รอบรู้ปัจจัยเสี่ยง “โรคพิการ” สร้าง “ศูนย์บูรณาการฯ” ช่วยฟื้นฟู
เนื่องในโอกาสวันมหิดล พ.ศ.2556 คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน” และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับผู้พิการอย่างอเนกอนันต์ ทรงดำริโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยเน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่บกพร่องทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยที่ ได้รับบาดเจ็บทางสมองด้วยการใช้ไอทีเพื่อการเรียนรู้
รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในปีนี้ ทางคณะแพทยศาสตร์ ได้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อจัดทำโครงการสร้าง “ศูนย์บูรณาการฟื้นสภาพคนพิการ” ขึ้นที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อให้ศูนย์แห่งนี้เป็นต้นแบบการบูรณาการงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ที่ให้บริการอย่างครอบคลุม เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว อีกทั้งเป็นแหล่งทำวิจัยและร่วมพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อคนพิการ ให้การฝึกอบรมแพทย์และบุคลากรด้านเวชกรรมฟื้นฟูให้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว เช่น อัมพาตไขสันหลังและอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง และให้บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตแก่คนพิการ ฝึกทักษะให้ผู้ดูแลและผู้ช่วยคนพิการ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและประชาชนเกี่ยวการใช้ชีวิตร่วมกับคนพิการ และการรู้จักป้องกันความพิการ ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า
รศ.พญ.อภิชนา โฆวินทะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นสภาพผู้พิการ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติล่าสุด ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 64 ล้านคน ประมาณ 1.39 ล้านคน ขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการและยังมีชีวิตอยู่ นั่นหมายความว่า ร้อยละ 2.1 ของประชากรมีความพิการ ส่วนจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนคนพิการจำนวน 32,866 คน ในจำนวนนี้มีคนที่มีความพิการทางกายและการเคลื่อนไหวจำนวน 14,806 คน คิดเป็นร้อยละ 45 ของคนพิการทุกประเภท โดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก (World Health Organization Expert Committee) ได้จำแนกสาเหตุของความพิการทางการแพทย์ไว้ ดังนี้ 1. ความพิการแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ หรือมีการถ่ายถอดความผิดปกติทางสายเลือด เด็กในครรภ์อาจดิ้นไม่แรง หรือไม่ดิ้น เนื่องจากมีความผิดปกติของร่างกาย เช่น โรคข้อติดยึด (Arthrogryposis) อัมพาตของขาเนื่องจากความผิดปกติที่เยื่อหุ้มไขสันหลังและกระดูกสันหลัง (Myelodysplasia) โรคกล้ามเนื้อพิการ (Muscular Dystrophy) หรืออาจมีสาเหตุที่ไม่ใช่จากกรรมพันธุ์ เช่น สาเหตุระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้างของร่างกายและอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วง 3 เดือนแรก ถ้ามีความผิดปกติของการตั้งครรภ์ระยะนี้อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความ พิการได้ 2. โรคติดต่อ เช่น โรคโปลิโอ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค เยื่อบุสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส ปัญญาอ่อนเนื่องจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก 3. โรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคข้ออักเสบ ปวดหลัง กระดูกสันหลังโก่งหรือคด หูหนวก หูตึง ตาบอด เบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคลมชัก 4. โรคจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น 5. โรคพิษสุราเรื้อรัง และการติดสารเสพติดต่างๆ 6. ภยันตรายและการบาดเจ็บ เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุต่างๆ เช่น จากอาวุธที่เป็นอันตราย ยาอันตรายบางชนิด หรืออุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง ไขสันหลัง และแขนขา 7. ภาวะทุพโภชนาการ ขาดสารอาหารที่ทำให้ตาบอดหรือพัฒนาการทางสมองช้า และ 8. สาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับพิษไอปรอทเรื้อรัง ฯลฯ
เนื่องในโอกาสวันมหิดลที่กำลังจะเวียนมาถึงในปีนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก จัดรายการถ่ายทอดสดงาน ‘สวนดอกร้อยดวงใจ...ใส่ใจผู้พิการ’ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนท์ ทีวี ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 22.30-24.00 น. ซึ่งในรายการนี้จะนำเสนอละครสั้น ‘ใจบันดาลแรง’ ซึ่งเป็นละครกึ่งสารคดีที่นำเอาเรื่องราวจากชีวิตจริงของผู้พิการที่ ผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วสามารถนำพลังและความสามารถของตนกลับมาเกื้อ หนุนสังคมได้อีกครั้ง จึงใคร่ขอเชิญชวนคนไทยทั่วประเทศ รวมพลังร่วมสร้างศูนย์บูรณาการฟื้นสภาพคนพิการ (Center of Integrative Rehabilitation for Disabled, CIRD) โดยร่วมบริจาคเงินได้ที่มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก โทร.053-920-400 หรือ 053-947-400 โทรสาร 053-947-888 หรือโอนเงินเข้าบัญชี ‘มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกร้อยดวงใจ’ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุเทพเชียงใหม่ เลขที่บัญชี 471-2-33333-8 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ เลขที่บัญชี 566-2-36234-5 ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนสุเทพเชียงใหม่ เลขที่บัญชี เลขที่บัญชี 321-0-36234-5 ธนาคารกรุงเทพ สาขาคณะเทคนิคการแพทย์ มช. เลขที่บัญชี 968-0-02499-0 ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่บัญชี 0-2002376040-6
