เตือนใช้คอมพ์นานตาล้าทดสอบสมรรถภาพช่วยบรรเทา
นายจรูญ ชิดนายี กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร.พ.อุตรดิตถ์ นำเสนอโปสเตอร์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความล้าของสายตากับผลการตรวจสมรรถภาพทางสายตา ในกลุ่มงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ในร.พ.อุตรดิตถ์ ในงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติว่า ได้ศึกษาเชิงวิเคราะห์ใน กลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 ชั่วโมง ใน 12 หน่วยงาน 127 คน เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความล้าของสายตา
การศึกษาพบว่า ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์เฉลี่ย อยู่ที่ 1-5 ชั่วโมงต่อวัน และใช้ 3-5 วันต่อสัปดาห์ โดยพบความล้าทางสายตาที่พบมากที่สุด คือ ตาพร่ามัว ตาแห้งและคันตา อย่างใดอย่างหนึ่ง รองลงมา คือ มีทั้งสองอาการ และมีอาการทั้งหมด โดยไม่พบว่า เพศอายุ โรคประจำตัวมีส่วนทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาแต่อย่างใด
"ปัจจัยสำคัญ ที่พบ คือ ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์ต่ออาการล้าทางสายตา และพบว่า ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งมีสมรรถภาพตาต่ำไม่เหมาะสมกับงาน จะมีอาการล้าทางสายตามากกว่า 2.67 เท่า ของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีการตรวจสมรรถภาพทางสายตาอย่างเหมาะสม"นายจรูญระบุ
นายจรูญกล่าวว่า นอกจากความเสี่ยงในการเกิดอาการล้าทางสายตา ยังพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีพฤติกรรมในการนั่งทำงาน อย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนอิริยาบถน้อย และมักจะไม่ละสายตาจากคอมพิวเตอร์ จึงทำ ให้พบว่ามีอุบัติการณ์ปัญหาเกี่ยวกับตาแห้ง ตาพร่ามัว เคืองตา คันตา ปวดตา ตาล้า หรือการหดเกร็งของเลนส์ตาเมื่อมองวัตถุในระยะใกล้ ซึ่งอาการล้าของสายตามักจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า2.5ชั่วโมง
เป็นผลสอดคล้องกับงานวิจัยอื่นที่ระบุว่า อาการล้าทางสายตาจะเริ่มเกิดเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งนี้ การทดสอบสมรรถภาพของตาให้เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการล้าทางสายตาลงได้ด้วย
ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
bloggang.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายจรูญ ชิดนายี กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร.พ.อุตรดิตถ์ นำเสนอโปสเตอร์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความล้าของสายตากับผลการตรวจสมรรถภาพทางสายตา ในกลุ่มงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ในร.พ.อุตรดิตถ์ ในงานวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติว่า ได้ศึกษาเชิงวิเคราะห์ใน กลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 ชั่วโมง ใน 12 หน่วยงาน 127 คน เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความล้าของสายตา การศึกษาพบว่า ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์เฉลี่ย อยู่ที่ 1-5 ชั่วโมงต่อวัน และใช้ 3-5 วันต่อสัปดาห์ โดยพบความล้าทางสายตาที่พบมากที่สุด คือ ตาพร่ามัว ตาแห้งและคันตา อย่างใดอย่างหนึ่ง รองลงมา คือ มีทั้งสองอาการ และมีอาการทั้งหมด โดยไม่พบว่า เพศอายุ โรคประจำตัวมีส่วนทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาแต่อย่างใด "ปัจจัยสำคัญ ที่พบ คือ ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์ต่ออาการล้าทางสายตา และพบว่า ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งมีสมรรถภาพตาต่ำไม่เหมาะสมกับงาน จะมีอาการล้าทางสายตามากกว่า 2.67 เท่า ของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีการตรวจสมรรถภาพทางสายตาอย่างเหมาะสม"นายจรูญระบุ นายจรูญกล่าวว่า นอกจากความเสี่ยงในการเกิดอาการล้าทางสายตา ยังพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีพฤติกรรมในการนั่งทำงาน อย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนอิริยาบถน้อย และมักจะไม่ละสายตาจากคอมพิวเตอร์ จึงทำ ให้พบว่ามีอุบัติการณ์ปัญหาเกี่ยวกับตาแห้ง ตาพร่ามัว เคืองตา คันตา ปวดตา ตาล้า หรือการหดเกร็งของเลนส์ตาเมื่อมองวัตถุในระยะใกล้ ซึ่งอาการล้าของสายตามักจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า2.5ชั่วโมง เป็นผลสอดคล้องกับงานวิจัยอื่นที่ระบุว่า อาการล้าทางสายตาจะเริ่มเกิดเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งนี้ การทดสอบสมรรถภาพของตาให้เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการล้าทางสายตาลงได้ด้วย ที่มา : ข่าวสดออนไลน์ ขอบคุณ... http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vinitsiri&month=13-09-2013&group=272&gblog=201 bloggang.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)