โรคสะกดคำไม่ถูกบวกลบเลขไม่เป็น
จอห์น เลนนอน ป่วย ... ไอสไตน์ ก็ป่วย ... ปิกัสโซ ก็ยังป่วย ... นี่ยังไม่นับ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ลีโอนาร์โด ดาวินซี โทมัส อันวา เอดิสัน และอัจฉริยะอื่นๆ อีกหลากหลาย….เขาเหล่านี้ป่วยเป็นโรคเดียวกัน โรคที่ว่าด้วยปัญหาเกี่ยวกับ “การอ่าน” และ “การสะกดคำ” ใครจะเชื่อ ... มันสมองระดับบุคคลชั้นนำของโลก กลับไม่สามารถที่จะอ่าน สะกดคำ ผสมคำ เรียงร้อยประโยค ได้อย่างสมบูรณ์ เฉกเช่นคนปกติ โรคนี้มีชื่อว่า ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) จัดเป็นความผิดปกติเฉพาะด้านการเรียนรู้ (Learning Disorder) มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย
ผลพวงจากโรคข้างต้นนับเป็นอุปสรรคต่อการเรียน โดยเฉพาะในเด็ก หากผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ เด็กที่ป่วยกลุ่มนี้อาจถูกลงโทษเพราะเรียนไม่ทันเพื่อน ไม่ทำการบ้าน นำไปสู่ปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น เด็กจะถูกมองว่าไม่มีความรับผิดชอบ เป็นเด็กไม่ดี ที่สุดแล้วก็จะมีพฤติกรรมเกเร หนีเรียน และกระเทือนถึงอนาคต
ดิสเล็กเซีย หรือที่เรียกกันว่า “โรคแอลดี” มีสถิติพบการเป็นโรคประมาณ 5% ของเด็กไทย เพศชายมากกว่าเพศหญิง 34 เท่า แบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1.ความบกพร่องทางทักษะการอ่าน (Reading Disorder) คือการที่เด็กอ่านได้น้อยกว่าปกติ และมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร จับใจความไม่ได้ ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอ่านอะไร 2.ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Spelling หรือ Written Expression Disorder) คือการที่เด็กไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง และ 3.ความบกพร่องทางทักษะการคำนวณ (Mathematics หรือ Calculation Disorder) คือเด็กกลุ่มนี้จะขาดทักษะด้านการคำนวณ ไม่เข้าใจกระบวนการของการบวกเลข ลบเลข
สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย ด้านหน้า เรียกว่า Parietal Lobe ซึ่งเป็นความบกพร่องของการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของการตีความ เรื่องของความจำระยะสั้น นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ข้อมูลระบุว่าเกี่ยวกับพันธุกรรมถึง 3050%
การวินิจฉัยโรคแอลดี อาศัยแบบทดสอบมาตรฐานในด้านการอ่าน การคำนวณ หรือการเขียน สำหรับเด็กไทย โดยใช้เกณฑ์วินิจฉัยคือผู้ป่วยมีความสามารถต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แต่แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับเด็กไทยนี้ยังไม่ได้ใช้แพร่หลาย ในทางปฏิบัตินิยมวินิจฉัยโดยผู้ป่วยมีความสามารถด้านการอ่าน การคำนวณ หรือการเขียนต่ำกว่าปกติอย่างน้อย 2 ชั้นปีการศึกษา
นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วย ได้แก่ 1.การให้ความรู้แก่พ่อแม่และครูเกี่ยวกับลักษณะอาการและสาเหตุของโรค โดยย้ำว่าไม่ได้เกิดจากระดับสติปัญญาหรือปัญหาความรับผิดชอบ และผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ได้โดยการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล (IEP) ให้เหมาะสมกับความสามารถ เช่น การเรียนการสอนที่อาศัยการฟังมากกว่าการอ่านสำหรับผู้ป่วย Reading Disorder และการใช้เครื่องคิดเลขสำหรับผู้ป่วย Mathematic Disorder เป็นต้น ควรส่งเสริมการพัฒนา Selfesteem ด้วยการสนับสนุนความสามารถในด้านที่ผู้ป่วยถนัดหรือกิจกรรมรูปแบบอื่นๆ 2.ออกหนังสือรับรองความพิการแอลดี เป็นความพิการอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและการช่วย เหลือตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และ 3.การวินิจฉัยและรักษาปัญหาหรือโรคทางจิตเวชที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ ADHD, Conduct Disorder, Depressive Disorder, และ Anxiety Disorder โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กหญิงวัยประถมศึกษานั่งกุมขมับ จอห์น เลนนอน ป่วย ... ไอสไตน์ ก็ป่วย ... ปิกัสโซ ก็ยังป่วย ... นี่ยังไม่นับ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ลีโอนาร์โด ดาวินซี โทมัส อันวา เอดิสัน และอัจฉริยะอื่นๆ อีกหลากหลาย….