กรมอนามัยเตือนคนป่วย 'เกาต์' เลี่ยงซุปไก่
กรมอนามัย แนะผู้ป่วยโรคเกาต์ใส่ใจสุขภาพ เลี่ยงซุปไก่สกัด หวั่นได้รับกรดยูริกจากสารพิวรีนที่มีมากในสัตว์ปีก ต้นเหตุของโรค โดยส่งเสริมการกินอาหารครบ 5 หมู่ ใน 3 มื้อ ควบผักผลไม้สด และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี...
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 57 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า โรคเกาต์ เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริก ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่ได้จากการย่อยสลายของสารพิวรีน (purine) ที่มีมากในเนื้อสัตว์บางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก หอย ปู หรือปลาตัวเล็ก ที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาไส้ตัน ปลาซาดีนกระป๋อง รวมทั้งในผักประเภทยอดอ่อนด้วย เช่น เห็ด กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก สะตอ เป็นต้น ตลอดจนถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง หากกินอาหารที่มีสารพิวรีนมาก ร่างกายจะสร้างกรดยูริกขึ้นมา แต่ไม่สามารถขับออกได้หมด จึงมีการสะสมกรดยูริกส่วนเกินไว้ในร่างกาย แล้วตกตะกอนอยู่ตามข้อ ตามผนังหลอดเลือด ในไต อวัยวะต่างๆ ทำให้เป็นโรคเกาต์ขึ้นได้
ดร.นพ.พร เทพ กล่าวต่อไปว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารที่มีปริมาณสารพิวรีนสูง คือ จำพวกซุปต่างๆ เช่น น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน รวมทั้งซุปไก่สกัด ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อร่างกายที่จะได้รับปริมาณสารพิวรีนสูงเช่นกัน เนื่องจากกระบวนการผลิตซุปไก่สกัดในเชิงอุตสาหกรรมนั้น ผลิตจากเนื้อและกระดูกไก่ ผ่านกระบวนการสกัดที่อุณหภูมิและความดันสูง แล้วผ่านขั้นตอนการแยกไขมัน จนได้เป็นน้ำซุปไก่สกัดที่จำหน่ายในท้องตลาด
"ทั้งนี้ การจำหน่ายซุปไก่สกัดในปัจจุบัน มีให้เลือกทั้งแบบน้ำและแบบเม็ด ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของซุปไก่สกัด โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ซุปไก่สกัด 100 มิลลิลิตร จะประกอบด้วยน้ำ 93 กรัม โปรตีน 8 กรัม แคลเซียม เหล็ก และวิตามินอีกเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่บริโภคเป็นประจำพบว่า มีปริมาณโปรตีนเท่ากับที่มีในไข่ไก่ครึ่งฟอง หรือประมาณนมสดรสจืดครึ่งกล่อง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการใช้แต่ละวันเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของสมอง" ดร.นพ.พรเทพ กล่าว
อธิบดี กรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อสุขภาพที่ดี ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มการกินผักสด และผลไม้รสไม่หวานจัดเป็นประจำ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที พร้อมทั้งทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ก็จะส่งผลให้มีสุขภาพดีตามมาได้.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/396672 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กรมอนามัย แนะผู้ป่วยโรคเกาต์ใส่ใจสุขภาพ เลี่ยงซุปไก่สกัด หวั่นได้รับกรดยูริกจากสารพิวรีนที่มีมากในสัตว์ปีก ต้นเหตุของโรค โดยส่งเสริมการกินอาหารครบ 5 หมู่ ใน 3 มื้อ ควบผักผลไม้สด และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี... ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 57 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า โรคเกาต์ เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริก ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่ได้จากการย่อยสลายของสารพิวรีน (purine) ที่มีมากในเนื้อสัตว์บางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก หอย ปู หรือปลาตัวเล็ก ที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาไส้ตัน ปลาซาดีนกระป๋อง รวมทั้งในผักประเภทยอดอ่อนด้วย เช่น เห็ด กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก สะตอ เป็นต้น ตลอดจนถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง หากกินอาหารที่มีสารพิวรีนมาก ร่างกายจะสร้างกรดยูริกขึ้นมา แต่ไม่สามารถขับออกได้หมด จึงมีการสะสมกรดยูริกส่วนเกินไว้ในร่างกาย แล้วตกตะกอนอยู่ตามข้อ ตามผนังหลอดเลือด ในไต อวัยวะต่างๆ ทำให้เป็นโรคเกาต์ขึ้นได้ ดร.นพ.พร เทพ กล่าวต่อไปว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารที่มีปริมาณสารพิวรีนสูง คือ จำพวกซุปต่างๆ เช่น น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน รวมทั้งซุปไก่สกัด ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อร่างกายที่จะได้รับปริมาณสารพิวรีนสูงเช่นกัน เนื่องจากกระบวนการผลิตซุปไก่สกัดในเชิงอุตสาหกรรมนั้น ผลิตจากเนื้อและกระดูกไก่ ผ่านกระบวนการสกัดที่อุณหภูมิและความดันสูง แล้วผ่านขั้นตอนการแยกไขมัน จนได้เป็นน้ำซุปไก่สกัดที่จำหน่ายในท้องตลาด "ทั้งนี้ การจำหน่ายซุปไก่สกัดในปัจจุบัน มีให้เลือกทั้งแบบน้ำและแบบเม็ด ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของซุปไก่สกัด โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ซุปไก่สกัด 100 มิลลิลิตร จะประกอบด้วยน้ำ 93 กรัม โปรตีน 8 กรัม แคลเซียม เหล็ก และวิตามินอีกเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่บริโภคเป็นประจำพบว่า มีปริมาณโปรตีนเท่ากับที่มีในไข่ไก่ครึ่งฟอง หรือประมาณนมสดรสจืดครึ่งกล่อง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการใช้แต่ละวันเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของสมอง" ดร.นพ.พรเทพ กล่าว อธิบดี กรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อสุขภาพที่ดี ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มการกินผักสด และผลไม้รสไม่หวานจัดเป็นประจำ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที พร้อมทั้งทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ก็จะส่งผลให้มีสุขภาพดีตามมาได้. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/396672 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)