เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง - X-RAY สุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

ผู้สูงอายุ ชาย-หญิง

แม้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน จะออกจากโรงพยาบาลรามาธิบดีไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ภายหลังเข้ารับการรักษา “ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง” ตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 4 ต.ค. แต่สิ่งที่หลายคนยังให้ความสนใจอยากรู้ คือ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง แล้วมีวิธีการรักษาอย่างไร ไปฟังคำตอบจาก นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

นพ.เมธี อธิบายว่า เยื่อหุ้มสมองมี 3 ชั้น คือ ชั้นนอกสุด ชั้นกลาง และชั้นในสุด ที่เจอปัญหา คือ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุด และชั้นกลาง โดยเฉพาะชั้นกลางถือเป็นเรื่องใหญ่ มักเกิดจากเส้นเลือดแดงใหญ่ฉีกถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนกรณีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุดเมื่อทำการผ่าตัดระบายเลือดออกก็จบ

ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุด เกิดจากเส้นเลือดดำฉีก เลือดจะออกแบบค่อยเป็นค่อยไป มักกินเวลานานโดยจะเริ่มจากปริมาณเลือดน้อย ๆ และขยายตัวขึ้นในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ พบได้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง คือ สมองฝ่อตัว จะมีช่องว่างอยู่ในสมอง ทำให้เส้นเลือดฉีกได้ง่าย เวลามีการกระแทกล้ม พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยชราตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีการเสื่อมของสมอง หรือหากพบในกลุ่มที่มีอายุน้อยหรืออายุมากแต่ไม่ถึงกับวัยชรา ก็มักเป็นกลุ่มที่มีประวัติดื่มเหล้าต่อเนื่อง เป็น “แอลกอฮอล์ลิซึ่ม” มีประวัติได้รับยากันการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ในรายที่เกิดจากการฝ่อของสมองอาจได้รับประวัติอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆก่อนมีอาการประมาณ2-4สัปดาห์

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ถ้าพูดในทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยง คือ คนแก่ คนที่มีภาวะเลือดออกง่าย ดื่มสุราต่อเนื่อง ซึ่งกรณีที่เกิดจากพิษสุราจะมีอุบัติการณ์สูง นอกเหนือจากนี้ไม่ค่อยเจอ เช่น คนอายุน้อย ๆ ยกเว้นเป็นโรคตับอาจเจอได้เพราะโรคตับส่วนใหญ่ก็สัมพันธ์กับเหล้า

คนไข้ที่มีอาการแล้วมาโรงพยาบาลแสดงว่าเป็นมานานแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ คือ เลือดออกวันแรก ๆ ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าทิ้งไว้สัก 1-2 สัปดาห์จะเริ่มมีอาการ

อาการที่เด่นชัด คือ ปวดหัวเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ รู้สึกมึน ๆ ตื้อ ๆ สมองไม่โปร่ง คิดอ่านช้าลง การตัดสินใจผิดปกติไม่สมเหตุสมผล ตอบสนองช้าลง แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ล้มง่าย หรือพูดไม่ชัด ความจำไม่ปกติ ลืมง่าย

ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก คนที่เป็นส่วนใหญ่จะฟื้นตัวเร็วกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่ในคนที่ดื่มสุรา ปัญหา คือ ต้องเลิกเหล้า ถ้าไม่เลิกมักจะเป็นกลับมาอีกเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อรักษาคนไข้แล้วแพทย์มักจะแนะนำให้หยุดเหล้า

การรักษาภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาเลือดที่คั่งในสมองออก โดยการเจาะรูระบายเลือดออก หรือบางแห่งอาจโกนศีรษะผ่าตัดเอาเลือดออกซึ่งแล้วแต่เทคนิคของแพทย์แต่ละคนทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจในการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์

