โจ๋ไทยเกินครึ่ง เคยเล่นการพนัน เสี่ยงซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย

แสดงความคิดเห็น

การ์ตูนหญิงสาวนั่งกุมเข่า อาการซึมเศร้า เครือข่ายอาจารย์สื่อสารมวลชน 9 มหาวิทยาลัย ออก 5 ข้อเรียกร้อง เสนอต่อรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาการเล่นพนันในวันเยาวชนแห่งชาติ หลังพบสถิติผีพนันเข้าสิงอนาคตของชาติเพียบ เปิดข้อมูลไพ่และไฮโลครองแชมป์การเล่นมากที่สุด ด้าน “หมอประเสริฐ” ระบุ เด็กที่ชอบเล่นการพนัน อนาคตเสี่ยงเป็นโรคจิตเวชและซึมเศร้า วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันหาทางออกเพื่อแก้ปัญหา

สืบเนื่องจาก วันที่ 20 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” ซึ่งเยาวชนถือเป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต หากแต่มีสถิติที่น่าตกใจจากการสำรวจสถาน การณ์ของเยาวชน พ.ศ.2556 โดยเครือข่ายเยาวชน 4 ภาค ของศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาการพนัน มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ พบว่า เยาวชนร้อยละ 62 เคยเล่นไพ่ ร้อยละ 39 เคยเล่นหวยใต้ดิน ร้อยละ 35 เคยเล่นสลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 26 เล่นพนันฟุตบอล ร้อยละ 12 เคยส่งเอสเอ็มเอสชิงโชค และ ร้อยละ 7 เล่นหวยออนไลน์

ทั้งนี้ ยังพบว่าเยาวชนในทุกภูมิภาคการพนันที่เล่นมากที่สุดคือไพ่และไฮโล ซึ่งเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี จะมีสถานการณ์เสี่ยงต่อการพนันมากที่สุด อีกทั้งเด็กและเยาวชนที่เริ่มเล่นพนันมักไม่ถูกลงโทษจากครอบครัวทำให้รู้สึก ว่าการเล่นพนันไม่ใช่เรื่องผิด ทำให้เยาวชนในทุกภูมิภาคยังมีระดับของความรู้ความเข้าใจต่อการพนันที่ต่ำ กว่าเกณฑ์

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ กล่าวว่า คนที่เล่นการพนันจะแบ่งออกเป็น 2 พวก กลุ่มแรกคือเล่นพนันจนเกิดปัญหา อีกกลุ่มคือเป็นโรคติดการพนัน แต่ไม่ว่าจะเล่นด้วยเหตุผลอะไรก็ล้วนแล้วแต่เสพติดการพนันด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งการเสพติดการพนันองค์การอนามัยโลกได้จัดว่าเป็นความผิดปกติของการควบคุม แรงผลักดันที่เรียกว่า Impulse control DISorder ซึ่งจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าผู้ที่ติดการพนันอาจจะทำให้เกิดโรคทางจิตเวชตาม มาเช่นโรคซึมเศร้า หรือทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย

ส่วนปัญหาของเยาวชน ที่ติดการพนันนั้น พบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ติดการพนันมาจะมีจิตใจที่ไม่อยากจะเรียนหนังสือ หมกมุ่นอยู่กับการเล่นพนัน ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ขาดคนที่มีคุณภาพทัดเทียมกับคนในประเทศอื่น และขาดกำลังความคิดของคนในวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเราจึงจำเป็นหาทางออกร่วมกันในการป้องกันปัญหาการติดพนันในเยาวชนของ เรา

