การดูแลภาวะปวดเข่า
ข้อเข่านับเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย อีกทั้งเป็นข้อที่ต้องทำงานหนักมาก เนื่องจากทุกครั้งที่คนเราเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา สาเหตุของการปวดเข่าที่พบบ่อยที่ห้องตรวจกระดูกและข้อ เช่น การได้รับบาดเจ็บจากกีฬาในอดีต อุบัติเหตุเก่าและมีเส้นเอ็นในข้อเข่าหรือกระดูกภายในข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ โรคข้ออักเสบเรื้อรังอาทิ รูมาตอยร์ โรคเนื้องอกหรือกระดูกงอกที่ข้อเข่าและโรคที่เกิดจากอายุการใช้งานมากหรือที่เรียกข้อเสื่อม
ข้อเขียนต่อจากนี้ไปจะเน้นถึงภาวการณ์ปวดเข่าในกลุ่มคนที่อายุเลย 40 ปีขึ้นไป โดยจะเน้นถึงสาเหตุที่พบบ่อยและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
ข้อเข่ามีลักษณะอย่างไร ข้อเข่าประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือกระดูกส่วนต้นขา ส่วนหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า มีเส้นเอ็นยึดอย่างแข็งแรงแต่มีความยืดหยุ่นระดับหนึ่ง กระดูกสะบ้ามีหน้าที่เป็นที่เกาะของเส้นเอ็นด้านหน้าของเข่าทำให้เข่ามีความ แข็งแรงเวลาจะก้าวขึ้นหรือลง
บริเวณภายในข้อเข่ามีกระดูกอ่อนที่มีความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร ลักษณะสีขาวเรียบมัน อีกทั้งยังมีหมอนรองข้อต่อที่เรียกว่าเมนิสคัส ช่วยทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่ามีการกระจายของแรงไปอย่างทั่วถึง
น้ำเลี้ยงข้อเข่า ปกติจะมีเพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยเพิ่มการหล่อลื่นของข้อ ไม่สามารถตรวจหรือเจาะดูดออกมาได้ แต่ในภาวะที่มีการอักเสบของข้อ ร่างกายจะสร้างน้ำออกมามากทำให้เกิดความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก
จากการศึกษาพบว่า ขณะเดิน น้ำหนักที่ลงมากระทำที่ข้อเข่าจะเป็น 3 เท่าของน้ำหนักตัว ขณะวิ่งจะเป็น 5 เท่า และถ้ากระโดดจะเป็น 7 เท่าของน้ำหนักตัว ผมจะลองยกตัวอย่างว่าคนที่น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม เวลาเดินน้ำหนักจะลงที่ข้อเข่าเท่ากับ 150 กิโลกรัม ถ้าวิ่งจะเป็น 250 กิโลกรัม และถ้ากระโดดจะเป็นประมาณ 350 กิโลกรัม !!
สาเหตุของการปวดเข่าที่พบบ่อยคืออะไร สำหรับกลุ่มคนที่วัยกลางคนขึ้นไปคือประมาณ 35 – 45 ปี สาเหตุที่พบบ่อยๆจะเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นรอบๆข้อเข่า โดยจะสังเกตอาการได้จากจะมีอาการเจ็บเมื่อเริ่มเคลื่อนไหวหลังจากที่อยู่ใน ท่าเดียวมานานๆ เช่น นั่งทำงานประมาณ 2 ชั่วโมงติดต่อกัน หรือนั่งรถไกลๆ พอจะลุกเดินแล้วเกิดอาการปวด หลังจากขยับไปสักครู่อาการจะเริ่มดีขึ้น อาจพบเห็นเป็นรอยแดงๆรอบๆข้อ ถ้าเป็นคนผิวค่อนข้างขาว
อีกสาเหตุหนึ่งคือข้ออักเสบ มักพบในกลุ่มที่อายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป เข่าจะดูบวมโดยรอบเมื่อเทียบกับอีกข้างหนึ่ง การบวมเนื่องจากมีการสร้างน้ำภายในข้อเข่าที่มากเกิน อาการจะปวดเกือบตลอดเวลา จะปวดยิ่งขึ้นถ้าต้องเดินหรือลงน้ำหนัก
การปฏิบัติตัวเมื่อมีปัญหาปวดเข่า 1. น้ำหนักตัว การลดน้ำหนักเพียงหนึ่งกิโลกรัม อาจทำให้อาการปวดเข่าดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้เข่ารับน้ำหนักลดลงถึงประมาณ 3 กิโลกรัม ทุกๆครั้งที่เดิน วิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลคือ พยายามลดอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล
2. การออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักหน่วง เช่น วิ่งหรือกระโดด เนื่องจากจะมีแรงกระทำที่ข้อเข่ามากเกินไป การเดินเร็วๆ จะทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลัง กระดูกได้รับการกระตุ้น หัวใจได้ทำงาน การกระแทกต่อข้อเข่าก็ไม่มากนัก
