ฉีดฟิลเลอร์จมูกโด่งเตือนระวังตาบอดถาวร
การฉีดฟิลเลอร์เพื่อเสริมความงาม จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิด สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เผยรายงานล่าสุดว่า มีผู้ป่วยไปรับบริการฉีดสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์เพื่อเสริมจมูกแล้วเกิดอาการตามองไม่เห็นเฉียบพลันและแขนขาอ่อนแรง
ทั้งนี้สารเติมเต็มมีหลายชนิดแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ได้แก่ 1.แบบชั่วคราว มีอายุใช้งาน 4-6 เดือน แต่มีความปลอดภัยสูง สลายตัวได้เองตามธรรมชาติ 2.แบบกึ่งถาวร มีอายุใช้งานประมาณ 2 ปี มีความปลอดภัยปานกลาง และ 3.แบบถาวร เช่น ซิลิโคน หรือพาราฟิน หลังฉีดแล้วจะอยู่ในผิวตลอดไป ไม่สลายตามธรรมชาติ มักพบผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา แพทยสภามีประกาศห้ามใช้ฟิลเลอร์ชนิดถาวรอย่างเด็ดขาดไปแล้ว
การใช้ฟิลเลอร์สำหรับรักษาปัญหาผิวพรรณใช้หลักการคือ ผิวหนัง ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ คือ ใยคอลลาเจน และ สารไฮยาลูโรนิก มีหน้าที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง เมื่อเข้าสู่วัยชรา พบว่าใยคอลลาเจนและสารอุ้มน้ำจะค่อยๆลดน้อยลงผิวหนังจะมีลักษณะบางลงเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น
ฟิลเลอร์ จึงถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย เพื่อแก้ไขปัญหา ริ้วรอย โดยการฉีดฟิลเลอร์เติมเต็มใยคอลลาเจนที่หายไป ทำให้ริ้วรอยบริเวณดังกล่าวตื้นขึ้น สภาพผิวดูดีขึ้น การแก้ไขปัญหาแผลเป็นชนิดผิวบุ๋ม เป็นต้น รวมทั้งนำมาฉีดเพื่อเสริมเนื้อเยื่อผิวหนังให้มีลักษณะนูนเต็มขึ้นกว่าเดิม เช่น เสริมจมูก เสริมคาง ริมฝีปากหรือฉีดเพื่อทำให้รูปทรงของหน้าดูอวบอิ่มกว่าเดิม
สำหรับ ผลข้างเคียงที่ทำให้ตาบอดหรือแขนขาอ่อนแรง เกิดจากการที่ฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดที่ต่อเนื่องไปเลี้ยงลูกตา อาจพลาดไปโดนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงบริเวณดวงตา ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดตีบตันจนตาบอดถาวรได้
โดยการฉีดเสริมจมูกด้วยฟิลเลอร์ เป็นที่นิยมเพราะเห็นว่าทำง่าย ทั้งที่เสี่ยงอันตรายเพราะบริเวณจมูกมีแขนงหลอดเลือดจำนวนมาก ที่เชื่อมต่อกับระบบหลอดเลือดของประสาทตาและสมองโดยตรง จึงขอให้หลีกเลี่ยงการเสริมจมูกด้วยวิธีนี้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าความเสี่ยงตาบอด เพื่อแลกกับการทำให้จมูกโด่งเพียงชั่วคราว แม้แต่ฟิลเลอร์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)รับรองก็อาจเกิดตาบอดได้เช่นกัน
พล.ต.นพ. กฤษฎา ดวงอุไร นายกสมาคมแพทย์ผิวหนัง ขอความร่วมมือกับแพทย์และผู้ที่อยากเสริมจมูก ควรทำด้วยวิธีอื่นที่ปลอดภัยมากกว่าการฉีดฟิลเลอร์ สำหรับอันตราย เกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ 1.ตัวผู้ทำการฉีดต้องมีความรู้ ความชำนาญสูง และต้องเป็นแพทย์เท่านั้น 2.สารที่ใช้แม้ผ่านการรับรองจาก อย. ก็เกิดผลข้างเคียงได้และ3.ตัวผู้รับการฉีดเอง
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย โทร. 0-2716-6857 หรือ http://www.dst.or.th
