รู้ทัน′โนโมโฟเบีย′ โรคติดโทรศัพท์มือถือ

แสดงความคิดเห็น

รวมภาพผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

หากใครอยากรู้ว่าตนเองเข้าข่ายเป็น โรคสมัยใหม่อย่าง "โนโมโฟเบีย" หรือที่แปลเป็นไทยได้ชื่อว่า "โรคติดโทรศัพท์มือถือ" หรือเปล่า ลองสังเกตจากอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ เครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หากไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัวโทรศัพท์เเบตหมดหรือว่าอยู่ในที่ไร้สัญญาณ

ยังรวมถึงลักษณะการบ่งบอกสัญญาณของโรค อย่างหมกมุ่นอยู่กับการเช็กดูมือถือตลอดเวลา, มักกังวลว่าโทรศัพท์มือถือหาย, โทรศัพท์มือถือต้องวางอยู่ในรัศมีที่เอื้อมถึงและต้องวางอยู่ถูกที่เสมอ, คนพูดเตือนว่าให้วางมือถือได้แล้วมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน, ใช้เวลากับโทรศัพท์มากกว่าการสนทนากับผู้คนตรงหน้า, ก่อนทานอาหารต้องถ่ายรูปอาหารลงเฟซบุ๊ก, ภายในหนึ่งนาทีหลังเจอหน้าเพื่อนจะต้องถ่ายรูปเพื่อโหลดลงเฟซบุ๊ก

"โนโมโฟเบีย" เป็นอาการที่เกิดจากความหวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงภาวะความเครียดที่อยู่ในจุดอับสัญญาณหรือเเบตเตอรี่หมดจนไม่สามารถติดต่อใครได้

"YouGov" ซึ่งเป็นองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอาการของโรคนี้ขึ้นเมื่อปี 2008 จากการนำคำว่า no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวช จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวลเป็นความกลัวที่มากกว่าความกลัวทั่วๆไป

ผลจากการศึกษาของ Helsinki Institute for Information Technology ประเทศฟินแลนด์ พบว่า โดยเฉลี่ยคนจะเช็กโทรศัพท์มือถือวันละ 34 ครั้ง โดยมักจะเช็กอีเมล์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือแอพพ์ต่างๆ โดยจะใช้เวลาเช็กไม่เกิน30วินาที

สำหรับสาเหตุที่เช็กนั้นไม่ใช่เพราะมีเรื่องด่วน แต่ว่าเป็นสิ่งที่ทำประจำจนเป็นนิสัยแล้ว หรือห้ามใจไม่ไหว ดังนั้น หากวางมือถือผิดที่จะใช้เวลาเพียงไม่นานก็ทราบว่ามือถือหาย นักวิจัยวิทยาวิเคราะห์ว่า กลุ่มคนอายุน้อยมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพราะช่วงวัยรุ่นจะติดเพื่อนติดเกมส์มากกว่า

เรื่องนี้จากการพูดคุยกับ "เปรม" หรือ กรณัฐ การุณย์ หนุ่มวัย 21 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็ยอมรับว่าติดทั้งไลน์ เฟซบุ๊ก รวมทั้งเกมส์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ "ผมว่ามันสำคัญ ผมชอบโหลดเกมส์มาเล่น ซึ่งหลายเกมเป็นเกมส์ออนไลน์ ต้องใช้เวลาเล่นที่ต่อเนื่อง เพราะต้องเเข่งขันกับเวลา และคู่ต่อสู้คนอื่นเเน่นอนว่าผมต้องนั่งก้มจ้องโทรศัพท์ตลอด"