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานของข้อเข่า นิสัยการใช้งานที่ไม่ถูกต้องที่พบประจำเช่น การทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ จะทำให้เส้นเอ็นไม่มีการยืดหยุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีคุณภาพของเส้นเอ็นเริ่มไม่มีความยืดหยุ่นที่ดี เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทันทีทันใด จะทำให้มีการอักเสบระบมหรือบาดเจ็บของเส้นเอ็นรอบเข่าได้ นอกจากนี้การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องบางประการ อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น การไปบีบนวดอย่างรุนแรง การบีบนวดที่รุนแรงจะทำให้เกิดการระบม อันจะทำให้เกิดการปวดขึ้นมากไปกว่าเดิมอีก
4. ยาแก้ปวดหรือยารักษาอาการปวดข้อ ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ยาที่วงการแพทย์ยอมรับว่าปลอดภัยมากที่สุดในปัจจุบันคือพาราเซททามอล ( paracetamal ) ในกรณีที่อาการปวดไม่ดีขึ้นจริงๆ ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดข้อด้วยตนเอง ควรอย่างยิ่งที่จะทำการปรึกษากับแพทย์กระดูกและข้อ เนื่องจากสาเหตุของการปวดเข่ามีหลากหลายมาก อีกทั้งยาสำหรับรักษาการอักเสบของข้อและเส้นเอ็น จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
ยาแก้ปวดหรือแก้ปวดเข่าออกฤทธิ์อย่างไร ยาที่เรารับประทานจะออกฤทธิ์ได้ 2 ที่คือที่สมอง (โดยจะกดศูนย์ที่ควบคุมความเจ็บปวด) และที่ข้อเข่า ( โดยการลดการระบมของข้อหรือเส้นเอ็น) ผู้ป่วยหลายท่านมาปรึกษาว่าเวลากินยาอาการดีขึ้น แต่เมื่อหยุดยาไประยะหนึ่งอาการกลับเป็นอีก สาเหตุเนื่องจากอะไร ถ้าท่านประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ ขอให้ทำความเข้าใจว่า นั่นเป็นเพราะสาเหตุของการปวดเข่าที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข ยาที่รับประทานเพียงแต่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เคลื่อนไหวหรือใช้งานได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานยาแก้ปวดเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีเหตุผลที่จำเป็นจริงๆ ย่อมไม่มีความปลอดภัย สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือนิสัยการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง และเรื่องน้ำหนักตัว
นอกจากนั้นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเพียงไม่มาก อาจส่งผลต่ออาการของการปวดเข่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากการที่เข่าต้องรับน้ำหนักมาเป็นเวลาหลายสิบปี อีกทั้งเวลาใช้งานนั้นน้ำหนักที่เข่ารับจะเพิ่มมากกว่าปกติ 3 -4 เท่า จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมพบว่า คนเราจะมีน้ำหนักสมดุลของตนเองไม่เท่ากัน และน้ำหนักสมดุลนี้ควรจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
การปฏิบัติตัวในภาพรวม 1. หลีกเลี่ยงการทำงานในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะนั่งหรือยืนนาน 2. ไม่ควรนั่งยองๆหรือนั่งพับเข่ามากๆ เนื่องจากจะทำให้ผิวกระดูกส่วนต้นขา เสียดสีกับผิวกระดูกส่วนหน้าแข้งมาก 3. พยายามลดน้ำหนัก โดยตั้งเป้าหมายครั้งละ 1 กิโลกรัม 4. เมื่อปวด อย่าบีบนวดอย่างรุนแรง วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือใช้ของเย็นประคบ 5. ไม่ควรซื้อยาชุดรับประทาน เนื่องจากอาจมีตัวยาที่ประกอบด้วยสารสเตียร์รอย ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายมาก 6. การออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว เป็นการถนอมเข่า อีกทั้งสร้างความแข็งแรงของกระดูกส่วนอื่นๆด้วย 7. เมื่อปฏิบัติดังกล่าวแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพบกับแพทย์ที่ท่านคุ้นเคยเพื่อปรึกษา