ขณะที่ เครือข่ายอาจารย์สื่อสารมวลชนเพื่อขับเคลื่อนสังคมลดปัญหาจากการพนัน 9 มหา วิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยพายัพ ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันปัญหาเยาวชนจากการพนัน จึงได้ร่วมกันออกข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาจากการพนันในกลุ่มนิสิต นักศึกษา 5 ข้อ ดังนี้ 1. การที่นิสิตนักศึกษามีประสบการณ์เล่นพนันตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้มีทัศนคติในเชิงบวกต่อการเล่นพนันส่งผลให้โตขึ้นก็จะเล่นการพนันอย่าง ต่อเนื่อง ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการควรวางพื้นฐานในการส่งเสริมเรียนรู้ ป้องกันภัยการพนันตั้งแต่ประถมและมัธยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการรู้ทันสื่อที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ ภัยจากการพนัน พนันแฝงในรูปแบบการชิงโชค 2. บทบาทสื่อออนไลน์ เริ่มระบาด เว็บพนันออนไลน์กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงใหม่ ล่อใจให้เด็ก เยาวชน และนิสิตนักศึกษา เข้าสู่วงจรการพนัน ด้วยการโฆษณาจูงใจในระบบออนไลน์หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความสนใจในการเสี่ยงดวง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยการใช้จุดแข็งของออนไลน์ในระบบเรียลไทม์เป็น เครื่องชักจูงและกระตุ้นการเล่นพนันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องหามาตรการที่ชัดเจนและโปร่งใส ในการเฝ้าระวังและปราบปรามเว็บไซต์การพนันให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง 3. การสื่อสารในงานโฆษณาผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ในลักษณะของการเสี่ยงโชคเสี่ยงดวง เป็นตัวสร้างพื้นฐานของการรองรับค่านิยมจากการพนันอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ SMS ส่งเพื่อให้ชิงรางวัล การชิงโชคเปิดฝาลุ้นเงินล้าน การพนันพื้นบ้านที่อ้างว่าเป็นประเพณี เป็นเรื่องที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงหยิบยกขึ้นมาพิจารณาร่วม กำหนดนิยามว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการพนันที่ผิดกฎหมายหรือไม่อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนตลอดจนนิสิตนักศึกษาตกอยู่ภายใต้บรรยากาศ แห่งการพนันโดยไม่รู้ตัว 4. สถาบันอุดมศึกษาต้องแสดงความพยายามที่ชัดเจนในการป้องกันการแพร่กระจายการ เล่นพนันในทุกรูปแบบเข้าสู่เขตมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การห้ามจำหน่ายสลากกินแบ่งในมหาวิทยาลัย การกำหนดไม่ให้มีการเล่นการพนันในทุกรูปแบบ ทั้งไพ่ บิงโก ชิงเงิน เปิดเลขหนังสือ หวยหุ้น หวยบนดิน หวยใต้ดิน และควรร่วมตรวจสอบกับชุมชนโดยรอบในการป้องปรามร้านอาหาร สถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัย ไม่ให้เป็นแหล่งรวมกลุ่มกันเล่นพนันของนักศึกษา และ 5. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) พึงบรรจุเรื่องการต่อต้านการพนันเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์องค์ประกอบการ ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มหาวิทยาลัยใช้กำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนา คุณสมบัติบัณฑิต ที่พึงประสงค์ต้องห่างไกลจากการพนัน และร่วมส่งเสริมพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมป้องกันภัยจากการพนันอย่างชัดเจน.

