บำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธีทีช
คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยเตาะแตะคือ ช่วงวัย 1-3 ขวบ มักจะมีคำถามมาปรึกษาว่า ถ้าลูกไม่พูด ไม่สบตา สนใจแต่เรื่องของตัวเอง จะเป็นออทิสติกหรือไม่? แล้วถ้าเป็นแล้วจะทำอย่างไรดี?
ภาวะออทิสติกเป็นหนึ่งในกลุ่มของความบกพร่องทางการเข้าสังคมและมีปัญหา ด้านพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุค่ะ เมื่อ 30 ปีก่อนเราเชื่อว่า ออทิสติกเกิดจากพันธุกรรมถึงร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือคือสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันวงการแพทย์และวงการจิตวิทยาและพฤติกรรมมองว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวการถึงร้อยละ 70 ที่เหลือเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนออทิสติกที่เกิดจากพันธุกรรมจริง ๆ แล้วมีเพียงแค่ร้อยละ 10-15 เท่านั้น และเพราะสมมุติฐานนี้ได้รับคำยืนยันจากงานวิจัยต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้เราพบเด็กออทิสติกที่มีพ่อหรือแม่เป็นออทิสติกอยู่ด้วยจำนวนน้อยมาก ที่เหลือมักพบว่าเด็กเหล่านี้มีพ่อแม่เป็นปกติแทบทั้งสิ้น
ในประเทศไทย แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่ แต่ในต่างประเทศอาจจะเป็นแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านออทิสติกเป็นคนประเมินเนื่องจากใช้เวลาในการประเมิน ค่อนข้างนาน เพราะนอกจากจะทำให้ได้รับผลที่ค่อนข้างแม่นยำและเหมาะสมแล้ว รวมทั้งยังได้รับการดูแลจากรัฐบาลทั้งในรูปแบบของเงินอุดหนุน สวัสดิการต่าง ๆ และยังได้รับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดีตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสีย ชีวิตด้วยค่ะ
ภาวะออทิสติกไม่เหมือนกับภาวะความบกพร่องด้านอื่นๆ ที่สามารถชี้แจงและเจาะจงได้อย่างชัดเจน เนื่องจาก ภาวะความบกพร่องทางการเข้าสังคมและมีปัญหาทางพฤติกรรมนี้เปรียบเสมือนร่มคันใหญ่ที่มีความเหมือนและความแตกต่างของอาการในเด็กแต่ละคน ความเหมือนก็คือเด็กเหล่านี้มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมเหมือนกัน ความแตกต่างคือ เด็กคนหนึ่งอาจจะชอบกระโดด เกร็ง หรือกรีดร้อง ในขณะที่เด็กบางคนสามารถนั่งจ้องของเล่นที่ตัวเองชอบได้นานเป็นชั่วโมงโดย ไม่ได้มีพฤติกรรมรบกวนคนอื่น ๆ หรือแม้แต่เรื่องการเข้าสังคมที่เด็กบางคนอาจจะไม่ชอบการมีเพื่อน ไม่ชอบคุยกับคนแปลกหน้า ไม่ชอบการเข้ากลุ่ม แต่เด็กบางคนกลับชอบให้มีคนมากอด มาหอม มาแสดงความรักตลอดเวลา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า รูปแบบพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้มีความแตกต่างกันนั่นเองค่ะ
จนปัจจุบันนี้ ถึงแม้การแพทย์ทางเลือก เช่น การเปลี่ยนถ่ายเลือดในเด็กที่เป็นออทิสติกเพราะค่าของสารปรอทและตะกั่วใน เลือดสูงเกินไป จะมีการวิจัยว่าใช้ได้ผล แต่เรายังไม่สามารถยอมรับโดยปราศจากคำถามว่า เด็กออทิสติกทุกคนสามารถหายจากภาวะความบกพร่องนี้ได้จริงหรือ แต่สิ่งที่งานวิจัยส่วนใหญ่เล็งเห็นก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะสามารถช่วยให้เด็กออทิสติกที่มีพฤติกรรมแตกต่างและแปลกแยกนั้น กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เล่นกับเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่เพียงทำให้เด็กเหล่านี้เรียนหนังสือได้ แต่ทำให้เรียนหนังสือได้ดี ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ จนถึงขนาดที่ว่า ประเทศใน ภูมิภาคเอเชีย เช่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ออกกฎไว้ว่า ถ้าเด็กออทิสติกหรือเด็กที่มีปัญหาด้านการเข้าสังคมคนใดต้องการเรียนหนังสือ จะต้องได้รับการบำบัดด้วยวิธีทีชเป็นพื้นฐานลำดับแรก
