ประกันสังคมหนุนตั้งเคลียริงเฮาส์ พร้อมพัฒนาไอทีเชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบ
สปส.หนุนตั้งสำนักงานเคลียริงเฮาส์ ชี้ช่วยให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน 3 กองทุนคล่องตัว เผยช่วงเกือบ 2 ปีจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยกว่า 2.2 แสนคน รวมกว่า 590 ล้านบาท เตรียมพัฒนาระบบไอทีเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตน-งบค่ารักษากับเคลียริงเฮาส์ พร้อมตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อประสานกับหน่วยงานภายนอก
วันที่ (18 ก.ย.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะจัดตั้งสำนักงานกลางจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบ ข้อมูลบริการสาธารณสุข หรือ สำนักงานเคลียริงเฮาส์แห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่บริหารค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ว่า การจัดตั้งสำนักงานเคลียริงเฮาส์เป็นสิ่งที่ดีมาก และ สปส.พร้อมสนับสนุนเต็มที่ เพราะทำให้การเบิกจ่ายด้านสุขภาพของทั้ง 3 กองทุนเป็นไปอย่างอิสระและคล่องตัว ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ที่ให้การรักษาผู้ประกันตน ประชาชน และข้าราชการที่เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ต้องกังวลกับปัญหาการเบิกจ่ายเงินค่า รักษาพยาบาล และผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล
นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สปส.นั้น ก่อนหน้านี้ได้แก้ไขระเบียบไป 2 ฉบับซึ่งเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเคลียริงเฮาส์ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินได้คล่องตัวมากขึ้น โดยในปี 2555 มีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ 170,974 คน สปส.จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล 236,695 บาท และปี 2556 ตั้งแต่ ม.ค.-ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ58,398คนสปส.จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล 230,575,330บาท
“ หลังจากนี้ สปส.จะเร่งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ประกันตนและข้อมูลงบค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกับ สำนักงานเคลียริงเฮาส์ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากปัจจุบัน ระบบไอทีที่เชื่อมโยงข้อมูลกับ สปสช.ยังไม่สมบูรณ์ และ สปส.เตรียมจะจัดตั้งหน่วยงานระดับกองขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วย งานภายนอกโดยเฉพาะ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานเคลียริงเฮาส์ ซึ่งจะใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านระบบไอทีทั้งหมด 15 คน” เลขาธิการสปส.กล่าว
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สปส.เตรียมจะเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อขอขยายเวลาการดำเนินโครงการต่างๆ ที่จะสิ้นสุดสัญญาจ้างกับบริษัทเอกชนในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ เช่น โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และไอทีในส่วนที่เป็นโครงการย่อยๆ โครงการโทรศัพท์สายด่วน 1506 เพื่อที่เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดสัญญาดำเนินโครงการ หากมีการขยายเวลาไว้ล่วงหน้าก็จะสามารถเดินหน้าโครงการต่างๆ ต่อไปได้ทันทีโดยไม่มีปัญหาเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับโครงการพัฒนาระบบไอทีหลัก ของ สปส.
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000117824 (ขนาดไฟล์: 164)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สปส.หนุนตั้งสำนักงานเคลียริงเฮาส์ ชี้ช่วยให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน 3 กองทุนคล่องตัว เผยช่วงเกือบ 2 ปีจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยกว่า 2.2 แสนคน รวมกว่า 590 ล้านบาท เตรียมพัฒนาระบบไอทีเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตน-งบค่ารักษากับเคลียริงเฮาส์ พร้อมตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อประสานกับหน่วยงานภายนอก วันที่ (18 ก.ย.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะจัดตั้งสำนักงานกลางจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบ ข้อมูลบริการสาธารณสุข หรือ สำนักงานเคลียริงเฮาส์แห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่บริหารค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ว่า การจัดตั้งสำนักงานเคลียริงเฮาส์เป็นสิ่งที่ดีมาก และ สปส.พร้อมสนับสนุนเต็มที่ เพราะทำให้การเบิกจ่ายด้านสุขภาพของทั้ง 3 กองทุนเป็นไปอย่างอิสระและคล่องตัว ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ที่ให้การรักษาผู้ประกันตน ประชาชน และข้าราชการที่เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ต้องกังวลกับปัญหาการเบิกจ่ายเงินค่า รักษาพยาบาล และผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล นายจีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สปส.นั้น ก่อนหน้านี้ได้แก้ไขระเบียบไป 2 ฉบับซึ่งเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเคลียริงเฮาส์ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินได้คล่องตัวมากขึ้น โดยในปี 2555 มีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ 170,974 คน สปส.จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล 236,695 บาท และปี 2556 ตั้งแต่ ม.ค.-ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่างๆ58,398คนสปส.จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล 230,575,330บาท “ หลังจากนี้ สปส.จะเร่งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ประกันตนและข้อมูลงบค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกับ สำนักงานเคลียริงเฮาส์ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากปัจจุบัน ระบบไอทีที่เชื่อมโยงข้อมูลกับ สปสช.ยังไม่สมบูรณ์ และ สปส.เตรียมจะจัดตั้งหน่วยงานระดับกองขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วย งานภายนอกโดยเฉพาะ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานเคลียริงเฮาส์ ซึ่งจะใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านระบบไอทีทั้งหมด 15 คน” เลขาธิการสปส.กล่าว นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สปส.เตรียมจะเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อขอขยายเวลาการดำเนินโครงการต่างๆ ที่จะสิ้นสุดสัญญาจ้างกับบริษัทเอกชนในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ เช่น โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และไอทีในส่วนที่เป็นโครงการย่อยๆ โครงการโทรศัพท์สายด่วน 1506 เพื่อที่เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดสัญญาดำเนินโครงการ หากมีการขยายเวลาไว้ล่วงหน้าก็จะสามารถเดินหน้าโครงการต่างๆ ต่อไปได้ทันทีโดยไม่มีปัญหาเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับโครงการพัฒนาระบบไอทีหลัก ของ สปส. ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000117824 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)