คลินิก"Birth Defects" รักษา...เด็กพิการแต่กำเนิด
24,000–40,000 ราย! คือ ตัวเลขของเด็กไทยที่เกิดมาพร้อมกับความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ที่เรียกว่า Birth Defects จากจำนวนทารกแรกเกิดทั้งหมดประมาณ 800,000 รายต่อปี
พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิดนี้ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทารกมากถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก โดยความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในขวบปีแรกสูงถึงปีละ 6,400 ราย รองลงมา คือ ความผิดปกติทางโครโมโซม ประมาณปีละ 5,200-6,720 ราย ความพิการกล้ามเนื้อ แขนขา 1,600-4,000 รายต่อปี ปากแหว่ง เพดานโหว่ 1,600 รายต่อปี ความพิการทางสมองและไขสันหลังจากภาวะหลอดประสาทเปิด ประมาณ 800 รายต่อปี
“ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติและเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะการที่มีผู้พิการในครอบครัวย่อมส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่เป็นพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ทั้งก่อให้เกิดภาระในด้านสุขภาพต่อผู้ป่วย รวมถึงส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม จนถึงระดับประเทศ ที่ต้องแบกรับภาระค่า ใช้จ่ายในการดูแลรักษา ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตัวเลขของเด็กกลุ่มนี้มีจำนวนสะสมมากขึ้นทุกปี” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ทั้งนี้ ทั่วโลกมีรายงาน Birth De-fects หรือความพิการ ผิดปกติแต่กำเนิดประมาณ 8 ล้านรายต่อปี ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเกิดมาจากพันธุกรรม ที่เหลือมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ยาบางชนิด ขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และจากสาเหตุอื่นๆไม่รวมความพิการที่เกิดขึ้น ประปราย เช่น ภาวะมีน้ำในสมองบวมผิดปกติ หรือที่เรียกว่าเด็กหัวบาตร โรคดักแด้ ที่เกิดจากความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ฯลฯ
ด้าน พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมการแพทย์มีนโยบายในการดูแลรักษาเด็กพิการแต่กำเนิดตั้งแต่เริ่มต้น จนพัฒนาให้เติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคม อย่างปกติสุข ในหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กโดยเฉพาะ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีเทคโนโลยีชั้นสูงที่ตอบสนองในการรักษาเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดครบทุกส่วน ของอวัยวะแบบครบวงจร ได้ดำเนินโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดนำร่อง 6 โรคที่เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดมีโอกาสหายขาดจากความพิการหรือแม้จะไม่หายขาด แต่ก็มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผอ.สถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังบอกด้วยว่า ในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่สถาบันฯ ก่อตั้งมาครบ 59 ปี สถาบันฯ ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดแบบครบวงจร เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กที่เกิดมาผิดปกติได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวน การรักษาและฟื้นฟูโดยเร็ว มีพัฒนาการที่ดี เติบโตสมวัยและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นภาระให้แก่ครอบครัวและสังคม
“เราได้นำร่องให้การรักษาใน 6 โรคได้แก่ โรคหัวใจ ตา หู แขนขา สมอง และลำไส้ โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การรับรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดทั่วประเทศที่ผู้ปกครองพามารักษา หรือจากการรับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิโครงการ 30 บาทได้ และ 2.การให้คำปรึกษาและแนะแนว ทางการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนของเด็กผิดปกติแต่ กำเนิดแก่แพทย์ผู้รักษาทั่วประเทศ” พญ.ศิราภรณ์บอก พร้อมกับเสริมว่า ปัญหาสุขภาพเด็กเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ซึ่งขณะนี้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระ เกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ให้เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็กและพัฒนาทาง การแพทย์ ใช้ประโยชน์ในการให้การรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิด รวมทั้งโรคเด็กที่ยุ่งยากซับซ้อนต่างๆไม่ว่า จะเป็นโรคหัวใจ โรคตา โรคหู โรคสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ รวมถึงรองรับผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีปัญหาความพิการและปัญหาอื่นๆจากโรง พยาบาลต่างๆ ที่ส่งต่อมา