นอกจากจะเป็นปัญหาทางจิตเเล้ว การติดโทรศัพท์ได้สร้างปัญหาทางกายให้กับกรณัฐอีกด้วย "หลายครั้งก็ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยหลัง และปวดช่วงต้นคอ" กรณัฐบอก และเผยอีกว่า "การติดโทรศัพท์มีผลกระทบต่อการเรียนของตัวเองบ้าง เพราะหลายๆ เกมส์สนุกจนดึงดูดความสนใจมากกว่าวิชาเรียนที่อยู่ตรงหน้า ว่างเมื่อไหร่ก็หยิบทันที และทุกครั้งที่อยู่คนเดียวก็หยิบมาเล่น หรืออย่างพักหลังๆ นี้แม้ว่าอยู่กับเพื่อนหากว่าไม่มีอะไรน่าสนใจก็หยิบโทรศัพท์มาเล่นเลยเหมือนกัน"

สำหรับการติดตามเรื่อง "โนโมโฟเบีย" ในประเทศไทย ช่วงต้นปีที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ออกมาเปิดเผยผลสำรวจหัวข้อว่า "1 วันในชีวิตเด็กไทย" ในกลุ่มตัวอย่างประมาณ3,000คนทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือวงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน สิ่งแรกที่เด็ก 51% ทำหลังตื่นนอน คือการเช็กโทรศัพท์มือถือ สิ่งสุดท้ายที่เด็ก 35% ทำก่อนนอนคือใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊กและไลน์ ซึ่งยืนยันได้จาก "บีบี" ภูษิตา พลรักษ์ พนักงานออฟฟิศวัย 23 ปี ซึ่งบอกเล่าว่า โทรศัพท์เป็นสิ่งแรกที่เธอหยิบ และเป็นสิ่งสุดท้ายที่วางก่อนนอน โดยแอพพลิเคชั่นประจำของเธอคือ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม และมีกิจกรรมสำคัญคือ"ถ่ายรูป"

"ไม่รู้ว่าติดโทรศัพท์หรือเปล่า แต่เป็นสิ่งที่ห้ามลืม และแฟนชอบบ่นว่า พอไม่เจอกันก็บอกว่าคิดถึง พอเมื่ออยู่ด้วยกัน ก็เล่นแต่โทรศัพท์ จนต้องตั้งกฎว่า เวลาอยู่ด้วยกันต้องห้ามเล่น" ภูษิตาเผย ถามว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดโทรศัพท์ไหม?

หญิงสาวตอบว่า "เคยมี ตอนนั้นเราเล่นโทรศัพท์เเชต ถ่ายรูปทั้งวันจนเเบตหมด เเล้วมารู้ทีหลังว่าจังหวะนั้นมีคนโทร.มาติดต่อให้เราไปทำงาน ซึ่งเมื่อเราโทร.กลับไป ก็พบว่าเขาเลือกคนอื่นทำงานเเทนเราไปเเล้ว"

เมื่อหมอเป็นเอง จนต้องหาทางแก้เพราะ "โทรศัพท์สมาร์ทโฟน" ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร ก็จำเป็นต้องมีเจ้าเครื่องมือนี้ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

(จากซ้าย) กรณัฐ การุณย์, ภูษิตา พลรักษ์ และ นพ.ประยูร เจนตระกูลโรจน์

นพ.ประยูร เจนตระกูลโรจน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผิวหนังอโศกและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ที่ถึงแม้จะมีอาชีพหลักเป็นนายแพทย์ แต่เมื่อตัวเองมีประสบการณ์ตรงจากผลกระทบของปัญหาโทรศัพท์ ทำให้เริ่มค้นหาข้อมูล ก่อนจะเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโรคประหลาดนี้ให้ฟัง

คุณหมอเล่าว่า ครั้งหนึ่งที่กำลังเดินพักผ่อนในห้างสรรพสินค้า ผมเกิดทำมือถือหาย จังหวะนั้นความกังวลใจและความเครียดเข้ามาในหัวเลย เราคิดทันทีว่า เอ๊ยถ้าโรงพยาบาลโทร.ตามเพราะมีเคสพิเศษล่ะ?คนไข้จะเป็นอย่างไร?