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตหญิงสาวกำลังฉีดฟิลเลอร์ การฉีดฟิลเลอร์เพื่อเสริมความงาม จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิด สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เผยรายงานล่าสุดว่า มีผู้ป่วยไปรับบริการฉีดสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์เพื่อเสริมจมูกแล้วเกิดอาการตามองไม่เห็นเฉียบพลันและแขนขาอ่อนแรง ทั้งนี้สารเติมเต็มมีหลายชนิดแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ได้แก่ 1.แบบชั่วคราว มีอายุใช้งาน 4-6 เดือน แต่มีความปลอดภัยสูง สลายตัวได้เองตามธรรมชาติ 2.แบบกึ่งถาวร มีอายุใช้งานประมาณ 2 ปี มีความปลอดภัยปานกลาง และ 3.แบบถาวร เช่น ซิลิโคน หรือพาราฟิน หลังฉีดแล้วจะอยู่ในผิวตลอดไป ไม่สลายตามธรรมชาติ มักพบผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา แพทยสภามีประกาศห้ามใช้ฟิลเลอร์ชนิดถาวรอย่างเด็ดขาดไปแล้ว การใช้ฟิลเลอร์สำหรับรักษาปัญหาผิวพรรณใช้หลักการคือ ผิวหนัง ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ คือ ใยคอลลาเจน และ สารไฮยาลูโรนิก มีหน้าที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง เมื่อเข้าสู่วัยชรา พบว่าใยคอลลาเจนและสารอุ้มน้ำจะค่อยๆลดน้อยลงผิวหนังจะมีลักษณะบางลงเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ฟิลเลอร์ จึงถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย เพื่อแก้ไขปัญหา ริ้วรอย โดยการฉีดฟิลเลอร์เติมเต็มใยคอลลาเจนที่หายไป ทำให้ริ้วรอยบริเวณดังกล่าวตื้นขึ้น สภาพผิวดูดีขึ้น การแก้ไขปัญหาแผลเป็นชนิดผิวบุ๋ม เป็นต้น รวมทั้งนำมาฉีดเพื่อเสริมเนื้อเยื่อผิวหนังให้มีลักษณะนูนเต็มขึ้นกว่าเดิม เช่น เสริมจมูก เสริมคาง ริมฝีปากหรือฉีดเพื่อทำให้รูปทรงของหน้าดูอวบอิ่มกว่าเดิม สำหรับ ผลข้างเคียงที่ทำให้ตาบอดหรือแขนขาอ่อนแรง เกิดจากการที่ฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดที่ต่อเนื่องไปเลี้ยงลูกตา อาจพลาดไปโดนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงบริเวณดวงตา ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดตีบตันจนตาบอดถาวรได้ โดยการฉีดเสริมจมูกด้วยฟิลเลอร์ เป็นที่นิยมเพราะเห็นว่าทำง่าย ทั้งที่เสี่ยงอันตรายเพราะบริเวณจมูกมีแขนงหลอดเลือดจำนวนมาก ที่เชื่อมต่อกับระบบหลอดเลือดของประสาทตาและสมองโดยตรง จึงขอให้หลีกเลี่ยงการเสริมจมูกด้วยวิธีนี้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าความเสี่ยงตาบอด เพื่อแลกกับการทำให้จมูกโด่งเพียงชั่วคราว แม้แต่ฟิลเลอร์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)รับรองก็อาจเกิดตาบอดได้เช่นกัน พล.ต.นพ. กฤษฎา ดวงอุไร นายกสมาคมแพทย์ผิวหนัง ขอความร่วมมือกับแพทย์และผู้ที่อยากเสริมจมูก ควรทำด้วยวิธีอื่นที่ปลอดภัยมากกว่าการฉีดฟิลเลอร์ สำหรับอันตราย เกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ 1.ตัวผู้ทำการฉีดต้องมีความรู้ ความชำนาญสูง และต้องเป็นแพทย์เท่านั้น 2.สารที่ใช้แม้ผ่านการรับรองจาก อย. ก็เกิดผลข้างเคียงได้และ3.ตัวผู้รับการฉีดเอง หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย โทร. 0-2716-6857 หรือ http://www.dst.or.th ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1qQXpOREl4TWc9PQ==&subcatid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)