นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ
เมื่อเกิดความผิดปกติจากการมองเห็นของดวงตา หลาย ๆ คนคงไม่สามารถประกอบภารกิจ หรือดำเนินชีวิตประจำวันต่าง ๆ ไปได้อย่างราบรื่น การได้เห็นโลกกว้างก็ดูจะหม่นหมองลง แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ดวงตากลับมาเห็นชัดขึ้นได้ด้วย การผ่าตัดแบบแผลเล็ก!
นพ.เอกเทศ ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาภาวะสายตาผิดปกติ ระดับนานาชาติ (TRSC Inter-national LASIK Center) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสายตาผิดปกติว่า เป็นภาวะที่ดวงตามีกำลังการรวมแสงไม่พอดีกับขนาดของลูกตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ได้แก่ ภาวะสายตา สั้น ยาว เอียง ซึ่งสายตายาวสามารถแบ่งเป็นสายตายาวแต่กำเนิด และสายตายาวตามอายุ โดยภาวะสายตาที่มีปัญหามากที่สุดในวัยรุ่น และวัยกลางคน คือ สายตาสั้น เนื่องจากมองไกลไม่ชัดด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้แว่นสายตา หรือคอนแทคท์เลนส์ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะได้มองเห็นในระยะไกล เช่น ขับรถ เล่นกีฬา การเกิดภาวะสายตาผิดปกติ โดยเฉพาะสายตาสั้น พบว่า มีปัจจัยการเกิดจากพันธุกรรมสูงมากที่สุด นอกจากนั้นบางส่วนเกิดจากสิ่งแวด ล้อม และพฤติกรรม
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคท์เลนส์ได้ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยได้ ซึ่งในประเทศไทยมีการรักษาสายตาด้วยวิธี พีอาร์เค (Photorefractive keratectomy: PRK) และ เลสิค (Laser In-situ Keratomileusis: LASIK) มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี
แต่ในปัจจุบันมีการนำเทคโน โลยีการรักษาด้วย รีเล็กซ์ (Refractive Lenticule Extraction : ReLEx) เข้ามาใช้ในการรักษาสายตาผิดปกติ ซึ่งสามารถใช้รักษาสายตาสั้นได้ตั้งแต่ 100 ถึงประมาณ 1,300 โดยมีสายตาเอียงร่วมด้วยไม่เกิน 500 โดยการรักษาแบบรีเล็กซ์นี้เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ใช้หลักการเดียวกับ เลสิค และ พีอาร์เค ที่มีในอดีต โดยเป็นการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาให้มีกำลังการรวมแสงพอดีสำหรับการมอง เห็นด้วยตาเปล่า การปรับกระจกตาจะทำได้โดยนำเนื้อกระจกตาออกบางส่วนเพื่อปรับความโค้งของผิว หน้ากระจกตา
“การผ่าตัดแบบในอดีตแม้จะใช้หลักการเดียวกันแต่จะเกิดแผลใหญ่ที่ผิวของกระจกตา เช่น กรณีรักษาด้วยวิธีพีอาร์เค โดยจะมีแผลถลอกขนาดใหญ่ส่งผลทำให้ไม่สบายตาเป็นอย่างมากหลังการผ่าตัดและ ต้องใช้เวลาพักฟื้นยาวนานกว่าจะใช้งานด้านการมองเห็นได้ตามปกติ หรือมิฉะนั้นจะต้องแยกชั้นกระจกตาเป็นแผ่นขึ้นมาเสียก่อน ส่วนในกรณีของการรักษาแบบเลสิคไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิมที่มีการใช้ใบมีดแยก ชั้นกระจกตา หรือ Femto LASIK โดยใช้ Femto second Laser ในการแยกชั้นกระจกตาก็เช่นกัน”
สำหรับการผ่าตัดแบบรีเล็กซ์ กระจกตาจะไม่ถูกแยกเปิดเป็นแผ่น โดยจะใช้เครื่องเลเซอร์ในการแยกชั้นกระจกตา ที่ไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อผิวตา การแยกชั้นนี้จะทำให้เกิดชิ้นกระจกตาอยู่ภายในเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า Lenticule ซึ่งเป็นชิ้นกระจกตาส่วนเกินซึ่งจะถูกนำออกจากตัวกระจกตาโดยแพทย์ที่ทำ การผ่าตัดผ่านแผลขนาดความยาว 2-5 มิลลิเมตร เท่านั้น
