เคล็ดลับสุขภาพดี - “6 ท่าบริหารร่างกาย” สู้อาการปวด
คนทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศ โดยเป็นวัยที่ต้องแบกรับภาระในการดูแลและรับผิดชอบครอบครัว ดังนั้น การดูแลสุขภาพของคนวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบันภัยร้ายที่กำลังคุกคามคนเมืองวัยทำงานมากที่สุดคงหนีไม่พ้น อาการ “ออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่คนส่วนใหญ่ยังมองข้ามและขาดข้อมูลที่ดีในการรับมือกับภัยร้ายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมยาคุณภาพของโลกและของไทย จึงได้จัดเวิร์คช็อปสุขภาพดีในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” (Know Your Pain) เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการปวด รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษาก่อนลุกลาม
รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และที่ปรึกษาคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช และอดีตนายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย ซึ่งให้เกียรติเป็นวิทยากรรับเชิญภายในงาน กล่าวว่า “อาการออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัด เดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกินวันละ 6 ชั่วโมง โดยไม่ลุกไปผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบท”
ภายในงานเวิร์คช้อป “รอบรู้เรื่องปวด” ครั้งนี้ ยังได้เชิญ คุณมะเดี่ยว – ชิษณุพงศ์ ยะอ้อน นักวิทยาศาสตร์กายภาพ มาสาธิตท่าบริหารจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี โดยนำเสนอท่าบริหารสำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศสามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ ง่าย และยังทำบ่อยแค่ไหนก็ได้ตามความสะดวก ท่าบริหารที่นำเสนอประกอบด้วยท่าบริหารอย่างง่าย 6 ท่าที่สามารถทำต่อเนื่องกันไปเป็นการบริหารหนึ่งชุด หรือจะเลือกทำท่าใดท่าหนึ่งเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉพาะส่วนก็ได้ ท่าบริหารเหล่านี้มีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา ดังนี้ ท่าที่ 1: บริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา แล้วทำเช่นเดียวกันนี้กับอีกข้างหนึ่ง ท่าที่ 2: บริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10 ท่าที่ 3: บริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง ท่าที่ 4: บริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า ท่าที่ 5: บริหารขาด้านหลัง น่อง และหลังส่วนล่าง ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 4 โดยยังอยู่ในท่าก้มตัว สอดมือทั้งสองไว้ด้านหลัง หัวเข่า แล้วค่อยๆ งอเข่าทั้งสองข้าง ค้างไว้แล้วนับ 1-10 และ ท่าที่ 6: บริหารหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง
รศ. นพ. ประดิษฐ์ กล่าวเสริมว่า คนทำงานส่วนใหญ่มักจะละเลยสัญญาณเตือนของอาการกล้ามเนื้อแบบออฟฟิศซินโดรม ท้ายที่สุดแล้วอาการอาจลุกลามร้ายแรงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานของผู้ป่วย และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีในอนาคต
สรรหามาบอก
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/229762 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศ โดยเป็นวัยที่ต้องแบกรับภาระในการดูแลและรับผิดชอบครอบครัว ดังนั้น การดูแลสุขภาพของคนวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันภัยร้ายที่กำลังคุกคามคนเมืองวัยทำงานมากที่สุดคงหนีไม่พ้น อาการ “ออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่คนส่วนใหญ่ยังมองข้ามและขาดข้อมูลที่ดีในการรับมือกับภัยร้ายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมยาคุณภาพของโลกและของไทย จึงได้จัดเวิร์คช็อปสุขภาพดีในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” (Know Your Pain) เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการปวด รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษาก่อนลุกลาม รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และที่ปรึกษาคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช และอดีตนายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย ซึ่งให้เกียรติเป็นวิทยากรรับเชิญภายในงาน กล่าวว่า “อาการออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัด เดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกินวันละ 6 ชั่วโมง โดยไม่ลุกไปผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบท” ภายในงานเวิร์คช้อป “รอบรู้เรื่องปวด” ครั้งนี้ ยังได้เชิญ คุณมะเดี่ยว – ชิษณุพงศ์ ยะอ้อน นักวิทยาศาสตร์กายภาพ มาสาธิตท่าบริหารจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี โดยนำเสนอท่าบริหารสำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศสามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ ง่าย และยังทำบ่อยแค่ไหนก็ได้ตามความสะดวก ท่าบริหารที่นำเสนอประกอบด้วยท่าบริหารอย่างง่าย 6 ท่าที่สามารถทำต่อเนื่องกันไปเป็นการบริหารหนึ่งชุด หรือจะเลือกทำท่าใดท่าหนึ่งเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉพาะส่วนก็ได้ ท่าบริหารเหล่านี้มีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา ดังนี้ ท่าที่ 1: บริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา แล้วทำเช่นเดียวกันนี้กับอีกข้างหนึ่ง ท่าที่ 2: บริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10 ท่าที่ 3: บริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง ท่าที่ 4: บริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า ท่าที่ 5: บริหารขาด้านหลัง น่อง และหลังส่วนล่าง ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 4 โดยยังอยู่ในท่าก้มตัว สอดมือทั้งสองไว้ด้านหลัง หัวเข่า แล้วค่อยๆ งอเข่าทั้งสองข้าง ค้างไว้แล้วนับ 1-10 และ ท่าที่ 6: บริหารหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง รศ. นพ. ประดิษฐ์ กล่าวเสริมว่า คนทำงานส่วนใหญ่มักจะละเลยสัญญาณเตือนของอาการกล้ามเนื้อแบบออฟฟิศซินโดรม ท้ายที่สุดแล้วอาการอาจลุกลามร้ายแรงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานของผู้ป่วย และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีในอนาคต สรรหามาบอก ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/229762 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)