ประชาชนท่านใดต้องการจะมีส่วนร่วมบริจาค สมทบทุนก่อสร้างอาคารดังกล่าว สามารถร่วมบริจาคได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โทร. 0-2354-8333, 0-2354-8414 ต่อ 2615, 08-8022-9769, 08-8874-4673 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้คืนชีวิตใหม่ให้กับเด็กๆ ที่พิการแต่กำเนิดด้วย.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/life/smartlife/366741 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ 24,000–40,000 ราย! คือ ตัวเลขของเด็กไทยที่เกิดมาพร้อมกับความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ที่เรียกว่า Birth Defects จากจำนวนทารกแรกเกิดทั้งหมดประมาณ 800,000 รายต่อปี พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิดนี้ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทารกมากถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงมาก โดยความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในขวบปีแรกสูงถึงปีละ 6,400 ราย รองลงมา คือ ความผิดปกติทางโครโมโซม ประมาณปีละ 5,200-6,720 ราย ความพิการกล้ามเนื้อ แขนขา 1,600-4,000 รายต่อปี ปากแหว่ง เพดานโหว่ 1,600 รายต่อปี ความพิการทางสมองและไขสันหลังจากภาวะหลอดประสาทเปิด ประมาณ 800 รายต่อปี ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด “ความพิการแต่กำเนิดหรือความผิดปกติแต่กำเนิด ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติและเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะการที่มีผู้พิการในครอบครัวย่อมส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ที่เป็นพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ทั้งก่อให้เกิดภาระในด้านสุขภาพต่อผู้ป่วย รวมถึงส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม จนถึงระดับประเทศ ที่ต้องแบกรับภาระค่า ใช้จ่ายในการดูแลรักษา ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ตัวเลขของเด็กกลุ่มนี้มีจำนวนสะสมมากขึ้นทุกปี” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว ทั้งนี้ ทั่วโลกมีรายงาน Birth De-fects หรือความพิการ ผิดปกติแต่กำเนิดประมาณ 8 ล้านรายต่อปี ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเกิดมาจากพันธุกรรม ที่เหลือมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ยาบางชนิด ขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และจากสาเหตุอื่นๆไม่รวมความพิการที่เกิดขึ้น ประปราย เช่น ภาวะมีน้ำในสมองบวมผิดปกติ หรือที่เรียกว่าเด็กหัวบาตร โรคดักแด้ ที่เกิดจากความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ฯลฯ ทารกแรกเกิด ด้าน พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรมการแพทย์มีนโยบายในการดูแลรักษาเด็กพิการแต่กำเนิดตั้งแต่เริ่มต้น จนพัฒนาให้เติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคม อย่างปกติสุข ในหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กโดยเฉพาะ มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีเทคโนโลยีชั้นสูงที่ตอบสนองในการรักษาเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดครบทุกส่วน ของอวัยวะแบบครบวงจร ได้ดำเนินโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดนำร่อง 6 โรคที่เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้เด็กพิการแต่กำเนิดมีโอกาสหายขาดจากความพิการหรือแม้จะไม่หายขาด แต่ก็มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ทารกเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ผอ.สถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังบอกด้วยว่า ในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่สถาบันฯ ก่อตั้งมาครบ 59 ปี สถาบันฯ ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการดูแลรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดแบบครบวงจร เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กที่เกิดมาผิดปกติได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวน การรักษาและฟื้นฟูโดยเร็ว มีพัฒนาการที่ดี เติบโตสมวัยและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นภาระให้แก่ครอบครัวและสังคม “เราได้นำร่องให้การรักษาใน 6 โรคได้แก่ โรคหัวใจ ตา หู แขนขา สมอง และลำไส้ โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การรับรักษาเด็กผิดปกติแต่กำเนิดทั่วประเทศที่ผู้ปกครองพามารักษา หรือจากการรับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิโครงการ 30 บาทได้ และ 2.การให้คำปรึกษาและแนะแนว ทางการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนของเด็กผิดปกติแต่ กำเนิดแก่แพทย์ผู้รักษาทั่วประเทศ” พญ.ศิราภรณ์บอก พร้อมกับเสริมว่า ปัญหาสุขภาพเด็กเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ซึ่งขณะนี้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระ เกียรติ 80 พรรษามหาราชินี ให้เป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็กและพัฒนาทาง การแพทย์ ใช้ประโยชน์ในการให้การรักษาทารกและเด็กพิการแต่กำเนิด รวมทั้งโรคเด็กที่ยุ่งยากซับซ้อนต่างๆไม่ว่า จะเป็นโรคหัวใจ โรคตา โรคหู โรคสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ รวมถึงรองรับผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีปัญหาความพิการและปัญหาอื่นๆจากโรง พยาบาลต่างๆ ที่ส่งต่อมา ทารกป่วยสมองโต ประชาชนท่านใดต้องการจะมีส่วนร่วมบริจาค สมทบทุนก่อสร้างอาคารดังกล่าว สามารถร่วมบริจาคได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โทร. 0-2354-8333, 0-2354-8414 ต่อ 2615, 08-8022-9769, 08-8874-4673 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้คืนชีวิตใหม่ให้กับเด็กๆ ที่พิการแต่กำเนิดด้วย. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/life/smartlife/366741 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)