แนวการบำบัดด้วยวิธีทีช (TEACCH) เกิดขึ้นโดยศาสตราจารย์สกูปเลอร์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลน่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมผ่านการสอนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นแบบแผน เด็กแต่ละคนจะได้รับการประเมินเรื่องของความสนใจส่วนตัว รวมถึงจุดเด่นและจุดที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนในเบื้องต้น นอกจากนั้น จะมีการสอบถามความคาดหวังที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการ แนวความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากการรวมกันระหว่างศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาและ ศาสตร์ด้านการทำงานของสมองที่เกิดจากจิตใจในการสร้างกิจกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่จะตอบสนองและเพิ่มศักยภาพเด็กออทิสติกในการเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนผ่านงานวิจัยจำนวนมากว่า เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนรู้ ลองทำ และการนำไปใช้ของเด็กออทิสติกอย่างแท้จริง
หลักการสำคัญของการบำบัดแบบทีชที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญคือ การมองเด็กออทิสติกว่ามีความแตกต่างจากเด็กปกติ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้ลดทอนศักยภาพที่มีอยู่ในตัว หากยังถือด้วยว่า เด็กแต่ละคนมีความพิเศษมีเอกลักษณ์ที่ถือว่าเป็นจุดเด่น ดังนั้นการพยายามขยายขอบเขตของจุดเด่นนั้นไปยังเรื่องอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ในขณะเดียวกัน การมองว่า เด็กแต่ละคนมีลักษณะพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับ ช่วงวัยพัฒนาการก็มีความสำคัญเพราะทำให้เด็กเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับ คนอื่นในสังคมได้ค่ะ นอกจากนี้แล้วยังมองด้วยว่า
1. เด็กออทิสติกมีรูปแบบวิธีคิดที่แตกต่าง คือมองที่รายละเอียดมากกว่าภาพใหญ่ ทำให้สามารถเขวได้ง่าย เช่น สมมุติว่าครูกำลังเขียนอะไรบางอย่างอยู่บนกระดาน ในขณะที่เด็กคนอื่นกำลังจดตาม เด็กออทิสติกอาจมองว่า ตัวอักษรที่ครูเขียนเว้นช่องไฟไม่เท่ากัน อีกตัวนึงเว้นเท่ากัน แล้วเกิดความสงสัยขึ้นมา ทำให้เมื่อบทเรียนผ่านไปกลายเป็นเรียนตามเพื่อนไม่ทัน หรือแม้แต่การที่เวลาออกไปข้างนอก เด็กคนอื่นอาจกำลังชื่นชมกับต้นไม้ที่รวมกันเป็นพุ่ม แต่เด็กออทิสติกกลับมองว่า ต้นไม้ต้นนี้มียอดแหลมขึ้นมา ทำไมถึงมียอดแหลมขึ้นมา ไม่ได้มองเป็นภาพรวม เป็นต้น นอกจากนี้เด็กออทิสติกมีปัญหากับการคิดแบบนามธรรม หรือแม้แต่คำเปรียบเทียบเปรียบเปรย ดังนั้น เมื่อจะสอนจึงจำเป็นต้องพูดให้ชัดเจนจับต้องได้ รวมถึงเด็กมักจะมีปัญหาเรื่องการจัดระเบียบก่อนหลัง เรื่องเวลา และเรื่องการนำไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งวิธีการสอนที่ถูกต้องจะต้องบอกได้ว่า จุดเริ่มต้นอยู่ตรงไหน แล้วจะจบที่ตรงไหน ของแต่ละอย่างมีรูปร่างรูปทรงเหมือนกับอะไร คล้ายกับอะไรที่เค้าเคยเห็นมาก่อนบ้าง
