อันตรายจากการใช้หูฟังที่ผิดวิธี อาจทำให้คุณหูหนวกได้

แสดงความคิดเห็น

หูฟังที่วางขายในท้องตลาดนั้นมีให้เราเลือกได้มากมายหลายแบบ ตามลักษณะการใช้งานและการสวมใส่ไม่ว่าจะเป็น แบบสอดเข้าในหู (In-Ear), แบบครอบหู (Around-Ears) และแบบสวมแนบพอดีหู (On-Ear) ในแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดีและด้อยต่างกันไป แต่แบบที่กำลังเป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้ใช้งานเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา นั่น ก็คือหูฟังแบบ In-Ear นั่นเอง คุณทราบหรือไม่? ว่าหูฟังแบบสอดเข้าไปในหู (In-Ear) นั้นมีความเสี่ยงต่อการอาการ หูอื้อ หูตึง หรือหูหนวกได้

บรรยากาศภายในห้องประชุม เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะผ่านไปแห่งหนไหนก็จำต้องเห็นผู้คนมากมาย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น หรือแม้กระทั่งคนวัยทำงานปรากฏโฉมพร้อมๆ กับการใช้หูฟังจากโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 หรือไอพอดอยู่ตลอด ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมันจึงทำให้เราเพลิดเพลินสำเริงใจไปกับการฟังเพลงได้ ทุกที่ทุกเวลา แถมบางคนใจดีฟังคนเดียวก็กลัวเหงาเลยเผื่อแผ่เสียงเพลงมาฝากคนข้างๆ ให้ได้ยินประหนึ่งว่าได้ร่วมใช้หูฟังเพลงไปด้วยกันอย่างนั้นและ หากที่กล่าวมาข้างต้นตรงกับพฤติกรรมของคุณๆ ทั้งหลายล่ะก็เตรียมตัวเตรียมใจต้อนรับขบวนพาเหรดของอาการผิดปกติเกี่ยวกับ ระบบประสาทในหูกันได้เลยไม่ว่าจะเป็น หูอื้อ หูตึง หรือหูหนวก แม้ว่าการใช้หูฟังฟังเพลงระดับเสียงปกติที่ควรใช้คือไม่เกิน 80 เดซิเบล แต่ด้วยเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมรอบตัวในที่ที่เราอยู่ไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟ ฟ้า บนรถประจำทาง เสียงยวดยานบนท้องถนนฯลฯ เหล่านี้ทำให้เราต้องเพิ่มระดับเสียงในการฟังให้ดังมากขึ้นจนเกิดระดับเสียง ปกติ และหากฟังติดต่อกันนานจะส่งผลให้เซลล์ประสาทรับสัญญาณในหูเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินทีละน้อย…ทีละน้อย จนกระทั้งเกิดอาการหูตึง หรือหูหนวกในที่สุด

สัญญาณอันตรายของประสาทหูผิดปกติที่พบบ่อย - 1.ได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือใช้หูฟัง 2.มีอาการมึนงง หรือยืนทรงตัวไม่ได้ เมื่อตื่นนอน และ 3.หูอื้อจนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร *หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ขอแนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาโดยด่วนที่สุด

ข้อควรระวัง - 1.หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังฟังเพลงในที่ที่มีเสียงดัง 2.ไม่ควรเสียบหูฟังฟังเพลงตลอดเวลา แม้กระทั้งเวลาเข้านอน 3.หากใช้หูฟังฟังเพลง ควรปรับระดับเสียงไปที่ระดับกลาง และไม่ควรฟังต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง 4.หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ และ5.หมั่นทำความสะอาดหูฟังเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่นๆ

เคล็ดลับการดูแลหูอย่างคนมีสุขภาพดี - 1.ใช้ผ้าซุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วจะเช็ดเข้าไปได้ 2.ไม่จำเป็นต้องปั่นหรือแคะขี้หูเพราะโดยธรรมหากขี้หูมีจำนวนมากจะเคลื่อนตัวหรือ ร่วงออกมาเอง แต่หากต้องการทำความสะอาดอาจใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดเพียงหูชั้นนอกเท่านั้น และไม่ควรเช็ดเข้าไปลึกเกินครึ่งเซ็นติเมตร 3.ไม่ควรใช้ของมีคมหรือของแข็งจำพวกที่แคะหู หรือกิ๊บเสียบผมแคะหูหรือเขี่ยรูหู เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู และ 4.ระวังอย่าให้หูถูกกระแทกอย่างรุนแรงเพราะอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้

ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/58481.html

(teenee.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ธ.ค.56)