"การไม่มีโทรศัพท์ทำให้เรารู้สึกว่ามีปัญหาแล้ว การขาดการติดต่อ ให้ความรู้สึกไม่เป็นสุข แทนที่จะได้พักผ่อน เป็นเวลาสบาย กลับกลายเป็นความฉุกเฉิน และพยายามพาตัวเองกลับไปอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะสื่อสารให้ได้"

จากเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ นพ.ประยูรติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอาการที่ตัวเองประสบ กระทั่งได้ข้อวิธีการสังเกตของอาการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงวิธีการรักษา นพ.ประยูรได้ให้ความรู้ว่า ต้องใช้การรักษาแบบ Connitive Behavior Therapy (CBT) ซึ่งเป็นการรักษาที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่างๆ ทำโดยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัวและกรอบความคิดเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาในปัจจุบัน และสามารถลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้

คนส่วนใหญ่ที่รับการรักษาจนหายดีแล้ว จะรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือให้ต้องมาคอยเป็นกังวลแต่หากสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการติดโทรศัพท์ อาจารย์หมอบอกว่า อาจลองรักษาด้วยตัวเองก่อนเริ่มง่ายๆจากการลองใช้ชีวิตโดยปราศจากมือถือสักช่วงหนึ่ง

"อาจเป็นช่วงวันหยุดหรือช่วงสุดสัปดาห์ที่ไม่ต้องกังวลกับเรื่องงาน อาจออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือฝึกหายใจด้วยโยคะ ปิดโทรศัพท์มือถือเมื่อเข้านอน หมั่นแบ๊กอัพข้อมูลในโทรศัพท์มือถือไว้เสมอเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเป็นกังวล

"แต่หากทำแล้วรู้สึกว่าไม่สามารถอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือได้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง"

นพ.ประยูรทิ้งท้ายอีกด้วยว่า ยังมีวิธีการที่ง่ายที่สุดเมื่อเตรียมจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น ทางแก้ไขคือเดินไปคุยกับใครสักคนที่อยู่ใกล้ๆ แค่นี้ก็จะพบว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแล้ว

