มือสำหรับครูโดยเฉพาะ เพราะที่ผ่านมามักพบว่าเด็ก ป.1 มีปัญหาออทิสติกร้อยละ 8 เด็กแอลดีร้อยละ 10 ซึ่งเมื่อรู้ได้ไวว่าเด็กมีปัญหาจะได้กระตุ้นพัฒนาการให้ถูกด้าน เด็กก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้ ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377504240&grpid=&catid=09&subcatid=0902 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...