เจาะลึก 10 โปรแกรมสุขภาพ ตรวจถูกวิธีลดเสี่ยงโรค

แสดงความคิดเห็น

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ โปรแกรมตรวจสุขภาพที่สารพัดโรงพยาบาลจัดไว้ให้ จะมีกี่คนที่ทราบว่าจำเป็นสำหรับตัวเอง!! การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีมากหากการตรวจเหมาะสม เพราะนอกจากจะคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปแล้ว ยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยพบว่า ปี 2554 ประชาชนมีการใช้จ่ายเงินเพื่อตรวจสุขภาพสูงถึง 2,200 ล้านบาท

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ทำงานวิจัยเรื่อง "การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย" ซึ่งกำลังจะมีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ และนำเสนอต่อผู้วางนโยบายระดับประเทศต่อไป นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) อธิบายว่า งานวิจัยดังกล่าวได้ผ่านการระดมความคิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ระดับราชวิทยาลัยแพทย์หลายต่อหลายครั้งจนได้ข้อสรุป

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การคัดกรองสุขภาพเพื่อหาโรคหรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในประชากรที่ยังมี สุขภาพดีเพื่อหวังผลในการป้องกันโรค ลดความเสี่ยง หรือการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค โดยจะไม่รวมถึงการตรวจเพื่อยืนยันโรค การดูแลภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพราะการตรวจคัดกรองโรค สามารถเกิดผลบวกลวงลบลวงได้ การตรวจคัดกรองสุขภาพยังควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่ตรวจแบบไร้เป้าหมาย เพราะอาจก่ออันตราย เช่น การใช้เครื่องซีทีสแกนซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น

สำหรับโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับเพศ วัย และวิธีการตรวจ ซึ่งจะทำให้ได้รับการวินิจฉัย รักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์ออกมาเป็นโปรแกรม โดยจะต้องไม่นับรวมกรณีที่เกิดความผิดปกติกับร่างกายเป็นพิเศษ และต้องตรวจเพื่อวิเคราะห์ หรือเป็น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยจะมีราคาค่าตรวจอยู่ที่ 380-400 บาท

ได้แก่ 1.ตรวจเอชไอวี ตามความสมัครใจ ตั้งแต่อายุ 13-50 ปี 2.ตรวจ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ใช้วิธีตรวจไวรัสตับอักเสบบีและให้วัคซีนในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ตั้งแต่อายุ 31-40 ปี ซึ่งตรวจเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ 3.ตรวจโรคโลหิตจาง เพื่อตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดง ควรทำในอายุ 9-12 เดือน 4.ภาวะทุพโภชนาการ วัดดัชนีมวลกายเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป และซักประวัติเพิ่มในผู้สูงอายุที่เกิดภาวะทุพโภชนาการ 5.โรคเบาหวาน เจาะระดับน้ำตาลในเลือดเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป และตรวจทุก 5 ปี 6.โรคหัวใจขาดเลือด เป็นการประเมินความเสี่ยงโดยรวม เช่น วัดความดัน รอบเอว น้ำตาลในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนการวัดความดันควรเริ่มตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป 7.โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับ ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ต้องคลำชีพจรทุกครั้งที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ หากผิดปกติให้ส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อไป 8.โรคมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์ หรือ วีไอเอ เมื่ออายุ 30-60 ปี ทุก 5 ปี หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ 9.ปัญหาการดื่มสุรา เป็นการใช้แบบทดสอบและให้คำแนะนำ ควรทำอายุ 15-60 ปี ทุกปี และ 10.การป้องกันอุบัติเหตุจราจร อายุ 65 ปีขึ้นไป ให้วัดสายตาก่อนต่อใบขับขี่ สิ่งสำคัญอีกประการ คือ ต้องทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงอะไร มีความผิดปกติเรื่องไหน ก่อนการตรวจสุขภาพแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้รับบริการที่เหมาะสม ไม่ต้องจ่ายเงินไปแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ!

