อันตราย! ใช้สเต็มเซลล์มั่ว มีสิทธิตาย
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พร้อม 5 สมาคมวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เตือนภัย การใช้สเต็มเซลล์รักษาไม่ถูกโรค ระวังเกิดโทษสารพัด ทั้งการอุดตันของหลอดเลือด มะเร็งชนิดรุนแรง ร้ายสุดถึงขั้นเสียชีวิต ระบุชัดปัจจุบันทางการแพทย์ใช้รักษาได้แค่ 5 โรคระบบเลือดเท่านั้น ได้แก่ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย ที่สำคัญสามารถเบิกค่ารักษาได้ตามสิทธิ แนะโรคอื่นยังไม่มีผลวิจัยการศึกษารองรับ อาจไม่เกิดผลดีตามที่หวัง
เมื่อ วันที่ 6 ก.ย. ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคม วิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เฉพาะทางของประเทศไทย ด้านโรคระบบประสาทวิทยา โรคผิวหนัง โรคหัวใจ โรคไต และโรคระบบโลหิตวิทยาแถลงข่าว “เรื่องแนวทางการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคทางอายุรกรรม” ว่า เซลล์ต้นกำเนิดหรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า สเต็มเซลล์ (stem cell) ได้มาจากหลายแหล่ง เช่น เซลล์ของตัวอ่อนของทารก จากเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ของมนุษย์ โดยมีการศึกษาและพยายามที่จะนำความรู้ ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสเต็มเซลล์มาพัฒนาเพื่อใช้รักษาโรคต่างๆใน มนุษย์ แม้ว่าหลายประเทศได้ค้นคว้าวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์มาหลายสิบปีแล้ว แต่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่ง ประเทศไทย ขอยืนยันว่าจากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันนั้น ยังคงจำกัดการรักษาเฉพาะการนำสเต็มเซลล์ที่ได้จากเซลล์ของไขกระดูกของผู้ป่วยเอง หรือพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้เท่านั้น โดยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่แพทย์สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษาได้และสามารถเบิก จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ มีเพียง 5 โรค เท่านั้น ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคมะเร็งต่อม น้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย
ศ.นพ.เกรียง กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากนี้ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถยืดชีวิต ชะลอความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างได้ผลในระยะยาว สำหรับกลุ่มโรคที่รักษาด้วยสเต็มเซลล์ยังไม่ได้ผลชัดเจน ได้แก่ โรคความเสื่อมของอวัยวะจากความชราหรือจากโรคดั้งเดิมอื่น เช่น ความ เสื่อมของสมอง หัวใจ ไต หรืออวัยวะอื่นๆของร่ายกาย ปัจจุบันองค์กรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางต่างๆทั่วโลก ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติของ แพทย์สำหรับรักษาโรคต่างๆ ยกเว้น โรคทางโลหิตวิทยา 5 โรค
ด้วยเหตุนี้ การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยที่ได้รับสเต็มเซลล์ผู้ป่วย เช่น อาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารโปรตีน แปลกปลอม เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมในระหว่างกระบวนการเตรียมสเต็มเซลล์ที่ไม่ถูกวิธี และเคยมี รายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ชนิดร้ายแรงหลังจากเข้ารับการรักษา และส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต โดยการนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มในการตั้งความหวังว่าจะเกิดผลดีจากการใช้สเต็มเซลล์ เพื่อรักษา ซึ่งมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีให้ได้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้ และระหว่างความหวังของผู้ป่วยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับความเป็นจริงขององค์ ความรู้ในปัจจุบัน จึงเป็นความสำคัญของการใช้สเต็มเซลล์ โดยหาก ปราศจากองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมาตรฐานวิชาชีพทาง การแพทย์มารองรับ อาจมีผลกระทบต่อหลักของมาตรฐาน วิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย และไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวังได้
ศ.นพ.เกรียง กล่าวด้วยว่า ด้วยเหตุนี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จึงร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพ แสดงจุดยืนร่วมกันว่าไม่นำสเต็มเซลล์ มาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์ สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยา จำนวน 5 กลุ่มโรค หากจะนำมาใช้ในมนุษย์ ก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัยที่มีโครงการวิจัยทดลองใน มนุษย์ที่รองรับอย่างชัดเจน โดยโครงการวิจัยดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองจริยธรรมการวิจัยใน มนุษย์อย่างถูกต้อง และต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้นจากผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย
ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/newspaper/368301
