คาดอีก 7 ปีคนไทยป่วย สมองเสื่อม 4.5 แสนคน
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) สำหรับปีนี้ได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ "Mental health and older adults" ซึ่งพบว่าทั่วโลกประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1,963 ล้านคน หรือร้อยละ 22 ในอีก 37 ปีข้างหน้า หรือปี 2593 ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบันมีสูงถึง 9,517,000 คน หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี 2593 คาดการณ์ว่าผู้สูงอายุจะล้นเมือง ถึงร้อยละ 27 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น เรื่องของสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดีจึงมีความสำคัญยิ่งกับผู้สูงอายุ
"ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาทางระบบประสาท โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการความจำเสื่อม มีความถดถอยของพฤติกรรมและบุคลิกภาพ เกิดอาการสับสนและอาการผิดปกติด้านการพูดและความเข้าใจ อาการเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทบกระเทือนกับการใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมของผู้ป่วย มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมประมาณ 35.6 ล้านคน ทุก 20 ปี จะมีปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรวมกว่า 115.4 ล้านคน" นพ.เจษฎากล่าว และว่า อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ร้อยละ 60-80 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด สำหรับในประเทศไทยมีรายงานอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา ขึ้นกับกลุ่มประชากรและพื้นที่ที่สำรวจ ในปี 2005 สธ.คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมี 229,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น 450,000 คน และ 1,200,000 คน ในปี 2020 และปี 2050 ในจำนวนนี้ เป็นโรคอัลไซเมอร์ร้อยละ 40-70 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381380707
มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิง ชาย วัยชราเดินจูงมือกัน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) สำหรับปีนี้ได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ "Mental health and older adults" ซึ่งพบว่าทั่วโลกประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1,963 ล้านคน หรือร้อยละ 22 ในอีก 37 ปีข้างหน้า หรือปี 2593 ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบันมีสูงถึง 9,517,000 คน หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี 2593 คาดการณ์ว่าผู้สูงอายุจะล้นเมือง ถึงร้อยละ 27 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น เรื่องของสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดีจึงมีความสำคัญยิ่งกับผู้สูงอายุ "ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาทางระบบประสาท โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม ทั้งนี้ ภาวะสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหรือความผิดปกติบางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการความจำเสื่อม มีความถดถอยของพฤติกรรมและบุคลิกภาพ เกิดอาการสับสนและอาการผิดปกติด้านการพูดและความเข้าใจ อาการเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทบกระเทือนกับการใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมของผู้ป่วย มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมประมาณ 35.6 ล้านคน ทุก 20 ปี จะมีปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมรวมกว่า 115.4 ล้านคน" นพ.เจษฎากล่าว และว่า อัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ร้อยละ 60-80 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด สำหรับในประเทศไทยมีรายงานอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษา ขึ้นกับกลุ่มประชากรและพื้นที่ที่สำรวจ ในปี 2005 สธ.คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมี 229,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น 450,000 คน และ 1,200,000 คน ในปี 2020 และปี 2050 ในจำนวนนี้ เป็นโรคอัลไซเมอร์ร้อยละ 40-70 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381380707 มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)