2. เด็กออทิสติกมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง ตรงส่วนนี้ทางทีชเน้นว่า เด็กจะเรียนรู้ได้ดีผ่านทางการมองเห็นไม่ใช่การฟังซึ่งเป็นรูปแบบการเรียน ของเด็กปกติ ดังนั้นวิธีการสอนจึงจำเป็นต้องมีรูปภาพให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากำลังทำอะไร จะทำอะไรต่อไปบ้าง หรือแม้แต่การใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพแทนการใช้คำพูด ซึ่งจำเป็นด้วยว่าจะต้องปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3. เด็กออทิสติกมีรูปแบบพฤติกรรมที่แตกต่าง และรูปแบบพฤติกรรมนั้นคือการสื่อสารแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรจะปรับพฤติกรรมนั้น เช่น การกรีดร้อง การเกร็งตัวเอง การกระโดดโวยวายให้เหมาะสมขึ้น เพื่อเป็นการให้เด็กมีการสื่อสารที่เหมาะสม
จะเห็นได้ว่า ทีชไม่ได้เน้นเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือฝึกด้านหนึ่งด้านใดแต่เพียงด้านเดียว แต่กลับมองทุกอย่างว่าสามารถปรับแก้ได้โดยใช้การผสมผสานวิธีการเป็นองค์รวม นั่นเอง.
อ.ดร.ปรียาสิริ มานะสันต์
โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
** สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง3-7 ขวบ และสนใจการบำบัดด้วยวิธีทีช สามารถนัดเพื่อขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 0-2200-4029 ค่ะ
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/สาธารณสุข/198497/บำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธี (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยเตาะแตะคือ ช่วงวัย 1-3 ขวบ มักจะมีคำถามมาปรึกษาว่า ถ้าลูกไม่พูด ไม่สบตา สนใจแต่เรื่องของตัวเอง จะเป็นออทิสติกหรือไม่? แล้วถ้าเป็นแล้วจะทำอย่างไรดี? บำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธีทีชภาวะออทิสติกเป็นหนึ่งในกลุ่มของความบกพร่องทางการเข้าสังคมและมีปัญหา ด้านพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุค่ะ เมื่อ 30 ปีก่อนเราเชื่อว่า ออทิสติกเกิดจากพันธุกรรมถึงร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือคือสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันวงการแพทย์และวงการจิตวิทยาและพฤติกรรมมองว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวการถึงร้อยละ 70 ที่เหลือเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนออทิสติกที่เกิดจากพันธุกรรมจริง ๆ แล้วมีเพียงแค่ร้อยละ 10-15 เท่านั้น และเพราะสมมุติฐานนี้ได้รับคำยืนยันจากงานวิจัยต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้เราพบเด็กออทิสติกที่มีพ่อหรือแม่เป็นออทิสติกอยู่ด้วยจำนวนน้อยมาก ที่เหลือมักพบว่าเด็กเหล่านี้มีพ่อแม่เป็นปกติแทบทั้งสิ้น ในประเทศไทย แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่ แต่ในต่างประเทศอาจจะเป็นแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านออทิสติกเป็นคนประเมินเนื่องจากใช้เวลาในการประเมิน ค่อนข้างนาน เพราะนอกจากจะทำให้ได้รับผลที่ค่อนข้างแม่นยำและเหมาะสมแล้ว รวมทั้งยังได้รับการดูแลจากรัฐบาลทั้งในรูปแบบของเงินอุดหนุน สวัสดิการต่าง ๆ และยังได้รับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดีตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสีย ชีวิตด้วยค่ะ ภาวะออทิสติกไม่เหมือนกับภาวะความบกพร่องด้านอื่นๆ ที่สามารถชี้แจงและเจาะจงได้อย่างชัดเจน เนื่องจาก ภาวะความบกพร่องทางการเข้าสังคมและมีปัญหาทางพฤติกรรมนี้เปรียบเสมือนร่มคันใหญ่ที่มีความเหมือนและความแตกต่างของอาการในเด็กแต่ละคน ความเหมือนก็คือเด็กเหล่านี้มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมเหมือนกัน ความแตกต่างคือ เด็กคนหนึ่งอาจจะชอบกระโดด เกร็ง หรือกรีดร้อง ในขณะที่เด็กบางคนสามารถนั่งจ้องของเล่นที่ตัวเองชอบได้นานเป็นชั่วโมงโดย ไม่ได้มีพฤติกรรมรบกวนคนอื่น ๆ หรือแม้แต่เรื่องการเข้าสังคมที่เด็กบางคนอาจจะไม่ชอบการมีเพื่อน ไม่ชอบคุยกับคนแปลกหน้า ไม่ชอบการเข้ากลุ่ม แต่เด็กบางคนกลับชอบให้มีคนมากอด มาหอม มาแสดงความรักตลอดเวลา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า รูปแบบพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้มีความแตกต่างกันนั่นเองค่ะ จนปัจจุบันนี้ ถึงแม้การแพทย์ทางเลือก เช่น การเปลี่ยนถ่ายเลือดในเด็กที่เป็นออทิสติกเพราะค่าของสารปรอทและตะกั่วใน เลือดสูงเกินไป จะมีการวิจัยว่าใช้ได้ผล แต่เรายังไม่สามารถยอมรับโดยปราศจากคำถามว่า เด็กออทิสติกทุกคนสามารถหายจากภาวะความบกพร่องนี้ได้จริงหรือ แต่สิ่งที่งานวิจัยส่วนใหญ่เล็งเห็นก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะสามารถช่วยให้เด็กออทิสติกที่มีพฤติกรรมแตกต่างและแปลกแยกนั้น กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เล่นกับเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่เพียงทำให้เด็กเหล่านี้เรียนหนังสือได้ แต่ทำให้เรียนหนังสือได้ดี ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ จนถึงขนาดที่ว่า ประเทศใน ภูมิภาคเอเชีย เช่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ออกกฎไว้ว่า ถ้าเด็กออทิสติกหรือเด็กที่มีปัญหาด้านการเข้าสังคมคนใดต้องการเรียนหนังสือ จะต้องได้รับการบำบัดด้วยวิธีทีชเป็นพื้นฐานลำดับแรก แนวการบำบัดด้วยวิธีทีช (TEACCH) เกิดขึ้นโดยศาสตราจารย์สกูปเลอร์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลน่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมผ่านการสอนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นแบบแผน เด็กแต่ละคนจะได้รับการประเมินเรื่องของความสนใจส่วนตัว รวมถึงจุดเด่นและจุดที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนในเบื้องต้น นอกจากนั้น จะมีการสอบถามความคาดหวังที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการ แนวความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากการรวมกันระหว่างศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาและ ศาสตร์ด้านการทำงานของสมองที่เกิดจากจิตใจในการสร้างกิจกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่จะตอบสนองและเพิ่มศักยภาพเด็กออทิสติกในการเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนผ่านงานวิจัยจำนวนมากว่า เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนรู้ ลองทำ และการนำไปใช้ของเด็กออทิสติกอย่างแท้จริง หลักการสำคัญของการบำบัดแบบทีชที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญคือ การมองเด็กออทิสติกว่ามีความแตกต่างจากเด็กปกติ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้ลดทอนศักยภาพที่มีอยู่ในตัว หากยังถือด้วยว่า เด็กแต่ละคนมีความพิเศษมีเอกลักษณ์ที่ถือว่าเป็นจุดเด่น ดังนั้นการพยายามขยายขอบเขตของจุดเด่นนั้นไปยังเรื่องอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ในขณะเดียวกัน การมองว่า เด็กแต่ละคนมีลักษณะพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับ ช่วงวัยพัฒนาการก็มีความสำคัญเพราะทำให้เด็กเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับ คนอื่นในสังคมได้ค่ะ นอกจากนี้แล้วยังมองด้วยว่า 1. เด็กออทิสติกมีรูปแบบวิธีคิดที่แตกต่าง คือมองที่รายละเอียดมากกว่าภาพใหญ่ ทำให้สามารถเขวได้ง่าย เช่น สมมุติว่าครูกำลังเขียนอะไรบางอย่างอยู่บนกระดาน ในขณะที่เด็กคนอื่นกำลังจดตาม เด็กออทิสติกอาจมองว่า ตัวอักษรที่ครูเขียนเว้นช่องไฟไม่เท่ากัน อีกตัวนึงเว้นเท่ากัน แล้วเกิดความสงสัยขึ้นมา ทำให้เมื่อบทเรียนผ่านไปกลายเป็นเรียนตามเพื่อนไม่ทัน หรือแม้แต่การที่เวลาออกไปข้างนอก เด็กคนอื่นอาจกำลังชื่นชมกับต้นไม้ที่รวมกันเป็นพุ่ม แต่เด็กออทิสติกกลับมองว่า ต้นไม้ต้นนี้มียอดแหลมขึ้นมา ทำไมถึงมียอดแหลมขึ้นมา ไม่ได้มองเป็นภาพรวม เป็นต้น นอกจากนี้เด็กออทิสติกมีปัญหากับการคิดแบบนามธรรม หรือแม้แต่คำเปรียบเทียบเปรียบเปรย ดังนั้น เมื่อจะสอนจึงจำเป็นต้องพูดให้ชัดเจนจับต้องได้ รวมถึงเด็กมักจะมีปัญหาเรื่องการจัดระเบียบก่อนหลัง เรื่องเวลา และเรื่องการนำไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งวิธีการสอนที่ถูกต้องจะต้องบอกได้ว่า จุดเริ่มต้นอยู่ตรงไหน แล้วจะจบที่ตรงไหน ของแต่ละอย่างมีรูปร่างรูปทรงเหมือนกับอะไร คล้ายกับอะไรที่เค้าเคยเห็นมาก่อนบ้าง 2. เด็กออทิสติกมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง ตรงส่วนนี้ทางทีชเน้นว่า เด็กจะเรียนรู้ได้ดีผ่านทางการมองเห็นไม่ใช่การฟังซึ่งเป็นรูปแบบการเรียน ของเด็กปกติ ดังนั้นวิธีการสอนจึงจำเป็นต้องมีรูปภาพให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากำลังทำอะไร จะทำอะไรต่อไปบ้าง หรือแม้แต่การใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพแทนการใช้คำพูด ซึ่งจำเป็นด้วยว่าจะต้องปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3. เด็กออทิสติกมีรูปแบบพฤติกรรมที่แตกต่าง และรูปแบบพฤติกรรมนั้นคือการสื่อสารแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรจะปรับพฤติกรรมนั้น เช่น การกรีดร้อง การเกร็งตัวเอง การกระโดดโวยวายให้เหมาะสมขึ้น เพื่อเป็นการให้เด็กมีการสื่อสารที่เหมาะสม จะเห็นได้ว่า ทีชไม่ได้เน้นเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือฝึกด้านหนึ่งด้านใดแต่เพียงด้านเดียว แต่กลับมองทุกอย่างว่าสามารถปรับแก้ได้โดยใช้การผสมผสานวิธีการเป็นองค์รวม นั่นเอง. อ.ดร.ปรียาสิริ มานะสันต์ โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ** สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง3-7 ขวบ และสนใจการบำบัดด้วยวิธีทีช สามารถนัดเพื่อขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 0-2200-4029 ค่ะ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/สาธารณสุข/198497/บำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธี เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)