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/370790

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 20/09/2556 เวลา 04:47:19 ดูภาพสไลด์โชว์  โจ๋ไทยเกินครึ่ง เคยเล่นการพนัน เสี่ยงซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การ์ตูนหญิงสาวนั่งกุมเข่า อาการซึมเศร้า เครือข่ายอาจารย์สื่อสารมวลชน 9 มหาวิทยาลัย ออก 5 ข้อเรียกร้อง เสนอต่อรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาการเล่นพนันในวันเยาวชนแห่งชาติ หลังพบสถิติผีพนันเข้าสิงอนาคตของชาติเพียบ เปิดข้อมูลไพ่และไฮโลครองแชมป์การเล่นมากที่สุด ด้าน “หมอประเสริฐ” ระบุ เด็กที่ชอบเล่นการพนัน อนาคตเสี่ยงเป็นโรคจิตเวชและซึมเศร้า วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันหาทางออกเพื่อแก้ปัญหา สืบเนื่องจาก วันที่ 20 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” ซึ่งเยาวชนถือเป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต หากแต่มีสถิติที่น่าตกใจจากการสำรวจสถาน การณ์ของเยาวชน พ.ศ.2556 โดยเครือข่ายเยาวชน 4 ภาค ของศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาการพนัน มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ พบว่า เยาวชนร้อยละ 62 เคยเล่นไพ่ ร้อยละ 39 เคยเล่นหวยใต้ดิน ร้อยละ 35 เคยเล่นสลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 26 เล่นพนันฟุตบอล ร้อยละ 12 เคยส่งเอสเอ็มเอสชิงโชค และ ร้อยละ 7 เล่นหวยออนไลน์ ทั้งนี้ ยังพบว่าเยาวชนในทุกภูมิภาคการพนันที่เล่นมากที่สุดคือไพ่และไฮโล ซึ่งเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี จะมีสถานการณ์เสี่ยงต่อการพนันมากที่สุด อีกทั้งเด็กและเยาวชนที่เริ่มเล่นพนันมักไม่ถูกลงโทษจากครอบครัวทำให้รู้สึก ว่าการเล่นพนันไม่ใช่เรื่องผิด ทำให้เยาวชนในทุกภูมิภาคยังมีระดับของความรู้ความเข้าใจต่อการพนันที่ต่ำ กว่าเกณฑ์ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ กล่าวว่า คนที่เล่นการพนันจะแบ่งออกเป็น 2 พวก กลุ่มแรกคือเล่นพนันจนเกิดปัญหา อีกกลุ่มคือเป็นโรคติดการพนัน แต่ไม่ว่าจะเล่นด้วยเหตุผลอะไรก็ล้วนแล้วแต่เสพติดการพนันด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งการเสพติดการพนันองค์การอนามัยโลกได้จัดว่าเป็นความผิดปกติของการควบคุม แรงผลักดันที่เรียกว่า Impulse control DISorder ซึ่งจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าผู้ที่ติดการพนันอาจจะทำให้เกิดโรคทางจิตเวชตาม มาเช่นโรคซึมเศร้า หรือทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย ส่วนปัญหาของเยาวชน ที่ติดการพนันนั้น พบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ติดการพนันมาจะมีจิตใจที่ไม่อยากจะเรียนหนังสือ หมกมุ่นอยู่กับการเล่นพนัน ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ขาดคนที่มีคุณภาพทัดเทียมกับคนในประเทศอื่น และขาดกำลังความคิดของคนในวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเราจึงจำเป็นหาทางออกร่วมกันในการป้องกันปัญหาการติดพนันในเยาวชนของ เรา ขณะที่ เครือข่ายอาจารย์สื่อสารมวลชนเพื่อขับเคลื่อนสังคมลดปัญหาจากการพนัน 9 มหา วิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยพายัพ ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันปัญหาเยาวชนจากการพนัน จึงได้ร่วมกันออกข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาจากการพนันในกลุ่มนิสิต นักศึกษา 5 ข้อ ดังนี้ 1. การที่นิสิตนักศึกษามีประสบการณ์เล่นพนันตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้มีทัศนคติในเชิงบวกต่อการเล่นพนันส่งผลให้โตขึ้นก็จะเล่นการพนันอย่าง ต่อเนื่อง ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการควรวางพื้นฐานในการส่งเสริมเรียนรู้ ป้องกันภัยการพนันตั้งแต่ประถมและมัธยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการรู้ทันสื่อที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ ภัยจากการพนัน พนันแฝงในรูปแบบการชิงโชค 2. บทบาทสื่อออนไลน์ เริ่มระบาด เว็บพนันออนไลน์กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงใหม่ ล่อใจให้เด็ก เยาวชน และนิสิตนักศึกษา เข้าสู่วงจรการพนัน ด้วยการโฆษณาจูงใจในระบบออนไลน์หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความสนใจในการเสี่ยงดวง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยการใช้จุดแข็งของออนไลน์ในระบบเรียลไทม์เป็น เครื่องชักจูงและกระตุ้นการเล่นพนันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องหามาตรการที่ชัดเจนและโปร่งใส ในการเฝ้าระวังและปราบปรามเว็บไซต์การพนันให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง 3. การสื่อสารในงานโฆษณาผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ในลักษณะของการเสี่ยงโชคเสี่ยงดวง เป็นตัวสร้างพื้นฐานของการรองรับค่านิยมจากการพนันอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ SMS ส่งเพื่อให้ชิงรางวัล การชิงโชคเปิดฝาลุ้นเงินล้าน การพนันพื้นบ้านที่อ้างว่าเป็นประเพณี เป็นเรื่องที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงหยิบยกขึ้นมาพิจารณาร่วม กำหนดนิยามว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการพนันที่ผิดกฎหมายหรือไม่อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนตลอดจนนิสิตนักศึกษาตกอยู่ภายใต้บรรยากาศ แห่งการพนันโดยไม่รู้ตัว 4. สถาบันอุดมศึกษาต้องแสดงความพยายามที่ชัดเจนในการป้องกันการแพร่กระจายการ เล่นพนันในทุกรูปแบบเข้าสู่เขตมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การห้ามจำหน่ายสลากกินแบ่งในมหาวิทยาลัย การกำหนดไม่ให้มีการเล่นการพนันในทุกรูปแบบ ทั้งไพ่ บิงโก ชิงเงิน เปิดเลขหนังสือ หวยหุ้น หวยบนดิน หวยใต้ดิน และควรร่วมตรวจสอบกับชุมชนโดยรอบในการป้องปรามร้านอาหาร สถานบันเทิงรอบมหาวิทยาลัย ไม่ให้เป็นแหล่งรวมกลุ่มกันเล่นพนันของนักศึกษา และ 5. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) พึงบรรจุเรื่องการต่อต้านการพนันเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์องค์ประกอบการ ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มหาวิทยาลัยใช้กำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนา คุณสมบัติบัณฑิต ที่พึงประสงค์ต้องห่างไกลจากการพนัน และร่วมส่งเสริมพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมป้องกันภัยจากการพนันอย่างชัดเจน. ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/370790 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...