แพทย์ชนบทค้านรื้องบสปสช.
แพทย์ชนบทบุกยื่นหนังสือ “หมอประดิษฐ” ค้านการรื้องบจัดสรร รพ.ของ สปสช.ระบุการเกลี่ยงบฯ จากอีสานให้พื้นที่ชลบุรี ถือว่าไม่เป็นธรรมกับหน่วยที่ถูกดึงงบไป ขณะที่ “หมอประดิษฐ” อ้างเป็นเรื่อง สปสช.ทำเองสธ.ไม่เกี่ยว
ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และชาวโรงพยาบาลชุมชน นำโดย นพ.วชิระ บทพิบูลย์บท จากชมรม ผอ.รพ.ชุมชน และชาว รพ.ชุมชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอคัดค้านการรื้อแนวทางการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบ 2557 โดย นพ.วชิระกล่าวว่า จากการที่ สธ.ได้ส่งสัญญาณอย่างโจ่งแจ้งว่าจะรื้อการจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบ 2557 โดยผ่านการพิจารณาของบอร์ด สปสช.แล้ว นับว่าเป็นความพยายามรวบอำนาจการจัดสรรงบของ สปสช.มาอยู่ที่ สธ. การปรับเปลี่ยนงบ ได้แก่ 1.งบผู้ป่วยนอกจากที่โอนตรง รพ.100% สธ.จะโอนตรงเพียง 80% อีก 20% ต้องให้ สธ.จัดสรรเองตามผลงาน 2.งบผู้ป่วยในที่เคยจัดสรรตามกลุ่มโรคจะเปลี่ยนมาใช้ Unit Price ทั้งๆ ที่ไม่มีเคยมีการศึกษาหรือทดลองใช้ว่าดีกว่า และวิธีคำนวณก็ยังมั่วมาก 3.งบส่งเสริมป้องกันโรค สธ.หวังจะยึดมาทำเอง หรือไปก็ทำให้ป่วนด้วยการส่งงบตรงไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทำให้เอกภาพและเกลี่ยงบช่วยกันระดับอำเภอล้มเหลว อีกทั้งมีแนวคิดที่จะยกเลิกงบที่สมทบกองทุนตำบล เพื่อนำกลับมาให้ สธ.ทำเรื่องสร้างสุขภาพเองด้วย 4.งบลงทุนค่าเสื่อม จากเกณฑ์ใหม่ที่แบ่งลงอำเภอ : ส่วนกลาง เท่ากับ 80:20 สธ.จะรวบมาจัดการระดับจังหวัด เขต และ 5.งบกองทุนย่อยต่างๆ จะให้ยกเลิกหรือยุบกองทุนลงไปอีก โดยให้เหตุผลที่รับไม่ได้ว่าทั้งกองทุนเอดส์ผ่าตัดต้อกระจกล้างไตหรือจิตเวชไม่ได้ทำให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น
นพ.วชิระกล่าวว่า การผลักดันการรื้อมติ สปสช.โดยขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ต้องเริ่มด้วยการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย และจัดทำเป็นร่างข้อเสนอที่มีเอกสารการศึกษาทางวิชาการ หลังจากนั้นก็ต้องนำเข้าเสนอผ่านคณะอนุกรรมการการเงินการคลัง หรืออนุกรรมการชุดต่างๆ ของ สปสช. หากคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบจึงนำเข้าวาระปกติ ไม่ควรเสนอมาอย่างรีบเร่ง เข้าวาระโดยที่ไม่มีผลการศึกษาล่วงหน้า และไม่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด สปสช.ได้มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการกระจายงบปี2557ไปแล้ว
ตัวแทนชมรมแพทย์ชนบทกล่าวอีกว่า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการจัดสรรงบประมาณที่ผ่านมา 10 ปีนั้น ได้ถูกวางรากฐานไว้อย่างดี เน้นหลักการเอาเงินไปให้ใกล้ชาวบ้านให้มากที่สุด แต่การรื้อการจัดสรรครั้งนี้เป็นไปเพื่อการดึงอำนาจการจัดสรรเงินกลับไปสู่ ส่วนกลาง ทั้งนี้ การที่กระทรวงมั่วนิ่มคิดเกณฑ์ที่ไม่มีใครรู้จักมาใช้ในการจัดสรรเกลี่ยงบ ประมาณในระดับเขต คือปกติงบค่าหัวที่ สปสช.จ่ายให้กับโรงพยาบาลโดยตรงจะถูกหัก 60% เป็นค่าตอบแทนบุคลากร ซึ่งส่วนนี้จะต้องถูกนำส่งเข้าคลัง เนื่องจากทางกระทรวงการคลังได้จ่ายค่าจ้างให้กับบุคลากรอยู่แล้ว แต่แทนที่จะคิดตามจำนวนข้าราชการของแต่ละพื้นที่ พื้นที่ไหนมีข้าราชการน้อยก็จ่ายน้อย พื้นที่ไหนมีข้าราชการมากก็จ่ายมาก สธ.กลับให้หลักการคิดเฉลี่ยเพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินงานต่อไปได้ (Minimum operating cause : MOC) ทำให้มีการเกลี่ยงบจากเขต 9, 10, 11, 12 หรือพื้นที่แถบภาคอีสานไปให้บางพื้นที่ โดยเฉพาะเขต 4 ชลบุรี กว่า 5,000 ล้านบาท ถือว่าไม่ยุติธรรมกับหน่วยบริการในพื้นที่ที่ถูกเกลี่ยงบไป การจัดสรรงบเช่นนี้ด้วยเกณฑ์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นวิชาการ" นพ.วชิระกล่าว