“คนไข้จะมีขนาดแผลที่เล็กมาก โดยการรักษาจะรบกวนกระจกตาน้อยกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น ๆ ส่งผลให้มีผลข้างเคียงเกิดน้อยลง เช่น การเกิดภาวะตาแห้งหลังผ่าตัด นอกจากนั้น พบว่า การมองเห็นในที่มีแสงน้อยผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีรีเล็กซ์มักจะมีคุณภาพ การมองเห็นโดยเฉลี่ยดีกว่าการผ่าตัดวิธีอื่น ๆ แต่ผู้ที่มีความหนาของกระจกตาน้อยมาก ๆ และผู้ที่มีโรคตารุนแรง เช่น ต้อหิน ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้”
ด้านการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา นพ.เอกเทศ กล่าวว่า ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องมาตรวจและรับข้อมูล ข้อดี ข้อจำกัด รวมถึงความเสี่ยง โอกาสการเกิดปัญหาต่างๆทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งมีการตรวจสายตาและสุขภาพตาอย่างละเอียดโดยแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด เพื่อให้แน่ใจว่า ดวงตามีความแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถเข้ารับการผ่าตัดด้วยระดับความปลอดภัยสูงตามมาตรฐาน และไม่มีลักษณะข้อห้ามในการผ่าตัด
“ในการผ่าตัดจริงนั้นการรักษาแบบรีเล็กซ์จะเป็นการผ่าตัดระดับย่อย จึงทำให้การผ่าตัดใช้เพียงหยอดยาชา โดยผู้เข้ารับการรักษาจะไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด และสามารถรักษาดวงตาได้พร้อมกันทั้ง 2 ข้างในคราวเดียว โดยจะใช้เวลาทั้ง 2 ข้างประมาณ 15 นาที
หลังผ่าตัดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะครอบฝาครอบตาไว้เพื่อป้องกันการขยี้ตาและป้องกันการติดเชื้อ หลังการผ่าตัด รวมทั้งผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับบ้านได้แต่ต้องกลับมาตรวจดวงตาในวัน รุ่งขึ้น การดูแลหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จะต้องมีการหยอดยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ โดยคนไข้จะต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา 3 วัน และที่สำคัญต้องหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำในช่วงสัปดาห์แรกหลังการรักษา”
ภายหลังการรักษาคนไข้สามารถ มองเห็นได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด แต่การมองเห็นจะยังไม่คมชัด อาจมองเห็นเหมือนมีหมอกบาง ๆ แต่ในวันรุ่งขึ้นการมองเห็นมักจะอยู่ในระดับที่สามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย การคืนความคมชัดของการมองเห็นในช่วงแรกนี้อาจจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์จึงจะมอง เห็นได้ในระดับปกติ
การดูแลรักษาดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น ในความเป็นจริงแล้วดวงตาของคนเราไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษแต่จะอยู่ ในลักษณะการเฝ้าระวังมากกว่า เช่น มีการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุก1-2 ปี เพื่อตรวจหาโรคตาบางอย่างที่มีความอันตราย แต่หากมีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น โรคต้อหินบางประเภท ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โรคจะได้ไม่ลุกลามมากขึ้น. ทีมวาไรตี้
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/201739/นวัตกรรม+‘รีเล็กซ์’+ผ่าตัดแบบแผลเล็กเทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อเกิดความผิดปกติจากการมองเห็นของดวงตา หลาย ๆ คนคงไม่สามารถประกอบภารกิจ หรือดำเนินชีวิตประจำวันต่าง ๆ ไปได้อย่างราบรื่น การได้เห็นโลกกว้างก็ดูจะหม่นหมองลง แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ดวงตากลับมาเห็นชัดขึ้นได้ด้วย การผ่าตัดแบบแผลเล็ก! นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกตินพ.เอกเทศ ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาภาวะสายตาผิดปกติ ระดับนานาชาติ (TRSC Inter-national LASIK Center) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสายตาผิดปกติว่า เป็นภาวะที่ดวงตามีกำลังการรวมแสงไม่พอดีกับขนาดของลูกตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ได้แก่ ภาวะสายตา สั้น ยาว เอียง ซึ่งสายตายาวสามารถแบ่งเป็นสายตายาวแต่กำเนิด และสายตายาวตามอายุ โดยภาวะสายตาที่มีปัญหามากที่สุดในวัยรุ่น และวัยกลางคน คือ สายตาสั้น เนื่องจากมองไกลไม่ชัดด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้แว่นสายตา หรือคอนแทคท์เลนส์ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะได้มองเห็นในระยะไกล เช่น ขับรถ เล่นกีฬา การเกิดภาวะสายตาผิดปกติ โดยเฉพาะสายตาสั้น พบว่า มีปัจจัยการเกิดจากพันธุกรรมสูงมากที่สุด นอกจากนั้นบางส่วนเกิดจากสิ่งแวด ล้อม และพฤติกรรม สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคท์เลนส์ได้ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยได้ ซึ่งในประเทศไทยมีการรักษาสายตาด้วยวิธี พีอาร์เค (Photorefractive keratectomy: PRK) และ เลสิค (Laser In-situ Keratomileusis: LASIK) มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี นวักรรม ‘รีเล็กซ์’ ผ่าตัดแบบแผลเล็ก เทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติแต่ในปัจจุบันมีการนำเทคโน โลยีการรักษาด้วย รีเล็กซ์ (Refractive Lenticule Extraction : ReLEx) เข้ามาใช้ในการรักษาสายตาผิดปกติ ซึ่งสามารถใช้รักษาสายตาสั้นได้ตั้งแต่ 100 ถึงประมาณ 1,300 โดยมีสายตาเอียงร่วมด้วยไม่เกิน 500 โดยการรักษาแบบรีเล็กซ์นี้เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ใช้หลักการเดียวกับ เลสิค และ พีอาร์เค ที่มีในอดีต โดยเป็นการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาให้มีกำลังการรวมแสงพอดีสำหรับการมอง เห็นด้วยตาเปล่า การปรับกระจกตาจะทำได้โดยนำเนื้อกระจกตาออกบางส่วนเพื่อปรับความโค้งของผิว หน้ากระจกตา “การผ่าตัดแบบในอดีตแม้จะใช้หลักการเดียวกันแต่จะเกิดแผลใหญ่ที่ผิวของกระจกตา เช่น กรณีรักษาด้วยวิธีพีอาร์เค โดยจะมีแผลถลอกขนาดใหญ่ส่งผลทำให้ไม่สบายตาเป็นอย่างมากหลังการผ่าตัดและ ต้องใช้เวลาพักฟื้นยาวนานกว่าจะใช้งานด้านการมองเห็นได้ตามปกติ หรือมิฉะนั้นจะต้องแยกชั้นกระจกตาเป็นแผ่นขึ้นมาเสียก่อน ส่วนในกรณีของการรักษาแบบเลสิคไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิมที่มีการใช้ใบมีดแยก ชั้นกระจกตา หรือ Femto LASIK โดยใช้ Femto second Laser ในการแยกชั้นกระจกตาก็เช่นกัน” สำหรับการผ่าตัดแบบรีเล็กซ์ กระจกตาจะไม่ถูกแยกเปิดเป็นแผ่น โดยจะใช้เครื่องเลเซอร์ในการแยกชั้นกระจกตา ที่ไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อผิวตา การแยกชั้นนี้จะทำให้เกิดชิ้นกระจกตาอยู่ภายในเนื้อกระจกตาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า Lenticule ซึ่งเป็นชิ้นกระจกตาส่วนเกินซึ่งจะถูกนำออกจากตัวกระจกตาโดยแพทย์ที่ทำ การผ่าตัดผ่านแผลขนาดความยาว 2-5 มิลลิเมตร เท่านั้น “คนไข้จะมีขนาดแผลที่เล็กมาก โดยการรักษาจะรบกวนกระจกตาน้อยกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น ๆ ส่งผลให้มีผลข้างเคียงเกิดน้อยลง เช่น การเกิดภาวะตาแห้งหลังผ่าตัด นอกจากนั้น พบว่า การมองเห็นในที่มีแสงน้อยผู้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีรีเล็กซ์มักจะมีคุณภาพ การมองเห็นโดยเฉลี่ยดีกว่าการผ่าตัดวิธีอื่น ๆ แต่ผู้ที่มีความหนาของกระจกตาน้อยมาก ๆ และผู้ที่มีโรคตารุนแรง เช่น ต้อหิน ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้” ด้านการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา นพ.เอกเทศ กล่าวว่า ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องมาตรวจและรับข้อมูล ข้อดี ข้อจำกัด รวมถึงความเสี่ยง โอกาสการเกิดปัญหาต่างๆทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งมีการตรวจสายตาและสุขภาพตาอย่างละเอียดโดยแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด เพื่อให้แน่ใจว่า ดวงตามีความแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถเข้ารับการผ่าตัดด้วยระดับความปลอดภัยสูงตามมาตรฐาน และไม่มีลักษณะข้อห้ามในการผ่าตัด “ในการผ่าตัดจริงนั้นการรักษาแบบรีเล็กซ์จะเป็นการผ่าตัดระดับย่อย จึงทำให้การผ่าตัดใช้เพียงหยอดยาชา โดยผู้เข้ารับการรักษาจะไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด และสามารถรักษาดวงตาได้พร้อมกันทั้ง 2 ข้างในคราวเดียว โดยจะใช้เวลาทั้ง 2 ข้างประมาณ 15 นาที สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพดวงตาหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะครอบฝาครอบตาไว้เพื่อป้องกันการขยี้ตาและป้องกันการติดเชื้อ หลังการผ่าตัด รวมทั้งผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับบ้านได้แต่ต้องกลับมาตรวจดวงตาในวัน รุ่งขึ้น การดูแลหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จะต้องมีการหยอดยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ โดยคนไข้จะต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา 3 วัน และที่สำคัญต้องหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำในช่วงสัปดาห์แรกหลังการรักษา” ภายหลังการรักษาคนไข้สามารถ มองเห็นได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด แต่การมองเห็นจะยังไม่คมชัด อาจมองเห็นเหมือนมีหมอกบาง ๆ แต่ในวันรุ่งขึ้นการมองเห็นมักจะอยู่ในระดับที่สามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย การคืนความคมชัดของการมองเห็นในช่วงแรกนี้อาจจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์จึงจะมอง เห็นได้ในระดับปกติ การดูแลรักษาดวงตาให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น ในความเป็นจริงแล้วดวงตาของคนเราไม่ต้องการการดูแลรักษาเป็นพิเศษแต่จะอยู่ ในลักษณะการเฝ้าระวังมากกว่า เช่น มีการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุก1-2 ปี เพื่อตรวจหาโรคตาบางอย่างที่มีความอันตราย แต่หากมีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น โรคต้อหินบางประเภท ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โรคจะได้ไม่ลุกลามมากขึ้น. ทีมวาไรตี้ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/201739/นวัตกรรม+‘รีเล็กซ์’+ผ่าตัดแบบแผลเล็กเทคนิคใหม่แก้ไขสายตาผิดปกติ เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)