เขาเหล่านี้ป่วยเป็นโรคเดียวกัน โรคที่ว่าด้วยปัญหาเกี่ยวกับ “การอ่าน” และ “การสะกดคำ” ใครจะเชื่อ ... มันสมองระดับบุคคลชั้นนำของโลก กลับไม่สามารถที่จะอ่าน สะกดคำ ผสมคำ เรียงร้อยประโยค ได้อย่างสมบูรณ์ เฉกเช่นคนปกติ โรคนี้มีชื่อว่า ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) จัดเป็นความผิดปกติเฉพาะด้านการเรียนรู้ (Learning Disorder) มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย ผลพวงจากโรคข้างต้นนับเป็นอุปสรรคต่อการเรียน โดยเฉพาะในเด็ก หากผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ เด็กที่ป่วยกลุ่มนี้อาจถูกลงโทษเพราะเรียนไม่ทันเพื่อน ไม่ทำการบ้าน นำไปสู่ปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น เด็กจะถูกมองว่าไม่มีความรับผิดชอบ เป็นเด็กไม่ดี ที่สุดแล้วก็จะมีพฤติกรรมเกเร หนีเรียน และกระเทือนถึงอนาคต ดิสเล็กเซีย หรือที่เรียกกันว่า “โรคแอลดี” มีสถิติพบการเป็นโรคประมาณ 5% ของเด็กไทย เพศชายมากกว่าเพศหญิง 34 เท่า แบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1.ความบกพร่องทางทักษะการอ่าน (Reading Disorder) คือการที่เด็กอ่านได้น้อยกว่าปกติ และมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร จับใจความไม่ได้ ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอ่านอะไร 2.ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Spelling หรือ Written Expression Disorder) คือการที่เด็กไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง และ 3.ความบกพร่องทางทักษะการคำนวณ (Mathematics หรือ Calculation Disorder) คือเด็กกลุ่มนี้จะขาดทักษะด้านการคำนวณ ไม่เข้าใจกระบวนการของการบวกเลข ลบเลข สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย ด้านหน้า เรียกว่า Parietal Lobe ซึ่งเป็นความบกพร่องของการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของการตีความ เรื่องของความจำระยะสั้น นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ข้อมูลระบุว่าเกี่ยวกับพันธุกรรมถึง 3050% การวินิจฉัยโรคแอลดี อาศัยแบบทดสอบมาตรฐานในด้านการอ่าน การคำนวณ หรือการเขียน สำหรับเด็กไทย โดยใช้เกณฑ์วินิจฉัยคือผู้ป่วยมีความสามารถต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แต่แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับเด็กไทยนี้ยังไม่ได้ใช้แพร่หลาย ในทางปฏิบัตินิยมวินิจฉัยโดยผู้ป่วยมีความสามารถด้านการอ่าน การคำนวณ หรือการเขียนต่ำกว่าปกติอย่างน้อย 2 ชั้นปีการศึกษา นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วย ได้แก่ 1.การให้ความรู้แก่พ่อแม่และครูเกี่ยวกับลักษณะอาการและสาเหตุของโรค โดยย้ำว่าไม่ได้เกิดจากระดับสติปัญญาหรือปัญหาความรับผิดชอบ และผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ได้โดยการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล (IEP) ให้เหมาะสมกับความสามารถ เช่น การเรียนการสอนที่อาศัยการฟังมากกว่าการอ่านสำหรับผู้ป่วย Reading Disorder และการใช้เครื่องคิดเลขสำหรับผู้ป่วย Mathematic Disorder เป็นต้น ควรส่งเสริมการพัฒนา Selfesteem ด้วยการสนับสนุนความสามารถในด้านที่ผู้ป่วยถนัดหรือกิจกรรมรูปแบบอื่นๆ 2.ออกหนังสือรับรองความพิการแอลดี เป็นความพิการอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและการช่วย เหลือตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และ 3.การวินิจฉัยและรักษาปัญหาหรือโรคทางจิตเวชที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ ADHD, Conduct Disorder, Depressive Disorder, และ Anxiety Disorder โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/สุขภาพ-ความงาม/249770/โรคสะกดคำไม่ถูกบวกลบเลขไม่เป็น โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)