ระบบบริการสุขภาพ...ทารกแรกเกิด
การจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพทารกแรกเกิด (Service Plan) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการจัดการระบบการดูแลทารกแรกเกิด ระบบส่งต่อการพัฒนาสถานพยาบาลทุกระดับให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามบริบท เพื่อให้ทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลตามคุณภาพมาตรฐาน สามารถอยู่ในสถานพยาบาลที่ใกล้ ภูมิลำเนามากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราตายลดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนที่ได้รับบริการ
ประเทศไทยมีทารกคลอดมีชีพเฉลี่ยประมาณปีละ 800,000 ราย เป็นการให้บริการของโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการที่ 5 ทั้ง 16 แห่ง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) จำนวน กว่า 40,000 รายต่อปี จากสถิติในปี 2552 ปี 2553 และ ปี 2554 พบทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.28 ,9.05 และ 9.01 และพบภาวะขาดออกซิเจน 20.30 , 21.65 ,22.64 ต่อ การเกิดมีชีพ 1,000 คน ตามลำดับ ซึ่งถึงแม้จะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็ เป็นปัญหาสำคัญ เพราะทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย มีความเสี่ยงต่อการตายโดยปริกำเนิด และการตายในระยะขวบปีแรกของชีวิต และมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ภาวะทุโภชนาการ พัฒนาการล่าช้าในทุกด้าน ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะรายที่มีความพิการต้องเป็นภาระแก่ครอบครัวและประเทศในการดูแลต่อ เนื่องตลอดชีวิต
ทารกเหล่านี้มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด NICU ที่มีครุภัณฑ์การแพทย์ที่เหมาะสม มีบุคลากรทางการแพทย์คือ กุมารแพทย์, กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและ กุมารโรคหัวใจ กุมารศัลยกรรม พยาบาลวิชาชีพที่มีความชำนาญด้านการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต กระทรวงสาธารณสุข โดย เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 5 ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในทารกแรกเกิดในช่วงปี 2556-2560 โดยเพิ่มและพัฒนาศักยภาพแพทย์และพยาบาล และเพิ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อให้มีการบริการดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพในภูมิลำเนา จึงได้เพิ่มจำนวนเตียง NICU พร้อมครุภัณฑ์ เช่นเครื่องช่วยหายใจ เครื่องช่วยหายใจความถี่สูงตู้อบเด็ก และเครื่องติดตามสัญญาณชีพ ให้เพียงพอในการให้บริการ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 73 เตียง เป็น 115 เตียง กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เพียงพอ ในการให้บริการภายในจังหวัดนั้นๆ ไม่ต้องถูกส่งต่อออกนอกจังหวัด และยังพัฒนาการตรวจคัดกรอง ภาวะจอประสาทตาเสื่อม และความผิดปกติทางการได้ยิน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (TPN) ที่ต้องใช้เครื่อง Lamina Flow จังหวัดละ 1 แห่ง จากเดิม 6 แห่ง เพิ่มอีก 2 แห่ง จนครบทุกจังหวัดในเครือข่าย สำหรับทารกแรกเกิดที่มีโรคซับซ้อน โรคทางศัลยกรรม โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เดิมสามารถส่งต่อมาที่ รพ.ศูนย์ความเชี่ยวชาญ ระดับ 2 ได้แก่ โรงพยาบาลนครปฐมและเพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการทารกเหล่านี้ ปัจจุบันได้เพิ่มเครื่องตรวจสมองและหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound brain and cardioc probe)แก่ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ และในปี พ.ศ. 2558 จะสามารถให้บริการผ่าตัดโรคทางศัลยกรรมได้ และจะพัฒนาให้ รพ.สมุทรสาคร และ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี ให้บริการได้ในปี 2560 ต่อไป สำหรับ รพ.ราชบุรี ซึ่งเป็นรพ.ศูนย์ความเชี่ยวชาญฯ ระดับ 1 ขณะนี้ได้เพิ่มเครื่องCooling system เพื่อ การรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ด้วยระบบ Systemic hypothermia และจะพัฒนาความสามารถให้บริการ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องผ่าตัด หรือโรคซับซ้อนอื่นๆ เทียบเท่ากับโรงเรียนแพทย์ ส่วนการรักษาโรคทางจอประสารทตาด้วย Laser สามารถรับบริการที่ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพทารกแรกเกิดจะ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตความพิการในทารก และสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจาการส่งต่อและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ลดความเครียดของบิดามารดาในการดูแลและเยี่ยมบุตรและได้รับบริการในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ด้วยบริการที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ
ขอบคุณ...ข่าวสดรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพทารกแรกเกิด (Service Plan) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการจัดการระบบการดูแลทารกแรกเกิด ระบบส่งต่อการพัฒนาสถานพยาบาลทุกระดับให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามบริบท เพื่อให้ทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วยได้รับการดูแลตามคุณภาพมาตรฐาน สามารถอยู่ในสถานพยาบาลที่ใกล้ ภูมิลำเนามากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราตายลดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนที่ได้รับบริการ ประเทศไทยมีทารกคลอดมีชีพเฉลี่ยประมาณปีละ 800,000 ราย เป็นการให้บริการของโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการที่ 5 ทั้ง 16 แห่ง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) จำนวน กว่า 40,000 รายต่อปี จากสถิติในปี 2552 ปี 2553 และ ปี 2554 พบทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.28 ,9.05 และ 9.01 และพบภาวะขาดออกซิเจน 20.30 , 21.65 ,22.64 ต่อ การเกิดมีชีพ 1,000 คน ตามลำดับ ซึ่งถึงแม้จะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็ เป็นปัญหาสำคัญ เพราะทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย มีความเสี่ยงต่อการตายโดยปริกำเนิด และการตายในระยะขวบปีแรกของชีวิต และมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ภาวะทุโภชนาการ พัฒนาการล่าช้าในทุกด้าน ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะรายที่มีความพิการต้องเป็นภาระแก่ครอบครัวและประเทศในการดูแลต่อ เนื่องตลอดชีวิต ทารกเหล่านี้มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด NICU ที่มีครุภัณฑ์การแพทย์ที่เหมาะสม มีบุคลากรทางการแพทย์คือ กุมารแพทย์, กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและ กุมารโรคหัวใจ กุมารศัลยกรรม พยาบาลวิชาชีพที่มีความชำนาญด้านการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต กระทรวงสาธารณสุข โดย เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 5 ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในทารกแรกเกิดในช่วงปี 2556-2560 โดยเพิ่มและพัฒนาศักยภาพแพทย์และพยาบาล และเพิ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อให้มีการบริการดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพในภูมิลำเนา จึงได้เพิ่มจำนวนเตียง NICU พร้อมครุภัณฑ์ เช่นเครื่องช่วยหายใจ เครื่องช่วยหายใจความถี่สูงตู้อบเด็ก และเครื่องติดตามสัญญาณชีพ ให้เพียงพอในการให้บริการ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 73 เตียง เป็น 115 เตียง กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อให้เพียงพอ ในการให้บริการภายในจังหวัดนั้นๆ ไม่ต้องถูกส่งต่อออกนอกจังหวัด และยังพัฒนาการตรวจคัดกรอง ภาวะจอประสาทตาเสื่อม และความผิดปกติทางการได้ยิน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (TPN) ที่ต้องใช้เครื่อง Lamina Flow จังหวัดละ 1 แห่ง จากเดิม 6 แห่ง เพิ่มอีก 2 แห่ง จนครบทุกจังหวัดในเครือข่าย สำหรับทารกแรกเกิดที่มีโรคซับซ้อน โรคทางศัลยกรรม โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เดิมสามารถส่งต่อมาที่ รพ.ศูนย์ความเชี่ยวชาญ ระดับ 2 ได้แก่ โรงพยาบาลนครปฐมและเพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการทารกเหล่านี้ ปัจจุบันได้เพิ่มเครื่องตรวจสมองและหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound brain and cardioc probe)แก่ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ และในปี พ.ศ. 2558 จะสามารถให้บริการผ่าตัดโรคทางศัลยกรรมได้ และจะพัฒนาให้ รพ.สมุทรสาคร และ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี ให้บริการได้ในปี 2560 ต่อไป สำหรับ รพ.ราชบุรี ซึ่งเป็นรพ.ศูนย์ความเชี่ยวชาญฯ ระดับ 1 ขณะนี้ได้เพิ่มเครื่องCooling system เพื่อ การรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ด้วยระบบ Systemic hypothermia และจะพัฒนาความสามารถให้บริการ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องผ่าตัด หรือโรคซับซ้อนอื่นๆ เทียบเท่ากับโรงเรียนแพทย์ ส่วนการรักษาโรคทางจอประสารทตาด้วย Laser สามารถรับบริการที่ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี การพัฒนาระบบบริการสุขภาพทารกแรกเกิดจะ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตความพิการในทารก และสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนจาการส่งต่อและค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ลดความเครียดของบิดามารดาในการดูแลและเยี่ยมบุตรและได้รับบริการในโรงพยาบาลใกล้บ้าน ด้วยบริการที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ขอบคุณ...ข่าวสดรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)