ท้ายนี้ นพ.เมธี ยังได้ฝากท่านผู้อ่านที่สนใจ อยากรู้โรคทางสมอง ไขสันหลัง ระบบประสาท กระดูกสันหลังการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เจ็บน้อย สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.drmethee.com : นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/239792 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 15/10/2556 เวลา 03:00:28 ดูภาพสไลด์โชว์ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง - X-RAY สุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้สูงอายุ ชาย-หญิง แม้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน จะออกจากโรงพยาบาลรามาธิบดีไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ภายหลังเข้ารับการรักษา “ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง” ตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 4 ต.ค. แต่สิ่งที่หลายคนยังให้ความสนใจอยากรู้ คือ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง แล้วมีวิธีการรักษาอย่างไร ไปฟังคำตอบจาก นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข นพ.เมธี อธิบายว่า เยื่อหุ้มสมองมี 3 ชั้น คือ ชั้นนอกสุด ชั้นกลาง และชั้นในสุด ที่เจอปัญหา คือ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุด และชั้นกลาง โดยเฉพาะชั้นกลางถือเป็นเรื่องใหญ่ มักเกิดจากเส้นเลือดแดงใหญ่ฉีกถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนกรณีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุดเมื่อทำการผ่าตัดระบายเลือดออกก็จบ ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุด เกิดจากเส้นเลือดดำฉีก เลือดจะออกแบบค่อยเป็นค่อยไป มักกินเวลานานโดยจะเริ่มจากปริมาณเลือดน้อย ๆ และขยายตัวขึ้นในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ พบได้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง คือ สมองฝ่อตัว จะมีช่องว่างอยู่ในสมอง ทำให้เส้นเลือดฉีกได้ง่าย เวลามีการกระแทกล้ม พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยชราตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีการเสื่อมของสมอง หรือหากพบในกลุ่มที่มีอายุน้อยหรืออายุมากแต่ไม่ถึงกับวัยชรา ก็มักเป็นกลุ่มที่มีประวัติดื่มเหล้าต่อเนื่อง เป็น “แอลกอฮอล์ลิซึ่ม” มีประวัติได้รับยากันการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ในรายที่เกิดจากการฝ่อของสมองอาจได้รับประวัติอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆก่อนมีอาการประมาณ2-4สัปดาห์ นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ถ้าพูดในทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยง คือ คนแก่ คนที่มีภาวะเลือดออกง่าย ดื่มสุราต่อเนื่อง ซึ่งกรณีที่เกิดจากพิษสุราจะมีอุบัติการณ์สูง นอกเหนือจากนี้ไม่ค่อยเจอ เช่น คนอายุน้อย ๆ ยกเว้นเป็นโรคตับอาจเจอได้เพราะโรคตับส่วนใหญ่ก็สัมพันธ์กับเหล้า คนไข้ที่มีอาการแล้วมาโรงพยาบาลแสดงว่าเป็นมานานแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ คือ เลือดออกวันแรก ๆ ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าทิ้งไว้สัก 1-2 สัปดาห์จะเริ่มมีอาการ อาการที่เด่นชัด คือ ปวดหัวเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ รู้สึกมึน ๆ ตื้อ ๆ สมองไม่โปร่ง คิดอ่านช้าลง การตัดสินใจผิดปกติไม่สมเหตุสมผล ตอบสนองช้าลง แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ล้มง่าย หรือพูดไม่ชัด ความจำไม่ปกติ ลืมง่าย ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก คนที่เป็นส่วนใหญ่จะฟื้นตัวเร็วกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่ในคนที่ดื่มสุรา ปัญหา คือ ต้องเลิกเหล้า ถ้าไม่เลิกมักจะเป็นกลับมาอีกเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อรักษาคนไข้แล้วแพทย์มักจะแนะนำให้หยุดเหล้า การรักษาภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาเลือดที่คั่งในสมองออก โดยการเจาะรูระบายเลือดออก หรือบางแห่งอาจโกนศีรษะผ่าตัดเอาเลือดออกซึ่งแล้วแต่เทคนิคของแพทย์แต่ละคนทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจในการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ ท้ายนี้ นพ.เมธี ยังได้ฝากท่านผู้อ่านที่สนใจ อยากรู้โรคทางสมอง ไขสันหลัง ระบบประสาท กระดูกสันหลังการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เจ็บน้อย สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.drmethee.com : นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/239792 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...