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พร้อม 5 สมาคมวิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เตือนภัย การใช้สเต็มเซลล์รักษาไม่ถูกโรค ระวังเกิดโทษสารพัด ทั้งการอุดตันของหลอดเลือด มะเร็งชนิดรุนแรง ร้ายสุดถึงขั้นเสียชีวิต ระบุชัดปัจจุบันทางการแพทย์ใช้รักษาได้แค่ 5 โรคระบบเลือดเท่านั้น ได้แก่ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย ที่สำคัญสามารถเบิกค่ารักษาได้ตามสิทธิ แนะโรคอื่นยังไม่มีผลวิจัยการศึกษารองรับ อาจไม่เกิดผลดีตามที่หวัง เมื่อ วันที่ 6 ก.ย. ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคม วิชาชีพด้านอายุรศาสตร์เฉพาะทางของประเทศไทย ด้านโรคระบบประสาทวิทยา โรคผิวหนัง โรคหัวใจ โรคไต และโรคระบบโลหิตวิทยาแถลงข่าว “เรื่องแนวทางการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคทางอายุรกรรม” ว่า เซลล์ต้นกำเนิดหรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า สเต็มเซลล์ (stem cell) ได้มาจากหลายแหล่ง เช่น เซลล์ของตัวอ่อนของทารก จากเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ของมนุษย์ โดยมีการศึกษาและพยายามที่จะนำความรู้ ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสเต็มเซลล์มาพัฒนาเพื่อใช้รักษาโรคต่างๆใน มนุษย์ แม้ว่าหลายประเทศได้ค้นคว้าวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์มาหลายสิบปีแล้ว แต่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายสมาคมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสมาคมโลหิตวิทยาแห่ง ประเทศไทย ขอยืนยันว่าจากองค์ความรู้ที่มีข้อพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันนั้น ยังคงจำกัดการรักษาเฉพาะการนำสเต็มเซลล์ที่ได้จากเซลล์ของไขกระดูกของผู้ป่วยเอง หรือพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้เท่านั้น โดยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่แพทย์สามารถใช้สเต็มเซลล์รักษาได้และสามารถเบิก จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ มีเพียง 5 โรค เท่านั้น ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคมะเร็งต่อม น้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งมัยติเพิลมัยอิโลมา และโรคโลหิตจางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย ศ.นพ.เกรียง กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากนี้ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถยืดชีวิต ชะลอความเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะ หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยอย่างได้ผลในระยะยาว สำหรับกลุ่มโรคที่รักษาด้วยสเต็มเซลล์ยังไม่ได้ผลชัดเจน ได้แก่ โรคความเสื่อมของอวัยวะจากความชราหรือจากโรคดั้งเดิมอื่น เช่น ความ เสื่อมของสมอง หัวใจ ไต หรืออวัยวะอื่นๆของร่ายกาย ปัจจุบันองค์กรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางต่างๆทั่วโลก ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติของ แพทย์สำหรับรักษาโรคต่างๆ ยกเว้น โรคทางโลหิตวิทยา 5 โรค ด้วยเหตุนี้ การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอย่างไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วยที่ได้รับสเต็มเซลล์ผู้ป่วย เช่น อาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารโปรตีน แปลกปลอม เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมในระหว่างกระบวนการเตรียมสเต็มเซลล์ที่ไม่ถูกวิธี และเคยมี รายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ชนิดร้ายแรงหลังจากเข้ารับการรักษา และส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต โดยการนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีแนวโน้มในการตั้งความหวังว่าจะเกิดผลดีจากการใช้สเต็มเซลล์ เพื่อรักษา ซึ่งมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีให้ได้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้ และระหว่างความหวังของผู้ป่วยที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับความเป็นจริงขององค์ ความรู้ในปัจจุบัน จึงเป็นความสำคัญของการใช้สเต็มเซลล์ โดยหาก ปราศจากองค์ความรู้ที่ถูกต้องและมาตรฐานวิชาชีพทาง การแพทย์มารองรับ อาจมีผลกระทบต่อหลักของมาตรฐาน วิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย และไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวังได้ ศ.นพ.เกรียง กล่าวด้วยว่า ด้วยเหตุนี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จึงร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพ แสดงจุดยืนร่วมกันว่าไม่นำสเต็มเซลล์ มาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์ สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยา จำนวน 5 กลุ่มโรค หากจะนำมาใช้ในมนุษย์ ก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัยที่มีโครงการวิจัยทดลองใน มนุษย์ที่รองรับอย่างชัดเจน โดยโครงการวิจัยดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองจริยธรรมการวิจัยใน มนุษย์อย่างถูกต้อง และต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้นจากผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/newspaper/368301 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)