"ไม่คิดว่าเป็นเรื่องการเมืองหรือมีนัยยะอะไรแอบแฝง แต่คิดว่าเป็นเรื่องของการแสดงพลัง แสดงให้เห็นความสามารถมากกว่า แต่การจะทำอย่างนี้ หลักเกณฑ์นั้นจะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ ผ่านการศึกษาทางวิชาการว่ามีประสิทธิภาพก่อน"นพ.วชิระกล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐกล่าวภายหลังการรับมอบยื่นหนังสือว่า ไม่มีการรื้องบประมาณแต่อย่างใด เรื่องการจัดสรรงบเป็นเรื่องของทางคณะกรรมการ สปสช. โดยเฉพาะอนุกรรมการด้านการเงินการคลังพิจารณาขณะเดียวกัน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า เรื่องการรื้องบนี้ไม่ทราบ โดยเฉพาะกรณีที่มีข่าวว่าจะมีการโยกงบจากภาคอีสาน 5,000 ล้านบาท เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการโยกงบจากเขตไหนไปเขตไหน แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมามีข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณที่อยากทำให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น และที่ผ่านมาเป็นการประชุมภายใน สธ. ว่าจะบริหารงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร เป็นการประชุมเมื่อวันที่ 3-4 ต.ค.ที่ผ่านมา และจะมีการพูดคุยในทุกระดับในเร็ววันนี้ว่าเราคิดอย่างไร
ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/news/081013/80371 (ขนาดไฟล์: 167)
(ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ต.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แพทย์ชนบทบุกยื่นหนังสือ “หมอประดิษฐ” ค้านการรื้องบจัดสรร รพ.ของ สปสช.ระบุการเกลี่ยงบฯ จากอีสานให้พื้นที่ชลบุรี ถือว่าไม่เป็นธรรมกับหน่วยที่ถูกดึงงบไป ขณะที่ “หมอประดิษฐ” อ้างเป็นเรื่อง สปสช.ทำเองสธ.ไม่เกี่ยว ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และชาวโรงพยาบาลชุมชน นำโดย นพ.วชิระ บทพิบูลย์บท จากชมรม ผอ.รพ.ชุมชน และชาว รพ.ชุมชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อขอคัดค้านการรื้อแนวทางการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบ 2557 โดย นพ.วชิระกล่าวว่า จากการที่ สธ.ได้ส่งสัญญาณอย่างโจ่งแจ้งว่าจะรื้อการจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบ 2557 โดยผ่านการพิจารณาของบอร์ด สปสช.แล้ว นับว่าเป็นความพยายามรวบอำนาจการจัดสรรงบของ สปสช.มาอยู่ที่ สธ. การปรับเปลี่ยนงบ ได้แก่ 1.งบผู้ป่วยนอกจากที่โอนตรง รพ.100% สธ.จะโอนตรงเพียง 80% อีก 20% ต้องให้ สธ.จัดสรรเองตามผลงาน 2.งบผู้ป่วยในที่เคยจัดสรรตามกลุ่มโรคจะเปลี่ยนมาใช้ Unit Price ทั้งๆ ที่ไม่มีเคยมีการศึกษาหรือทดลองใช้ว่าดีกว่า และวิธีคำนวณก็ยังมั่วมาก 3.งบส่งเสริมป้องกันโรค สธ.หวังจะยึดมาทำเอง หรือไปก็ทำให้ป่วนด้วยการส่งงบตรงไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทำให้เอกภาพและเกลี่ยงบช่วยกันระดับอำเภอล้มเหลว อีกทั้งมีแนวคิดที่จะยกเลิกงบที่สมทบกองทุนตำบล เพื่อนำกลับมาให้ สธ.ทำเรื่องสร้างสุขภาพเองด้วย 4.งบลงทุนค่าเสื่อม จากเกณฑ์ใหม่ที่แบ่งลงอำเภอ : ส่วนกลาง เท่ากับ 80:20 สธ.จะรวบมาจัดการระดับจังหวัด เขต และ 5.งบกองทุนย่อยต่างๆ จะให้ยกเลิกหรือยุบกองทุนลงไปอีก โดยให้เหตุผลที่รับไม่ได้ว่าทั้งกองทุนเอดส์ผ่าตัดต้อกระจกล้างไตหรือจิตเวชไม่ได้ทำให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น นพ.วชิระกล่าวว่า การผลักดันการรื้อมติ สปสช.โดยขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ต้องเริ่มด้วยการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย และจัดทำเป็นร่างข้อเสนอที่มีเอกสารการศึกษาทางวิชาการ หลังจากนั้นก็ต้องนำเข้าเสนอผ่านคณะอนุกรรมการการเงินการคลัง หรืออนุกรรมการชุดต่างๆ ของ สปสช. หากคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบจึงนำเข้าวาระปกติ ไม่ควรเสนอมาอย่างรีบเร่ง เข้าวาระโดยที่ไม่มีผลการศึกษาล่วงหน้า และไม่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด สปสช.ได้มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการกระจายงบปี2557ไปแล้ว ตัวแทนชมรมแพทย์ชนบทกล่าวอีกว่า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการจัดสรรงบประมาณที่ผ่านมา 10 ปีนั้น ได้ถูกวางรากฐานไว้อย่างดี เน้นหลักการเอาเงินไปให้ใกล้ชาวบ้านให้มากที่สุด แต่การรื้อการจัดสรรครั้งนี้เป็นไปเพื่อการดึงอำนาจการจัดสรรเงินกลับไปสู่ ส่วนกลาง ทั้งนี้ การที่กระทรวงมั่วนิ่มคิดเกณฑ์ที่ไม่มีใครรู้จักมาใช้ในการจัดสรรเกลี่ยงบ ประมาณในระดับเขต คือปกติงบค่าหัวที่ สปสช.จ่ายให้กับโรงพยาบาลโดยตรงจะถูกหัก 60% เป็นค่าตอบแทนบุคลากร ซึ่งส่วนนี้จะต้องถูกนำส่งเข้าคลัง เนื่องจากทางกระทรวงการคลังได้จ่ายค่าจ้างให้กับบุคลากรอยู่แล้ว แต่แทนที่จะคิดตามจำนวนข้าราชการของแต่ละพื้นที่ พื้นที่ไหนมีข้าราชการน้อยก็จ่ายน้อย พื้นที่ไหนมีข้าราชการมากก็จ่ายมาก สธ.กลับให้หลักการคิดเฉลี่ยเพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินงานต่อไปได้ (Minimum operating cause : MOC) ทำให้มีการเกลี่ยงบจากเขต 9, 10, 11, 12 หรือพื้นที่แถบภาคอีสานไปให้บางพื้นที่ โดยเฉพาะเขต 4 ชลบุรี กว่า 5,000 ล้านบาท ถือว่าไม่ยุติธรรมกับหน่วยบริการในพื้นที่ที่ถูกเกลี่ยงบไป การจัดสรรงบเช่นนี้ด้วยเกณฑ์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นวิชาการ" นพ.วชิระกล่าว "ไม่คิดว่าเป็นเรื่องการเมืองหรือมีนัยยะอะไรแอบแฝง แต่คิดว่าเป็นเรื่องของการแสดงพลัง แสดงให้เห็นความสามารถมากกว่า แต่การจะทำอย่างนี้ หลักเกณฑ์นั้นจะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ ผ่านการศึกษาทางวิชาการว่ามีประสิทธิภาพก่อน"นพ.วชิระกล่าว ด้าน นพ.ประดิษฐกล่าวภายหลังการรับมอบยื่นหนังสือว่า ไม่มีการรื้องบประมาณแต่อย่างใด เรื่องการจัดสรรงบเป็นเรื่องของทางคณะกรรมการ สปสช. โดยเฉพาะอนุกรรมการด้านการเงินการคลังพิจารณาขณะเดียวกัน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า เรื่องการรื้องบนี้ไม่ทราบ โดยเฉพาะกรณีที่มีข่าวว่าจะมีการโยกงบจากภาคอีสาน 5,000 ล้านบาท เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการโยกงบจากเขตไหนไปเขตไหน แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมามีข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณที่อยากทำให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น และที่ผ่านมาเป็นการประชุมภายใน สธ. ว่าจะบริหารงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร เป็นการประชุมเมื่อวันที่ 3-4 ต.ค.ที่ผ่านมา และจะมีการพูดคุยในทุกระดับในเร็ววันนี้ว่าเราคิดอย่างไร ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/news/081013/80371 (ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ต.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)