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378797394

ประชาไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

ที่มา: ประชาไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 11/09/2556 เวลา 04:32:57 ดูภาพสไลด์โชว์ รู้ทัน′โนโมโฟเบีย′ โรคติดโทรศัพท์มือถือ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รวมภาพผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ หากใครอยากรู้ว่าตนเองเข้าข่ายเป็น โรคสมัยใหม่อย่าง "โนโมโฟเบีย" หรือที่แปลเป็นไทยได้ชื่อว่า "โรคติดโทรศัพท์มือถือ" หรือเปล่า ลองสังเกตจากอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ เครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หากไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัวโทรศัพท์เเบตหมดหรือว่าอยู่ในที่ไร้สัญญาณ ยังรวมถึงลักษณะการบ่งบอกสัญญาณของโรค อย่างหมกมุ่นอยู่กับการเช็กดูมือถือตลอดเวลา, มักกังวลว่าโทรศัพท์มือถือหาย, โทรศัพท์มือถือต้องวางอยู่ในรัศมีที่เอื้อมถึงและต้องวางอยู่ถูกที่เสมอ, คนพูดเตือนว่าให้วางมือถือได้แล้วมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน, ใช้เวลากับโทรศัพท์มากกว่าการสนทนากับผู้คนตรงหน้า, ก่อนทานอาหารต้องถ่ายรูปอาหารลงเฟซบุ๊ก, ภายในหนึ่งนาทีหลังเจอหน้าเพื่อนจะต้องถ่ายรูปเพื่อโหลดลงเฟซบุ๊ก "โนโมโฟเบีย" เป็นอาการที่เกิดจากความหวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงภาวะความเครียดที่อยู่ในจุดอับสัญญาณหรือเเบตเตอรี่หมดจนไม่สามารถติดต่อใครได้ "YouGov" ซึ่งเป็นองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอาการของโรคนี้ขึ้นเมื่อปี 2008 จากการนำคำว่า no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวช จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวลเป็นความกลัวที่มากกว่าความกลัวทั่วๆไป ผลจากการศึกษาของ Helsinki Institute for Information Technology ประเทศฟินแลนด์ พบว่า โดยเฉลี่ยคนจะเช็กโทรศัพท์มือถือวันละ 34 ครั้ง โดยมักจะเช็กอีเมล์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือแอพพ์ต่างๆ โดยจะใช้เวลาเช็กไม่เกิน30วินาที สำหรับสาเหตุที่เช็กนั้นไม่ใช่เพราะมีเรื่องด่วน แต่ว่าเป็นสิ่งที่ทำประจำจนเป็นนิสัยแล้ว หรือห้ามใจไม่ไหว ดังนั้น หากวางมือถือผิดที่จะใช้เวลาเพียงไม่นานก็ทราบว่ามือถือหาย นักวิจัยวิทยาวิเคราะห์ว่า กลุ่มคนอายุน้อยมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพราะช่วงวัยรุ่นจะติดเพื่อนติดเกมส์มากกว่า เรื่องนี้จากการพูดคุยกับ "เปรม" หรือ กรณัฐ การุณย์ หนุ่มวัย 21 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็ยอมรับว่าติดทั้งไลน์ เฟซบุ๊ก รวมทั้งเกมส์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ "ผมว่ามันสำคัญ ผมชอบโหลดเกมส์มาเล่น ซึ่งหลายเกมเป็นเกมส์ออนไลน์ ต้องใช้เวลาเล่นที่ต่อเนื่อง เพราะต้องเเข่งขันกับเวลา และคู่ต่อสู้คนอื่นเเน่นอนว่าผมต้องนั่งก้มจ้องโทรศัพท์ตลอด" นอกจากจะเป็นปัญหาทางจิตเเล้ว การติดโทรศัพท์ได้สร้างปัญหาทางกายให้กับกรณัฐอีกด้วย "หลายครั้งก็ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยหลัง และปวดช่วงต้นคอ" กรณัฐบอก และเผยอีกว่า "การติดโทรศัพท์มีผลกระทบต่อการเรียนของตัวเองบ้าง เพราะหลายๆ เกมส์สนุกจนดึงดูดความสนใจมากกว่าวิชาเรียนที่อยู่ตรงหน้า ว่างเมื่อไหร่ก็หยิบทันที และทุกครั้งที่อยู่คนเดียวก็หยิบมาเล่น หรืออย่างพักหลังๆ นี้แม้ว่าอยู่กับเพื่อนหากว่าไม่มีอะไรน่าสนใจก็หยิบโทรศัพท์มาเล่นเลยเหมือนกัน" สำหรับการติดตามเรื่อง "โนโมโฟเบีย" ในประเทศไทย ช่วงต้นปีที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ออกมาเปิดเผยผลสำรวจหัวข้อว่า "1 วันในชีวิตเด็กไทย" ในกลุ่มตัวอย่างประมาณ3,000คนทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือวงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน สิ่งแรกที่เด็ก 51% ทำหลังตื่นนอน คือการเช็กโทรศัพท์มือถือ สิ่งสุดท้ายที่เด็ก 