"ศิริราช"คว้ารางวัล"ธาลัสซีเมียโลก" ประเภทสถาบันโรคโลหิตจางฯ ดีเด่น

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ครั้งแรกของโลกกับรางวัลศูนย์ธาลัสซีเมียและ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี" ว่า เมื่อวันที่ 19-20 ตุลาคมที่ผ่านมา ในฐานะตัวแทนโรงพยาบาลศิริราช ได้เดินทางไปร่วมงานประชุมวิชาการสมาพันธ์ธาลัสซีเมียโลก ที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยในงานได้มีการมอบโล่รางวัลที่เรียกว่า "รางวัลโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนานาชาติ สุลต่าน บิน คาลิฟา" หรือรางวัล "SITA" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2556 โดยมูลนิธิเพื่อมนุษยธรรมและวิทยาศาสตร์ สุลต่าน บิน คาลิฟา อัล นายาน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย

ศ.คลินิก.นพ.อุดมกล่าวว่า ในงานดังกล่าวเป็นเรื่องน่ายินดีที่โรงพยาบาลศิริราชได้รับรางวัลครั้งนี้ ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 รางวัลใหญ่ คือ รางวัล "สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย (Sultan Bin Khalifa International Award for Center of Excellence) โดยโรงพยาบาลศิริราชได้รับการคัดเลือกร่วมกับสถาบันทางการแพทย์ 300 แห่งจากทั่วโลก จึงนับเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งที่ได้รับรางวัลดังกล่าว เนื่องจากศูนย์ธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลศิริราช เป็นสถานที่ให้บริการการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียในประชากร การให้คำปรึกษาทางเวชพันธุศาสตร์ การวินิจฉัยก่อนคลอด รวมทั้งนวัตกรรมการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อหาภาวะเหล็กเกินในตับและหัวใจ รวมไปถึงการรักษาต่างๆ ทั้งให้ยาขับเหล็ก การปลูกถ่ายไขกระดูกและการทำยีนบำบัดในอนาคต ซึ่งการบริการดังกล่าวได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์กรระดับโลก ISO15189

"นอกจากนี้ ในงานประชุมดังกล่าวยังมอบรางวัลให้แก่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี ปูชนียาจารย์ด้านโลหิตวิทยา ภาควิชาการอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช โดยเป็นรางวัลประเภทบุคคล ในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อวงการธาลัสซีเมียอย่างยาวนาน เนื่องจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ เป็นผู้ทำวิจัยถึงกลไกการเกิดโรคทางพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งนำไปสู่การป้องกันรักษา ผลงานวิจัยของท่านเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ และยังได้รับเชิญไปบรรยายที่มหาวิทยาลยและสถาบันวิจัยหายแหงเกือบทุกทวีป ทั่วโลก และยังมีบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศมากกว่า 200 เรื่อง รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานด้านอณูพันธุศาสตร์ของอัลฟ่าและเบต้าธา ลัสซีเมีย และนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยในทางคลินิก จึงนับมีคุณประโยชน์มากมาย" ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าว

รศ.นพ.วิปร วิประกษิต กรรมการอำนวยการศูนย์ธาลัสซีเมีย กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยเป็นพาหะประมาณร้อยละ 35 หรือประมาณ 18-20 ล้านคน ส่วนคนที่เป็นโรคมีประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงประมาณ 4-5 หมื่นคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งที่ผ่านมาได้ตรวจคัดกรองไปแล้วกว่าแสนราย โดยให้การวินิจฉัยก่อนคลอด และตรวจวินิจฉัยในระดับอณูพันธุศาสตร์แก่คู่สมรสที่เป็นคู่เสี่ยงแล้วกว่า 2,500 คู่ สำหรับการรักษาโรคนี้ ขณะนี้มีการวิจัยพัฒนายีนบำบัด โดยใช้สเต็มเซลล์ในการรักษา แต่อยู่ระหว่างวิจัยโดยร่วมกับทีมวิจัยสหรัฐ โดยจะเริ่มทำในผู้ป่วยคนไทยคนแรกในเดือนมกราคมปี 2557 และคาดว่าการรักษานี้จะสำเร็จเป็นที่ยอมรับไม่เกิน 10 ปี

