เป็นธาลัสซีเมีย..แล้วจะมีลูกได้หรือไม่? - หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ
เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ถูกถามไถ่กันมามากทีเดียว สำหรับคนที่อยากมีลูก แต่ตัวเองเป็นพาหะธาลัสซีเมีย หรือคู่สมรสเป็นพาหะธาลัสซีเมีย หรือเป็นทั้งคู่ ซึ่งปัญหานี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ของคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีลูกไปแล้ว
สำหรับผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียหรือมีพาหะธาลัสซีเมียนั้น สามารถมีลูกได้ แต่ต้องเข้าใจถึงสภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับโรคด้วยว่า โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบพันธุ์ด้อยและจาก ความหลากหลายของการกลายพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียมีอาการได้ตั้งแต่น้อยถึงรุนแรงมาก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก็มักจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านการเจริญพันธุ์ ในผู้หญิงอาจพบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ บางรายไม่มีประจำเดือนติดต่อกันหลายเดือน จึงไม่ค่อยพบว่าผู้ป่วยดังกล่าว มีการตั้งครรภ์หรือมีบุตร แต่หากผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีการแต่งงานกับคนปกติ ซึ่งไม่มีพาหะธาลัสซีเมียอยู่ในตัว ก็สามารถมีลูกที่ไม่มีอาการผิดปกติได้ แต่ลูกทุกคนจะเป็นพาหะหรือมีพันธุ์แฝงธาลัสซีเมียที่ได้จากพ่อแม่ติดตัวมา
ผู้ป่วยที่เป็นธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงไม่มากหรือเป็นกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอีและฮีโมโกลบินเอช ก็มักจะมีการเจริญเติบโตตามปกติ เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และมีครอบครัวก็สามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่หากคู่สมรสเป็นผู้ที่ไม่มีพันธุ์แฝงธาลัสซีเมีย ก็จะมีลูกที่เป็นพาหะหรือมีพันธุ์แฝงของผู้ป่วย แต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
ดังนั้นจะเห็นว่า หากผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะมีบุตรก็สามารถมีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มักเป็นปัญหาในคลินิกธาลัสซีเมียคือ ผู้ที่เป็นพาหะทั้งคู่แต่งงานกัน และเป็นพาหะชนิดเดียวกัน เมื่อมีลูกก็จะทำให้มีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ส่วนมากจะมาปรึกษาเสมอว่าจะแก้ปัญหาไม่ให้มีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียได้อย่าง ไร..ในกรณีนี้ หากแพทย์ทราบมาก่อนว่าคู่สมรสมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรง ก็จะให้เตรียมตัวเพื่อตรวจทารกในครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ12-16 สัปดาห์ และหากตรวจพบว่าลูกในท้องเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมากและจะทำให้เกิดข้อ แทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดา ก็จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งหากเด็กในครรภ์เป็นแค่พาหะของโรค หรือไม่มีพันธุ์ของธาลัสซีเมียอยู่เลยก็จะให้ตั้งครรภ์ได้ตามปกติ
มีวิธีการตรวจสอบตนเองอย่างไรว่าเป็นโรคหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย? ไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาล แล้วบอกว่าขอตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ อาจไปตรวจพร้อมกับการตรวจโรคประจำปี ในรายที่ไม่เร่งด่วน แต่ถ้ามีอาการเข้าได้กับโรคธาลัสซีเมียก็ไปขอตรวจได้เลย
คนไทยเป็นธาลัสซีเมียชนิดใดมากและชนิดดังกล่าวมีความรุนแรงอย่างไรบ้าง? ชนิดของโรคธาลัสซีเมียที่พบมากที่สุดในคนไทยคือ ฮีโมโกลบินเอช ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดคือ จะพบประมาณเกือบห้าแสนคนที่เหลือจะเป็นชนิดรุนแรงปานกลางและชนิดรุนแรงมากที่สุด
สำหรับคนไข้ที่เป็นฮีโมโกลบินเอชนั้นจะมีอาการอ่อนเพลีย ตัวเหลือง ซีด ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม เมื่อมีอาการเป็นไข้ ไม่สบาย เป็นไข้หวัด หรือเมื่อไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ เช่น อดนอนติดต่อกันหลายคืน แต่หากหายจากไข้ และได้รับการพักผ่อนเพียงพออาการก็จะกลับมาเป็นปกติ
จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อลูกเป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย? ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียจะมีสุขภาพ มีความสามารถ และมีลักษณะเหมือนคนปกติทั่วไป จะทราบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียได้ ก็เมื่อมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการเป็นพาหะธาลัสซีเมียเท่านั้น ไม่สามารถแยกได้จากลักษณะรูปร่างหน้าตา
ดังนั้น หากมีลูกหรือบุคคลในครอบครัวเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ก็มั่นใจได้ว่าเขาเหล่านั้นคือคนปกติ แต่เมื่อไรก็ตามคนที่เป็นพาหะต้องการมีครอบครัวหรือมีบุตร ต้องตรวจดูว่าคู่สมรสเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดที่รวมกันแล้วทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ ทั้งนี้ แพทย์จะให้คำปรึกษา แนะนำ และป้องกันการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียต่อไป.รศ.นพ.ธันยชัย สุระ หน่วยเวชพันธุศาสตร์ คลินิกธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/231223 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผังความเป็นไปได้ในการเกิดธาลัสซีเมีย เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ถูกถามไถ่กันมามากทีเดียว สำหรับคนที่อยากมีลูก แต่ตัวเองเป็นพาหะธาลัสซีเมีย หรือคู่สมรสเป็นพาหะธาลัสซีเมีย หรือเป็นทั้งคู่ ซึ่งปัญหานี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ของคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีลูกไปแล้ว สำหรับผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียหรือมีพาหะธาลัสซีเมียนั้น สามารถมีลูกได้ แต่ต้องเข้าใจถึงสภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับโรคด้วยว่า โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบพันธุ์ด้อยและจาก ความหลากหลายของการกลายพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียมีอาการได้ตั้งแต่น้อยถึงรุนแรงมาก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก็มักจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านการเจริญพันธุ์ ในผู้หญิงอาจพบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ บางรายไม่มีประจำเดือนติดต่อกันหลายเดือน จึงไม่ค่อยพบว่าผู้ป่วยดังกล่าว มีการตั้งครรภ์หรือมีบุตร แต่หากผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีการแต่งงานกับคนปกติ ซึ่งไม่มีพาหะธาลัสซีเมียอยู่ในตัว ก็สามารถมีลูกที่ไม่มีอาการผิดปกติได้ แต่ลูกทุกคนจะเป็นพาหะหรือมีพันธุ์แฝงธาลัสซีเมียที่ได้จากพ่อแม่ติดตัวมา ผู้ป่วยที่เป็นธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงไม่มากหรือเป็นกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอีและฮีโมโกลบินเอช ก็มักจะมีการเจริญเติบโตตามปกติ เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และมีครอบครัวก็สามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่หากคู่สมรสเป็นผู้ที่ไม่มีพันธุ์แฝงธาลัสซีเมีย ก็จะมีลูกที่เป็นพาหะหรือมีพันธุ์แฝงของผู้ป่วย แต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ดังนั้นจะเห็นว่า หากผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะมีบุตรก็สามารถมีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มักเป็นปัญหาในคลินิกธาลัสซีเมียคือ ผู้ที่เป็นพาหะทั้งคู่แต่งงานกัน และเป็นพาหะชนิดเดียวกัน เมื่อมีลูกก็จะทำให้มีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ส่วนมากจะมาปรึกษาเสมอว่าจะแก้ปัญหาไม่ให้มีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียได้อย่าง ไร..ในกรณีนี้ หากแพทย์ทราบมาก่อนว่าคู่สมรสมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรง ก็จะให้เตรียมตัวเพื่อตรวจทารกในครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ12-16 สัปดาห์ และหากตรวจพบว่าลูกในท้องเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมากและจะทำให้เกิดข้อ แทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดา ก็จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งหากเด็กในครรภ์เป็นแค่พาหะของโรค หรือไม่มีพันธุ์ของธาลัสซีเมียอยู่เลยก็จะให้ตั้งครรภ์ได้ตามปกติ มีวิธีการตรวจสอบตนเองอย่างไรว่าเป็นโรคหรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย? ไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาล แล้วบอกว่าขอตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ อาจไปตรวจพร้อมกับการตรวจโรคประจำปี ในรายที่ไม่เร่งด่วน แต่ถ้ามีอาการเข้าได้กับโรคธาลัสซีเมียก็ไปขอตรวจได้เลย คนไทยเป็นธาลัสซีเมียชนิดใดมากและชนิดดังกล่าวมีความรุนแรงอย่างไรบ้าง? ชนิดของโรคธาลัสซีเมียที่พบมากที่สุดในคนไทยคือ ฮีโมโกลบินเอช ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดคือ จะพบประมาณเกือบห้าแสนคนที่เหลือจะเป็นชนิดรุนแรงปานกลางและชนิดรุนแรงมากที่สุด สำหรับคนไข้ที่เป็นฮีโมโกลบินเอชนั้นจะมีอาการอ่อนเพลีย ตัวเหลือง ซีด ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม เมื่อมีอาการเป็นไข้ ไม่สบาย เป็นไข้หวัด หรือเมื่อไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ เช่น อดนอนติดต่อกันหลายคืน แต่หากหายจากไข้ และได้รับการพักผ่อนเพียงพออาการก็จะกลับมาเป็นปกติ จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อลูกเป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย? ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียจะมีสุขภาพ มีความสามารถ และมีลักษณะเหมือนคนปกติทั่วไป จะทราบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียได้ ก็เมื่อมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการเป็นพาหะธาลัสซีเมียเท่านั้น ไม่สามารถแยกได้จากลักษณะรูปร่างหน้าตา ดังนั้น หากมีลูกหรือบุคคลในครอบครัวเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ก็มั่นใจได้ว่าเขาเหล่านั้นคือคนปกติ แต่เมื่อไรก็ตามคนที่เป็นพาหะต้องการมีครอบครัวหรือมีบุตร ต้องตรวจดูว่าคู่สมรสเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดที่รวมกันแล้วทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ ทั้งนี้ แพทย์จะให้คำปรึกษา แนะนำ และป้องกันการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียต่อไป.รศ.นพ.ธันยชัย สุระ หน่วยเวชพันธุศาสตร์ คลินิกธาลัสซีเมีย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/231223 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)