35% ทำก่อนนอนคือใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊กและไลน์ ซึ่งยืนยันได้จาก "บีบี" ภูษิตา พลรักษ์ พนักงานออฟฟิศวัย 23 ปี ซึ่งบอกเล่าว่า โทรศัพท์เป็นสิ่งแรกที่เธอหยิบ และเป็นสิ่งสุดท้ายที่วางก่อนนอน โดยแอพพลิเคชั่นประจำของเธอคือ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม และมีกิจกรรมสำคัญคือ"ถ่ายรูป" "ไม่รู้ว่าติดโทรศัพท์หรือเปล่า แต่เป็นสิ่งที่ห้ามลืม และแฟนชอบบ่นว่า พอไม่เจอกันก็บอกว่าคิดถึง พอเมื่ออยู่ด้วยกัน ก็เล่นแต่โทรศัพท์ จนต้องตั้งกฎว่า เวลาอยู่ด้วยกันต้องห้ามเล่น" ภูษิตาเผย ถามว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดโทรศัพท์ไหม? หญิงสาวตอบว่า "เคยมี ตอนนั้นเราเล่นโทรศัพท์เเชต ถ่ายรูปทั้งวันจนเเบตหมด เเล้วมารู้ทีหลังว่าจังหวะนั้นมีคนโทร.มาติดต่อให้เราไปทำงาน ซึ่งเมื่อเราโทร.กลับไป ก็พบว่าเขาเลือกคนอื่นทำงานเเทนเราไปเเล้ว" เมื่อหมอเป็นเอง จนต้องหาทางแก้เพราะ "โทรศัพท์สมาร์ทโฟน" ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร ก็จำเป็นต้องมีเจ้าเครื่องมือนี้ใช้ในการติดต่อสื่อสาร (จากซ้าย) กรณัฐ การุณย์, ภูษิตา พลรักษ์ และ นพ.ประยูร เจนตระกูลโรจน์ นพ.ประยูร เจนตระกูลโรจน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผิวหนังอโศกและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง ที่ถึงแม้จะมีอาชีพหลักเป็นนายแพทย์ แต่เมื่อตัวเองมีประสบการณ์ตรงจากผลกระทบของปัญหาโทรศัพท์ ทำให้เริ่มค้นหาข้อมูล ก่อนจะเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโรคประหลาดนี้ให้ฟัง คุณหมอเล่าว่า ครั้งหนึ่งที่กำลังเดินพักผ่อนในห้างสรรพสินค้า ผมเกิดทำมือถือหาย จังหวะนั้นความกังวลใจและความเครียดเข้ามาในหัวเลย เราคิดทันทีว่า เอ๊ยถ้าโรงพยาบาลโทร.ตามเพราะมีเคสพิเศษล่ะ?คนไข้จะเป็นอย่างไร? "การไม่มีโทรศัพท์ทำให้เรารู้สึกว่ามีปัญหาแล้ว การขาดการติดต่อ ให้ความรู้สึกไม่เป็นสุข แทนที่จะได้พักผ่อน เป็นเวลาสบาย กลับกลายเป็นความฉุกเฉิน และพยายามพาตัวเองกลับไปอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะสื่อสารให้ได้" จากเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ นพ.ประยูรติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอาการที่ตัวเองประสบ กระทั่งได้ข้อวิธีการสังเกตของอาการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงวิธีการรักษา นพ.ประยูรได้ให้ความรู้ว่า ต้องใช้การรักษาแบบ Connitive Behavior Therapy (CBT) ซึ่งเป็นการรักษาที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่างๆ ทำโดยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัวและกรอบความคิดเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาในปัจจุบัน และสามารถลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ คนส่วนใหญ่ที่รับการรักษาจนหายดีแล้ว จะรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือให้ต้องมาคอยเป็นกังวลแต่หากสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการติดโทรศัพท์ อาจารย์หมอบอกว่า อาจลองรักษาด้วยตัวเองก่อนเริ่มง่ายๆจากการลองใช้ชีวิตโดยปราศจากมือถือสักช่วงหนึ่ง "อาจเป็นช่วงวันหยุดหรือช่วงสุดสัปดาห์ที่ไม่ต้องกังวลกับเรื่องงาน อาจออกกำลังกาย นั่งสมาธิ หรือฝึกหายใจด้วยโยคะ ปิดโทรศัพท์มือถือเมื่อเข้านอน หมั่นแบ๊กอัพข้อมูลในโทรศัพท์มือถือไว้เสมอเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเป็นกังวล "แต่หากทำแล้วรู้สึกว่าไม่สามารถอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือได้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง" นพ.ประยูรทิ้งท้ายอีกด้วยว่า ยังมีวิธีการที่ง่ายที่สุดเมื่อเตรียมจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น ทางแก้ไขคือเดินไปคุยกับใครสักคนที่อยู่ใกล้ๆ แค่นี้ก็จะพบว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแล้ว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378797394 ประชาไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...