เอ็มเอส...ภัยเงียบใหม่ของคนวัยทำงาน

แสดงความคิดเห็น

ภาพเอ็กซเรย์

หากคุณอยู่ในวัยทำงานหรือวัยหนุ่มสาว แล้วรู้สึกมีอาการอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรง มีอาการชาตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย มีปัญหาในการเดินหรือการทรงตัว ตามัวมองไม่เห็น ระวัง... คุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็น โรคเอ็มเอส ถึงแม้ว่าโรคนี้จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่เมื่อเป็นแล้วอาจจะมีอาการร้ายแรงจนถึงขั้นพิการได้

โรคเอ็มเอส (MS) หรือชื่อเต็มในภาษาอังกฤษคือโรคมัลติเพิล สเคลอโรซิส (multiple sclerosis) เป็น โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาท (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางชนิด การที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ หรือมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า โรคเอ็มเอสเกิดขึ้นได้บ่อยในเขตละติจูดสูง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป ปัจจุบันพบว่าโรคเอ็มเอสพบได้ในทุกเผ่าพันธุ์ เป็นได้ทั้งคนผิวดำ คนผิวขาว คนละตินอเมริกา คนเอเชียรวมถึงคนไทยด้วย โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการในวัยทำงาน อายุประมาณ 20-30 ปี จึงก่อให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้ค่อนข้างมาก

ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสแต่ละคน จะมีอาการไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเกิดการอักเสบของปลอกประสาทที่บริเวณใดในระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าหากเกิดการอักเสบบริเวณเส้นประสาทตา ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตา ตามัว มองไม่เห็น ถ้าเกิดการอักเสบบริเวณสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องการทรงตัวก็อาจจะทำให้เกิด อาการเดินเซ เวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นต้น ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยของโรคเอ็มเอส ได้แก่

- รู้สึกอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรง

- มีอาการชาตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย

- มีปัญหาในการเดินหรือการทรงตัว

- ตามัวมองไม่เห็น

- แขนขาอ่อนแรงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต

- ปัสสาวะไม่ออกหรือกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่

- มีอาการปวดตามที่ต่าง ๆ

- มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน และความจำไม่ค่อยดี เป็นต้น

เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสมักจะมีความพิการมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการอักเสบของปลอกประสาทที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ และร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทหรือเส้นใยประสาทใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสจำนวนมาก อาจจะต้องใช้ไม้เท้าในการช่วยเดินหรือต้องนั่งรถเข็นภายในระยะเวลา 10-20 ปี

โรคเอ็มเอส แบ่งตามลักษณะการดำเนินโรค ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่

1. โรคเอ็มเอสชนิดเป็น ๆ หาย ๆ เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด โดยระยะแรกของการดำเนินโรค ผู้ป่วยมักกลับมาเป็นปกติหรือเกือบปกติหลังหายจากการกำเริบของโรค หลังจากนั้นจะกลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะกลับมาเป็นซ้ำอีกเมื่อไร

2. โรคเอ็มเอสชนิดมีการดำเนินโรครุดหน้าในภายหลัง โรคเอ็มเอสชนิดนี้มักจะเกิดหลังจากเป็นโรคเอ็มเอสชนิดเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงแรก แล้วจะมีการดำเนินของโรคสู่ระยะลุกลามต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะนี้ภายในระยะเวลา 15-20 ปี ในระหว่างที่เกิดการกำเริบของโรคอาการจะไม่บรรเทาลง แต่จะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ

3. โรคเอ็มเอสชนิดที่มีการดำเนินโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะแรก เป็นชนิดที่พบได้น้อย โดยผู้ป่วยจะมีการดำเนินของโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาการจะค่อย ๆ แย่ลง และสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทีละน้อย ไม่มีการฟื้นตัว แต่จะอยู่ในสภาพของร่างกายที่เสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง

4. โรคเอ็มเอสชนิดที่มีการดำเนินโรครุดหน้าและมีลักษณะของการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวและกลับเป็นซ้ำอีก โดยการฟื้นตัวแต่ละครั้งจะมีความผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลางมากขึ้นเรื่อย ๆ

5. โรคเอ็มเอสชนิดไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยและอาจมีอาการเพียงครั้งเดียวในชีวิต ซึ่งร่างกายผู้ป่วยจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เกือบสมบูรณ์ ในบางครั้งระยะเวลากว่าจะเกิดการกำเริบของโรคอีกครั้งอาจจะกินเวลาถึง 20 ปี โดยการดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้ามาก

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคเอ็มเอสให้หายขาด แต่แพทย์สามารถชะลอการเกิดความพิการหรือลดจำนวนครั้งของการกำเริบของอาการ โรคเอ็มเอสได้ โดยยาที่ใช้มีอยู่หลายชนิด ซึ่งในอดีตมีเฉพาะยาฉีดเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมียาเม็ดสำหรับรักษาโรคเอ็มเอสแล้ว ทำให้การรักษาสะดวกขึ้นและมีประสิทธิภาพดีกว่าสมัยก่อนมาก นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ให้ยาเพื่อรักษาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวด หรืออาการทางระบบขับถ่ายที่ผิดปกติ และยังมียาที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสสามารถเดินได้ดีขึ้นอีกด้วย