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM056Y3hOell5TkE9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 29 ส.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 29 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 30/08/2556 เวลา 03:03:59 ดูภาพสไลด์โชว์ เจาะลึก 10 โปรแกรมสุขภาพ ตรวจถูกวิธีลดเสี่ยงโรค

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ โปรแกรมตรวจสุขภาพที่สารพัดโรงพยาบาลจัดไว้ให้ จะมีกี่คนที่ทราบว่าจำเป็นสำหรับตัวเอง!! การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีมากหากการตรวจเหมาะสม เพราะนอกจากจะคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปแล้ว ยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยพบว่า ปี 2554 ประชาชนมีการใช้จ่ายเงินเพื่อตรวจสุขภาพสูงถึง 2,200 ล้านบาท โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ทำงานวิจัยเรื่อง "การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย" ซึ่งกำลังจะมีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ และนำเสนอต่อผู้วางนโยบายระดับประเทศต่อไป นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) อธิบายว่า งานวิจัยดังกล่าวได้ผ่านการระดมความคิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ระดับราชวิทยาลัยแพทย์หลายต่อหลายครั้งจนได้ข้อสรุป การตรวจสุขภาพ หมายถึง การคัดกรองสุขภาพเพื่อหาโรคหรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในประชากรที่ยังมี สุขภาพดีเพื่อหวังผลในการป้องกันโรค ลดความเสี่ยง หรือการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรค โดยจะไม่รวมถึงการตรวจเพื่อยืนยันโรค การดูแลภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพราะการตรวจคัดกรองโรค สามารถเกิดผลบวกลวงลบลวงได้ การตรวจคัดกรองสุขภาพยังควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่ตรวจแบบไร้เป้าหมาย เพราะอาจก่ออันตราย เช่น การใช้เครื่องซีทีสแกนซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น สำหรับโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับเพศ วัย และวิธีการตรวจ ซึ่งจะทำให้ได้รับการวินิจฉัย รักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์ออกมาเป็นโปรแกรม โดยจะต้องไม่นับรวมกรณีที่เกิดความผิดปกติกับร่างกายเป็นพิเศษ และต้องตรวจเพื่อวิเคราะห์ หรือเป็น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยจะมีราคาค่าตรวจอยู่ที่ 380-400 บาท ได้แก่ 1.ตรวจเอชไอวี ตามความสมัครใจ ตั้งแต่อายุ 13-50 ปี 2.ตรวจ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ใช้วิธีตรวจไวรัสตับอักเสบบีและให้วัคซีนในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ตั้งแต่อายุ 31-40 ปี ซึ่งตรวจเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ 3.ตรวจโรคโลหิตจาง เพื่อตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดง ควรทำในอายุ 9-12 เดือน 4.ภาวะทุพโภชนาการ วัดดัชนีมวลกายเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป และซักประวัติเพิ่มในผู้สูงอายุที่เกิดภาวะทุพโภชนาการ 5.โรคเบาหวาน เจาะระดับน้ำตาลในเลือดเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป และตรวจทุก 5 ปี 6.โรคหัวใจขาดเลือด เป็นการประเมินความเสี่ยงโดยรวม เช่น วัดความดัน รอบเอว น้ำตาลในเลือด ประวัติการสูบบุหรี่ ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนการวัดความดันควรเริ่มตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป 7.โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับ ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ต้องคลำชีพจรทุกครั้งที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ หากผิดปกติให้ส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อไป 8.โรคมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์ หรือ วีไอเอ เมื่ออายุ 30-60 ปี ทุก 5 ปี หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ 9.ปัญหาการดื่มสุรา เป็นการใช้แบบทดสอบและให้คำแนะนำ ควรทำอายุ 15-60 ปี ทุกปี และ 10.การป้องกันอุบัติเหตุจราจร อายุ 65 ปีขึ้นไป ให้วัดสายตาก่อนต่อใบขับขี่ สิ่งสำคัญอีกประการ คือ ต้องทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงอะไร มีความผิดปกติเรื่องไหน ก่อนการตรวจสุขภาพแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้รับบริการที่เหมาะสม ไม่ต้องจ่ายเงินไปแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ! ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM056Y3hOell5TkE9PQ==§ionid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิพัฒนาคนพิการไทย 29 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...