ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
“โรคอัลไซเมอร์” เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆกัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวรส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ
ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหา หรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติการณ์ และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน ในระยะสุดท้ายของโรคสูญเสียความจำทั้งหมด และค่อยๆ แย่ลงจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อน
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น
จากการศึกษาในประชากรผู้สูงอายุไทยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์ ร้อยละ 1-2 ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี และพบความชุกเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในทุกๆช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น 5 ปี สำหรับผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป โดยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์สูงที่สุดในกลุ่มอายุ 70-80 ปี ร้อยละ 12 ทั้งนี้ มีการประมาณการว่าน่าจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย 665,286 คน
ยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล และผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะของผู้ป่วย เนื่องจากต้องช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะกินอาหาร ขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย อาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมถึงดูแลเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน ช่วยให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ สังเกตการเปลี่ยนแปลง และพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัด
สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ คือ อุบัติเหตุ ดังนั้น ผู้ดูแลควรระมัดระวังและดูแลสถานที่ บ้านพักอาศัยให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ควรให้กำลังใจ ดูแลอาหารให้พอเพียงและถูกหลักโภชนาการให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม และควรหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อม ที่สำคัญ ผู้ดูแลควรดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย : ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์
ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“โรคอัลไซเมอร์” เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆกัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวรส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหา หรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ พฤติการณ์ และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน ในระยะสุดท้ายของโรคสูญเสียความจำทั้งหมด และค่อยๆ แย่ลงจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น จากการศึกษาในประชากรผู้สูงอายุไทยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์ ร้อยละ 1-2 ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี และพบความชุกเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในทุกๆช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น 5 ปี สำหรับผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป โดยพบความชุกของโรคอัลไซเมอร์สูงที่สุดในกลุ่มอายุ 70-80 ปี ร้อยละ 12 ทั้งนี้ มีการประมาณการว่าน่าจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย 665,286 คน ยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล และผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะของผู้ป่วย เนื่องจากต้องช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะกินอาหาร ขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย อาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมถึงดูแลเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน ช่วยให้กินยาอย่างสม่ำเสมอ สังเกตการเปลี่ยนแปลง และพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัด สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ คือ อุบัติเหตุ ดังนั้น ผู้ดูแลควรระมัดระวังและดูแลสถานที่ บ้านพักอาศัยให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ควรให้กำลังใจ ดูแลอาหารให้พอเพียงและถูกหลักโภชนาการให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม และควรหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อม ที่สำคัญ ผู้ดูแลควรดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย : ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)