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/229762 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แพทย์และพยาบาล ช่วยฟื้นฟู คนไข้พิการ เนื่องในโอกาสวันมหิดล พ.ศ.2556 คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน” และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับผู้พิการอย่างอเนกอนันต์ ทรงดำริโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยเน้นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่บกพร่องทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยที่ ได้รับบาดเจ็บทางสมองด้วยการใช้ไอทีเพื่อการเรียนรู้ รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในปีนี้ ทางคณะแพทยศาสตร์ ได้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อจัดทำโครงการสร้าง “ศูนย์บูรณาการฟื้นสภาพคนพิการ” ขึ้นที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อให้ศูนย์แห่งนี้เป็นต้นแบบการบูรณาการงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ที่ให้บริการอย่างครอบคลุม เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว อีกทั้งเป็นแหล่งทำวิจัยและร่วมพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อคนพิการ ให้การฝึกอบรมแพทย์และบุคลากรด้านเวชกรรมฟื้นฟูให้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว เช่น อัมพาตไขสันหลังและอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง และให้บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตแก่คนพิการ ฝึกทักษะให้ผู้ดูแลและผู้ช่วยคนพิการ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและประชาชนเกี่ยวการใช้ชีวิตร่วมกับคนพิการ และการรู้จักป้องกันความพิการ ซึ่งคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า คนพิการกำลังกายภาพบำบัดฟื้นฟู รศ.พญ.อภิชนา โฆวินทะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นสภาพผู้พิการ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากข้อมูลสถิติล่าสุด ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 64 ล้านคน ประมาณ 1.39 ล้านคน ขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการและยังมีชีวิตอยู่ นั่นหมายความว่า ร้อยละ 2.1 ของประชากรมีความพิการ ส่วนจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน มีผู้ที่ขึ้นทะเบียนคนพิการจำนวน 32,866 คน ในจำนวนนี้มีคนที่มีความพิการทางกายและการเคลื่อนไหวจำนวน 14,806 คน คิดเป็นร้อยละ 45 ของคนพิการทุกประเภท โดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก (World Health Organization Expert Committee) ได้จำแนกสาเหตุของความพิการทางการแพทย์ไว้ ดังนี้ 1. ความพิการแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ หรือมีการถ่ายถอดความผิดปกติทางสายเลือด เด็กในครรภ์อาจดิ้นไม่แรง หรือไม่ดิ้น เนื่องจากมีความผิดปกติของร่างกาย เช่น โรคข้อติดยึด (Arthrogryposis) อัมพาตของขาเนื่องจากความผิดปกติที่เยื่อหุ้มไขสันหลังและกระดูกสันหลัง (Myelodysplasia) โรคกล้ามเนื้อพิการ (Muscular Dystrophy) หรืออาจมีสาเหตุที่ไม่ใช่จากกรรมพันธุ์ เช่น สาเหตุระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้างของร่างกายและอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วง 3 เดือนแรก ถ้ามีความผิดปกติของการตั้งครรภ์ระยะนี้อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความ พิการได้ 2. โรคติดต่อ เช่น โรคโปลิโอ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค เยื่อบุสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส ปัญญาอ่อนเนื่องจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก 3. โรคที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคข้ออักเสบ ปวดหลัง กระดูกสันหลังโก่งหรือคด หูหนวก หูตึง ตาบอด เบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคลมชัก 4. โรคจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น 5. โรคพิษสุราเรื้อรัง และการติดสารเสพติดต่างๆ 6. ภยันตรายและการบาดเจ็บ เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุต่างๆ เช่น จากอาวุธที่เป็นอันตราย ยาอันตรายบางชนิด หรืออุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง ไขสันหลัง และแขนขา 7. ภาวะทุพโภชนาการ ขาดสารอาหารที่ทำให้ตาบอดหรือพัฒนาการทางสมองช้า และ 8. สาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับพิษไอปรอทเรื้อรัง ฯลฯ แพทย์กำลังช่วยฟื้นฟูกายภาพคนป่วยให้หัดเดิน เนื่องในโอกาสวันมหิดลที่กำลังจะเวียนมาถึงในปีนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก จัดรายการถ่ายทอดสดงาน ‘สวนดอกร้อยดวงใจ...ใส่ใจผู้พิการ’ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนท์ ทีวี ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 22.30-24.00 น. ซึ่งในรายการนี้จะนำเสนอละครสั้น ‘ใจบันดาลแรง’ ซึ่งเป็นละครกึ่งสารคดีที่นำเอาเรื่องราวจากชีวิตจริงของผู้พิการที่ ผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วสามารถนำพลังและความสามารถของตนกลับมาเกื้อ หนุนสังคมได้อีกครั้ง จึงใคร่ขอเชิญชวนคนไทยทั่วประเทศ รวมพลังร่วมสร้างศูนย์บูรณาการฟื้นสภาพคนพิการ (Center of Integrative Rehabilitation for Disabled, CIRD) โดยร่วมบริจาคเงินได้ที่มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก โทร.053-920-400 หรือ 053-947-400 โทรสาร 053-947-888 หรือโอนเงินเข้าบัญชี ‘มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกร้อยดวงใจ’ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุเทพเชียงใหม่ เลขที่บัญชี 471-2-33333-8 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ เลขที่บัญชี 566-2-36234-5 ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนสุเทพเชียงใหม่ เลขที่บัญชี เลขที่บัญชี 321-0-36234-5 ธนาคารกรุงเทพ สาขาคณะเทคนิคการแพทย์ มช. เลขที่บัญชี 968-0-02499-0 ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่บัญชี 0-2002376040-6 ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/229762 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)