หมอเตือนพวกคลั่งลัทธิ แนะผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน กรมสุขภาพจิตเตรียมดันกม.คุมสื่อ
กรมสุขภาพจิตเตรียมดันกม.ควบคุมสื่อส่อรุนแรง ดึงฆ่าตัวตาย เหมือนกรณีลัทธิซาตาน แนะผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน ขณะที่ฆาตกรคลั่งลัทธิซาตานอาจไม่ป่วยจิตเวช ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ
จากกรณีที่มีการพบศพนายสามองค์ ไตรศรัทธา อายุ 36 ปี นักร้องนำและมือเบส ฉายา"อเวจี"ของวงเซอร์เรนเดอร์ ออฟ ดิวินิตี้(Surrender of Divinity) วงร็อคแนวแบล็คเมทัล(Black Metal) แทงกันเสียชีวิต ซึ่งล่าสุดมีการโพสต์เฟซบุ๊กชื่อ "Maleficent Meditation" โดยอ้างว่า เป็นผู้สังหาร โดยตัวเองอยู่ในลัทธิซาตาน จะสังหารคนที่ดูหมิ่นลัทธิ และจะฆ่าตัวตายตอนอายุ 25 ปี นั้น
เมื่อวันที่ 13 มกราคม พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคจิต เพราะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบทางจิตแพทย์ก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้พิจารณาได้ 2 ส่วน คือ 1. อาจมาจากความรู้สึกแปลกแยกกับคนรอบข้าง เมื่อไปค้นพบเว็บไซต์หรือบางสิ่งทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีตัวตน ทำให้รู้สึกมีคุณค่าขึ้น แม้ความรู้สึกนั้นจะไม่ถูกต้อง ซึ่งการคิดเช่นนี้อาจมีปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง ครอบครัวก็สำคัญ หรืออาจมาจากความผิดปกติทางสมอง ทางจิตก็เป็นได้ ซึ่งหากมาจากความผิดปกติทางจิต ก็ถือว่าเป็นโรคจิต ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นต้องรับประทานยา และ 2.อาจรู้สึกอ่อนแอในชีวิต หรือมีภาวะบุคลิกภาพอ่อนแอ ซึ่งตรงนี้อาจมาจากพื้นฐานตั้งแต่เด็ก ต้องให้คนใกล้ชิดดูแล อย่าให้หมกหมุ่นกับความเชื่อบางอย่างเกินไป
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า ทั้งหมดป้องกันได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะวัยรุ่น ครอบครัว พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องรู้สึกฝึกทักษะในการแก้ปัญหา ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก เรียกว่าเป็นหลักในการพัฒนาเด็กในทศวรรษหน้า ซึ่งต้องร่วมกันทั้งพ่อแม่ ครูอาจารย์ ทั้งหมด โดยฝึกให้พวกเขารู้จักแก้ปัญหาในเรื่องเล็กๆ ไปก่อน ไม่ใช่พ่อแม่ไปช่วยแก้ไขให้ตลอดเวลา โดยต้องฝึกพวกเขาแต่เด็กๆ เรียกว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ หรือ RQ (Resilience Quotient) คือ มีความสามารถทนทานต่อภาวะกดดัน จัดการกับความเครียดได้ดี ควบคุมอารมณ์ได้ ยิ้มสู้กับทุกสถานการณ์ มีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีกำลังใจที่ดี เชื่อว่าสิ่งเลวร้ายต่างๆ ย่อมผ่านพ้นไปได้ สามารถให้กำลังใจตัวเอง สามารถแก้ไขและหาทางออกได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
“จริงๆ แล้วกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เคยร่วมกับหลายกระทรวงในการเดินหน้าออกกฎหมายควบคุมสื่อต่างๆ ที่ชักจูงในทางไม่ดี ทั้งความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ หรือสื่อต่างๆ แต่ก็เงียบหายไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องเดินหน้าต่อไป แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากกระทรวงต่างๆ ทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ” พญ.พรรณพิมล กล่าว
( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ม.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กรมสุขภาพจิตเตรียมดันกม.ควบคุมสื่อส่อรุนแรง ดึงฆ่าตัวตาย เหมือนกรณีลัทธิซาตาน แนะผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน ขณะที่ฆาตกรคลั่งลัทธิซาตานอาจไม่ป่วยจิตเวช ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ จากกรณีที่มีการพบศพนายสามองค์ ไตรศรัทธา อายุ 36 ปี นักร้องนำและมือเบส ฉายา"อเวจี"ของวงเซอร์เรนเดอร์ ออฟ ดิวินิตี้(Surrender of Divinity) วงร็อคแนวแบล็คเมทัล(Black Metal) แทงกันเสียชีวิต ซึ่งล่าสุดมีการโพสต์เฟซบุ๊กชื่อ "Maleficent Meditation" โดยอ้างว่า เป็นผู้สังหาร โดยตัวเองอยู่ในลัทธิซาตาน จะสังหารคนที่ดูหมิ่นลัทธิ และจะฆ่าตัวตายตอนอายุ 25 ปี นั้น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคจิต เพราะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบทางจิตแพทย์ก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้พิจารณาได้ 2 ส่วน คือ 1. อาจมาจากความรู้สึกแปลกแยกกับคนรอบข้าง เมื่อไปค้นพบเว็บไซต์หรือบางสิ่งทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีตัวตน ทำให้รู้สึกมีคุณค่าขึ้น แม้ความรู้สึกนั้นจะไม่ถูกต้อง ซึ่งการคิดเช่นนี้อาจมีปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง ครอบครัวก็สำคัญ หรืออาจมาจากความผิดปกติทางสมอง ทางจิตก็เป็นได้ ซึ่งหากมาจากความผิดปกติทางจิต ก็ถือว่าเป็นโรคจิต ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นต้องรับประทานยา และ 2.อาจรู้สึกอ่อนแอในชีวิต หรือมีภาวะบุคลิกภาพอ่อนแอ ซึ่งตรงนี้อาจมาจากพื้นฐานตั้งแต่เด็ก ต้องให้คนใกล้ชิดดูแล อย่าให้หมกหมุ่นกับความเชื่อบางอย่างเกินไป พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า ทั้งหมดป้องกันได้ตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะวัยรุ่น ครอบครัว พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องรู้สึกฝึกทักษะในการแก้ปัญหา ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก เรียกว่าเป็นหลักในการพัฒนาเด็กในทศวรรษหน้า ซึ่งต้องร่วมกันทั้งพ่อแม่ ครูอาจารย์ ทั้งหมด โดยฝึกให้พวกเขารู้จักแก้ปัญหาในเรื่องเล็กๆ ไปก่อน ไม่ใช่พ่อแม่ไปช่วยแก้ไขให้ตลอดเวลา โดยต้องฝึกพวกเขาแต่เด็กๆ เรียกว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ หรือ RQ (Resilience Quotient) คือ มีความสามารถทนทานต่อภาวะกดดัน จัดการกับความเครียดได้ดี ควบคุมอารมณ์ได้ ยิ้มสู้กับทุกสถานการณ์ มีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีกำลังใจที่ดี เชื่อว่าสิ่งเลวร้ายต่างๆ ย่อมผ่านพ้นไปได้ สามารถให้กำลังใจตัวเอง สามารถแก้ไขและหาทางออกได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น “จริงๆ แล้วกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เคยร่วมกับหลายกระทรวงในการเดินหน้าออกกฎหมายควบคุมสื่อต่างๆ ที่ชักจูงในทางไม่ดี ทั้งความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ หรือสื่อต่างๆ แต่ก็เงียบหายไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องเดินหน้าต่อไป แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากกระทรวงต่างๆ ทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ” พญ.พรรณพิมล กล่าว ขอบคุณ … http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1389601386&grpid=03&catid=&subcatid= ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ม.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)