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1383552733&grpid=03&catid=03 (ขนาดไฟล์: 167)

(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ย.56)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 6/11/2556 เวลา 03:36:33

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ครั้งแรกของโลกกับรางวัลศูนย์ธาลัสซีเมียและ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี" ว่า เมื่อวันที่ 19-20 ตุลาคมที่ผ่านมา ในฐานะตัวแทนโรงพยาบาลศิริราช ได้เดินทางไปร่วมงานประชุมวิชาการสมาพันธ์ธาลัสซีเมียโลก ที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยในงานได้มีการมอบโล่รางวัลที่เรียกว่า "รางวัลโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียนานาชาติ สุลต่าน บิน คาลิฟา" หรือรางวัล "SITA" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2556 โดยมูลนิธิเพื่อมนุษยธรรมและวิทยาศาสตร์ สุลต่าน บิน คาลิฟา อัล นายาน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ศ.คลินิก.นพ.อุดมกล่าวว่า ในงานดังกล่าวเป็นเรื่องน่ายินดีที่โรงพยาบาลศิริราชได้รับรางวัลครั้งนี้ ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 รางวัลใหญ่ คือ รางวัล "สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย (Sultan Bin Khalifa International Award for Center of Excellence) โดยโรงพยาบาลศิริราชได้รับการคัดเลือกร่วมกับสถาบันทางการแพทย์ 300 แห่งจากทั่วโลก จึงนับเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งที่ได้รับรางวัลดังกล่าว เนื่องจากศูนย์ธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลศิริราช เป็นสถานที่ให้บริการการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียในประชากร การให้คำปรึกษาทางเวชพันธุศาสตร์ การวินิจฉัยก่อนคลอด รวมทั้งนวัตกรรมการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อหาภาวะเหล็กเกินในตับและหัวใจ รวมไปถึงการรักษาต่างๆ ทั้งให้ยาขับเหล็ก การปลูกถ่ายไขกระดูกและการทำยีนบำบัดในอนาคต ซึ่งการบริการดังกล่าวได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์กรระดับโลก ISO15189 "นอกจากนี้ ในงานประชุมดังกล่าวยังมอบรางวัลให้แก่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี ปูชนียาจารย์ด้านโลหิตวิทยา ภาควิชาการอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช โดยเป็นรางวัลประเภทบุคคล ในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อวงการธาลัสซีเมียอย่างยาวนาน เนื่องจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ เป็นผู้ทำวิจัยถึงกลไกการเกิดโรคทางพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งนำไปสู่การป้องกันรักษา ผลงานวิจัยของท่านเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ และยังได้รับเชิญไปบรรยายที่มหาวิทยาลยและสถาบันวิจัยหายแหงเกือบทุกทวีป ทั่วโลก และยังมีบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศมากกว่า 200 เรื่อง รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานด้านอณูพันธุศาสตร์ของอัลฟ่าและเบต้าธา ลัสซีเมีย และนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยในทางคลินิก จึงนับมีคุณประโยชน์มากมาย" ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าว รศ.นพ.วิปร วิประกษิต กรรมการอำนวยการศูนย์ธาลัสซีเมีย กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยเป็นพาหะประมาณร้อยละ 35 หรือประมาณ 18-20 ล้านคน ส่วนคนที่เป็นโรคมีประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงประมาณ 4-5 หมื่นคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งที่ผ่านมาได้ตรวจคัดกรองไปแล้วกว่าแสนราย โดยให้การวินิจฉัยก่อนคลอด และตรวจวินิจฉัยในระดับอณูพันธุศาสตร์แก่คู่สมรสที่เป็นคู่เสี่ยงแล้วกว่า 2,500 คู่ สำหรับการรักษาโรคนี้ ขณะนี้มีการวิจัยพัฒนายีนบำบัด โดยใช้สเต็มเซลล์ในการรักษา แต่อยู่ระหว่างวิจัยโดยร่วมกับทีมวิจัยสหรัฐ โดยจะเริ่มทำในผู้ป่วยคนไทยคนแรกในเดือนมกราคมปี 2557 และคาดว่าการรักษานี้จะสำเร็จเป็นที่ยอมรับไม่เกิน 10 ปี ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1383552733&grpid=03&catid=03 (มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ย.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...