ที่มา: teenee.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 19/12/2556 เวลา 04:55:07 ดูภาพสไลด์โชว์ อันตรายจากการใช้หูฟังที่ผิดวิธี อาจทำให้คุณหูหนวกได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หูฟังที่วางขายในท้องตลาดนั้นมีให้เราเลือกได้มากมายหลายแบบ ตามลักษณะการใช้งานและการสวมใส่ไม่ว่าจะเป็น แบบสอดเข้าในหู (In-Ear), แบบครอบหู (Around-Ears) และแบบสวมแนบพอดีหู (On-Ear) ในแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดีและด้อยต่างกันไป แต่แบบที่กำลังเป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้ใช้งานเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา นั่น ก็คือหูฟังแบบ In-Ear นั่นเอง คุณทราบหรือไม่? ว่าหูฟังแบบสอดเข้าไปในหู (In-Ear) นั้นมีความเสี่ยงต่อการอาการ หูอื้อ หูตึง หรือหูหนวกได้ บรรยากาศภายในห้องประชุม เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะผ่านไปแห่งหนไหนก็จำต้องเห็นผู้คนมากมาย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น หรือแม้กระทั่งคนวัยทำงานปรากฏโฉมพร้อมๆ กับการใช้หูฟังจากโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 หรือไอพอดอยู่ตลอด ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมันจึงทำให้เราเพลิดเพลินสำเริงใจไปกับการฟังเพลงได้ ทุกที่ทุกเวลา แถมบางคนใจดีฟังคนเดียวก็กลัวเหงาเลยเผื่อแผ่เสียงเพลงมาฝากคนข้างๆ ให้ได้ยินประหนึ่งว่าได้ร่วมใช้หูฟังเพลงไปด้วยกันอย่างนั้นและ หากที่กล่าวมาข้างต้นตรงกับพฤติกรรมของคุณๆ ทั้งหลายล่ะก็เตรียมตัวเตรียมใจต้อนรับขบวนพาเหรดของอาการผิดปกติเกี่ยวกับ ระบบประสาทในหูกันได้เลยไม่ว่าจะเป็น หูอื้อ หูตึง หรือหูหนวก แม้ว่าการใช้หูฟังฟังเพลงระดับเสียงปกติที่ควรใช้คือไม่เกิน 80 เดซิเบล แต่ด้วยเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมรอบตัวในที่ที่เราอยู่ไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟ ฟ้า บนรถประจำทาง เสียงยวดยานบนท้องถนนฯลฯ เหล่านี้ทำให้เราต้องเพิ่มระดับเสียงในการฟังให้ดังมากขึ้นจนเกิดระดับเสียง ปกติ และหากฟังติดต่อกันนานจะส่งผลให้เซลล์ประสาทรับสัญญาณในหูเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินทีละน้อย…ทีละน้อย จนกระทั้งเกิดอาการหูตึง หรือหูหนวกในที่สุด สัญญาณอันตรายของประสาทหูผิดปกติที่พบบ่อย - 1.ได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือใช้หูฟัง 2.มีอาการมึนงง หรือยืนทรงตัวไม่ได้ เมื่อตื่นนอน และ 3.หูอื้อจนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร *หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ขอแนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาโดยด่วนที่สุด ข้อควรระวัง - 1.หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังฟังเพลงในที่ที่มีเสียงดัง 2.ไม่ควรเสียบหูฟังฟังเพลงตลอดเวลา แม้กระทั้งเวลาเข้านอน 3.หากใช้หูฟังฟังเพลง ควรปรับระดับเสียงไปที่ระดับกลาง และไม่ควรฟังต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง 4.หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ และ5.หมั่นทำความสะอาดหูฟังเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่นๆ เคล็ดลับการดูแลหูอย่างคนมีสุขภาพดี - 1.ใช้ผ้าซุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วจะเช็ดเข้าไปได้ 2.ไม่จำเป็นต้องปั่นหรือแคะขี้หูเพราะโดยธรรมหากขี้หูมีจำนวนมากจะเคลื่อนตัวหรือ ร่วงออกมาเอง แต่หากต้องการทำความสะอาดอาจใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดเพียงหูชั้นนอกเท่านั้น และไม่ควรเช็ดเข้าไปลึกเกินครึ่งเซ็นติเมตร 3.ไม่ควรใช้ของมีคมหรือของแข็งจำพวกที่แคะหู หรือกิ๊บเสียบผมแคะหูหรือเขี่ยรูหู เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู และ 4.ระวังอย่าให้หูถูกกระแทกอย่างรุนแรงเพราะอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/58481.html (teenee.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...