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัดว่า โรคเอ็มเอสเกิดจากสาเหตุอะไร จึงไม่สามารถหาวิธีการป้องกันได้ ดังนั้นการดูแลใส่ใจสุขภาพตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด รวมทั้งเมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้รีบไปพบแพทย์ทันที จึงน่าจะเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดให้ห่างไกลจากโรคเอ็มเอสและโรคร้ายแรง อื่นๆนพ. ชาคร จันทร์สกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/225519 (ขนาดไฟล์: 167)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 6/09/2556 เวลา 03:50:01 ดูภาพสไลด์โชว์ เอ็มเอส...ภัยเงียบใหม่ของคนวัยทำงาน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพเอ็กซเรย์ หากคุณอยู่ในวัยทำงานหรือวัยหนุ่มสาว แล้วรู้สึกมีอาการอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรง มีอาการชาตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย มีปัญหาในการเดินหรือการทรงตัว ตามัวมองไม่เห็น ระวัง... คุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็น โรคเอ็มเอส ถึงแม้ว่าโรคนี้จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่เมื่อเป็นแล้วอาจจะมีอาการร้ายแรงจนถึงขั้นพิการได้ โรคเอ็มเอส (MS) หรือชื่อเต็มในภาษาอังกฤษคือโรคมัลติเพิล สเคลอโรซิส (multiple sclerosis) เป็น โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาท (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางชนิด การที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ หรือมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า โรคเอ็มเอสเกิดขึ้นได้บ่อยในเขตละติจูดสูง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป ปัจจุบันพบว่าโรคเอ็มเอสพบได้ในทุกเผ่าพันธุ์ เป็นได้ทั้งคนผิวดำ คนผิวขาว คนละตินอเมริกา คนเอเชียรวมถึงคนไทยด้วย โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการในวัยทำงาน อายุประมาณ 20-30 ปี จึงก่อให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้ค่อนข้างมาก ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสแต่ละคน จะมีอาการไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเกิดการอักเสบของปลอกประสาทที่บริเวณใดในระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าหากเกิดการอักเสบบริเวณเส้นประสาทตา ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตา ตามัว มองไม่เห็น ถ้าเกิดการอักเสบบริเวณสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องการทรงตัวก็อาจจะทำให้เกิด อาการเดินเซ เวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นต้น ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยของโรคเอ็มเอส ได้แก่ - รู้สึกอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรง - มีอาการชาตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย - มีปัญหาในการเดินหรือการทรงตัว - ตามัวมองไม่เห็น - แขนขาอ่อนแรงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต - ปัสสาวะไม่ออกหรือกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ - มีอาการปวดตามที่ต่าง ๆ - มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน และความจำไม่ค่อยดี เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสมักจะมีความพิการมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการอักเสบของปลอกประสาทที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ และร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทหรือเส้นใยประสาทใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสจำนวนมาก อาจจะต้องใช้ไม้เท้าในการช่วยเดินหรือต้องนั่งรถเข็นภายในระยะเวลา 10-20 ปี โรคเอ็มเอส แบ่งตามลักษณะการดำเนินโรค ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ 1. โรคเอ็มเอสชนิดเป็น ๆ หาย ๆ เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด โดยระยะแรกของการดำเนินโรค ผู้ป่วยมักกลับมาเป็นปกติหรือเกือบปกติหลังหายจากการกำเริบของโรค หลังจากนั้นจะกลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะกลับมาเป็นซ้ำอีกเมื่อไร 2. โรคเอ็มเอสชนิดมีการดำเนินโรครุดหน้าในภายหลัง โรคเอ็มเอสชนิดนี้มักจะเกิดหลังจากเป็นโรคเอ็มเอสชนิดเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงแรก แล้วจะมีการดำเนินของโรคสู่ระยะลุกลามต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะนี้ภายในระยะเวลา 15-20 ปี ในระหว่างที่เกิดการกำเริบของโรคอาการจะไม่บรรเทาลง แต่จะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ 3. โรคเอ็มเอสชนิดที่มีการดำเนินโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะแรก เป็นชนิดที่พบได้น้อย โดยผู้ป่วยจะมีการดำเนินของโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาการจะค่อย ๆ แย่ลง และสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทีละน้อย ไม่มีการฟื้นตัว แต่จะอยู่ในสภาพของร่างกายที่เสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง 4. โรคเอ็มเอสชนิดที่มีการดำเนินโรครุดหน้าและมีลักษณะของการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวและกลับเป็นซ้ำอีก โดยการฟื้นตัวแต่ละครั้งจะมีความผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลางมากขึ้นเรื่อย ๆ 5. โรคเอ็มเอสชนิดไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยและอาจมีอาการเพียงครั้งเดียวในชีวิต ซึ่งร่างกายผู้ป่วยจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เกือบสมบูรณ์ ในบางครั้งระยะเวลากว่าจะเกิดการกำเริบของโรคอีกครั้งอาจจะกินเวลาถึง 20 ปี โดยการดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้ามาก ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคเอ็มเอสให้หายขาด แต่แพทย์สามารถชะลอการเกิดความพิการหรือลดจำนวนครั้งของการกำเริบของอาการ โรคเอ็มเอสได้ โดยยาที่ใช้มีอยู่หลายชนิด ซึ่งในอดีตมีเฉพาะยาฉีดเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมียาเม็ดสำหรับรักษาโรคเอ็มเอสแล้ว ทำให้การรักษาสะดวกขึ้นและมีประสิทธิภาพดีกว่าสมัยก่อนมาก นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ให้ยาเพื่อรักษาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวด หรืออาการทางระบบขับถ่ายที่ผิดปกติ และยังมียาที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสสามารถเดินได้ดีขึ้นอีกด้วย เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัดว่า โรคเอ็มเอสเกิดจากสาเหตุอะไร จึงไม่สามารถหาวิธีการป้องกันได้ ดังนั้นการดูแลใส่ใจสุขภาพตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด รวมทั้งเมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้รีบไปพบแพทย์ทันที จึงน่าจะเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดให้ห่างไกลจากโรคเอ็มเอสและโรคร้ายแรง อื่นๆนพ. ชาคร จันทร์สกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/822/225519 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...