ขอบคุณ... http://www.eldercarethailand.com/content/view/683/28/
eldercarethailand.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ธ.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้สูงอายุชายกำลังตีกอล์ฟข้อเข่านับเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย อีกทั้งเป็นข้อที่ต้องทำงานหนักมาก เนื่องจากทุกครั้งที่คนเราเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา สาเหตุของการปวดเข่าที่พบบ่อยที่ห้องตรวจกระดูกและข้อ เช่น การได้รับบาดเจ็บจากกีฬาในอดีต อุบัติเหตุเก่าและมีเส้นเอ็นในข้อเข่าหรือกระดูกภายในข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ โรคข้ออักเสบเรื้อรังอาทิ รูมาตอยร์ โรคเนื้องอกหรือกระดูกงอกที่ข้อเข่าและโรคที่เกิดจากอายุการใช้งานมากหรือที่เรียกข้อเสื่อม ข้อเขียนต่อจากนี้ไปจะเน้นถึงภาวการณ์ปวดเข่าในกลุ่มคนที่อายุเลย 40 ปีขึ้นไป โดยจะเน้นถึงสาเหตุที่พบบ่อยและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ข้อเข่ามีลักษณะอย่างไร ข้อเข่าประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือกระดูกส่วนต้นขา ส่วนหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า มีเส้นเอ็นยึดอย่างแข็งแรงแต่มีความยืดหยุ่นระดับหนึ่ง กระดูกสะบ้ามีหน้าที่เป็นที่เกาะของเส้นเอ็นด้านหน้าของเข่าทำให้เข่ามีความ แข็งแรงเวลาจะก้าวขึ้นหรือลง บริเวณภายในข้อเข่ามีกระดูกอ่อนที่มีความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร ลักษณะสีขาวเรียบมัน อีกทั้งยังมีหมอนรองข้อต่อที่เรียกว่าเมนิสคัส ช่วยทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่ามีการกระจายของแรงไปอย่างทั่วถึง น้ำเลี้ยงข้อเข่า ปกติจะมีเพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยเพิ่มการหล่อลื่นของข้อ ไม่สามารถตรวจหรือเจาะดูดออกมาได้ แต่ในภาวะที่มีการอักเสบของข้อ ร่างกายจะสร้างน้ำออกมามากทำให้เกิดความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่า ขณะเดิน น้ำหนักที่ลงมากระทำที่ข้อเข่าจะเป็น 3 เท่าของน้ำหนักตัว ขณะวิ่งจะเป็น 5 เท่า และถ้ากระโดดจะเป็น 7 เท่าของน้ำหนักตัว ผมจะลองยกตัวอย่างว่าคนที่น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม เวลาเดินน้ำหนักจะลงที่ข้อเข่าเท่ากับ 150 กิโลกรัม ถ้าวิ่งจะเป็น 250 กิโลกรัม และถ้ากระโดดจะเป็นประมาณ 350 กิโลกรัม !! สาเหตุของการปวดเข่าที่พบบ่อยคืออะไร สำหรับกลุ่มคนที่วัยกลางคนขึ้นไปคือประมาณ 35 – 45 ปี สาเหตุที่พบบ่อยๆจะเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นรอบๆข้อเข่า โดยจะสังเกตอาการได้จากจะมีอาการเจ็บเมื่อเริ่มเคลื่อนไหวหลังจากที่อยู่ใน ท่าเดียวมานานๆ เช่น นั่งทำงานประมาณ 2 ชั่วโมงติดต่อกัน หรือนั่งรถไกลๆ พอจะลุกเดินแล้วเกิดอาการปวด หลังจากขยับไปสักครู่อาการจะเริ่มดีขึ้น อาจพบเห็นเป็นรอยแดงๆรอบๆข้อ ถ้าเป็นคนผิวค่อนข้างขาว อีกสาเหตุหนึ่งคือข้ออักเสบ มักพบในกลุ่มที่อายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป เข่าจะดูบวมโดยรอบเมื่อเทียบกับอีกข้างหนึ่ง การบวมเนื่องจากมีการสร้างน้ำภายในข้อเข่าที่มากเกิน อาการจะปวดเกือบตลอดเวลา จะปวดยิ่งขึ้นถ้าต้องเดินหรือลงน้ำหนัก การปฏิบัติตัวเมื่อมีปัญหาปวดเข่า 1. น้ำหนักตัว การลดน้ำหนักเพียงหนึ่งกิโลกรัม อาจทำให้อาการปวดเข่าดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้เข่ารับน้ำหนักลดลงถึงประมาณ 3 กิโลกรัม ทุกๆครั้งที่เดิน วิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลคือ พยายามลดอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล 2. การออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักหน่วง เช่น วิ่งหรือกระโดด เนื่องจากจะมีแรงกระทำที่ข้อเข่ามากเกินไป การเดินเร็วๆ จะทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลัง กระดูกได้รับการกระตุ้น หัวใจได้ทำงาน การกระแทกต่อข้อเข่าก็ไม่มากนัก 3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานของข้อเข่า นิสัยการใช้งานที่ไม่ถูกต้องที่พบประจำเช่น การทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ จะทำให้เส้นเอ็นไม่มีการยืดหยุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่อายุมากกว่า 40 ปีคุณภาพของเส้นเอ็นเริ่มไม่มีความยืดหยุ่นที่ดี เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทันทีทันใด จะทำให้มีการอักเสบระบมหรือบาดเจ็บของเส้นเอ็นรอบเข่าได้ นอกจากนี้การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องบางประการ อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น การไปบีบนวดอย่างรุนแรง การบีบนวดที่รุนแรงจะทำให้เกิดการระบม อันจะทำให้เกิดการปวดขึ้นมากไปกว่าเดิมอีก 4. ยาแก้ปวดหรือยารักษาอาการปวดข้อ ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ยาที่วงการแพทย์ยอมรับว่าปลอดภัยมากที่สุดในปัจจุบันคือพาราเซททามอล ( paracetamal ) ในกรณีที่อาการปวดไม่ดีขึ้นจริงๆ ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดข้อด้วยตนเอง ควรอย่างยิ่งที่จะทำการปรึกษากับแพทย์กระดูกและข้อ เนื่องจากสาเหตุของการปวดเข่ามีหลากหลายมาก อีกทั้งยาสำหรับรักษาการอักเสบของข้อและเส้นเอ็น จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ยาแก้ปวดหรือแก้ปวดเข่าออกฤทธิ์อย่างไร ยาที่เรารับประทานจะออกฤทธิ์ได้ 2 ที่คือที่สมอง (โดยจะกดศูนย์ที่ควบคุมความเจ็บปวด) และที่ข้อเข่า ( โดยการลดการระบมของข้อหรือเส้นเอ็น) ผู้ป่วยหลายท่านมาปรึกษาว่าเวลากินยาอาการดีขึ้น แต่เมื่อหยุดยาไประยะหนึ่งอาการกลับเป็นอีก สาเหตุเนื่องจากอะไร ถ้าท่านประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ ขอให้ทำความเข้าใจว่า นั่นเป็นเพราะสาเหตุของการปวดเข่าที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข ยาที่รับประทานเพียงแต่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เคลื่อนไหวหรือใช้งานได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานยาแก้ปวดเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีเหตุผลที่จำเป็นจริงๆ ย่อมไม่มีความปลอดภัย สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือนิสัยการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง และเรื่องน้ำหนักตัว นอกจากนั้นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเพียงไม่มาก อาจส่งผลต่ออาการของการปวดเข่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากการที่เข่าต้องรับน้ำหนักมาเป็นเวลาหลายสิบปี อีกทั้งเวลาใช้งานนั้นน้ำหนักที่เข่ารับจะเพิ่มมากกว่าปกติ 3 -4 เท่า จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมพบว่า คนเราจะมีน้ำหนักสมดุลของตนเองไม่เท่ากัน และน้ำหนักสมดุลนี้ควรจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น การปฏิบัติตัวในภาพรวม 1. หลีกเลี่ยงการทำงานในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะนั่งหรือยืนนาน 2. ไม่ควรนั่งยองๆหรือนั่งพับเข่ามากๆ เนื่องจากจะทำให้ผิวกระดูกส่วนต้นขา เสียดสีกับผิวกระดูกส่วนหน้าแข้งมาก 3. พยายามลดน้ำหนัก โดยตั้งเป้าหมายครั้งละ 1 กิโลกรัม 4. เมื่อปวด อย่าบีบนวดอย่างรุนแรง วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือใช้ของเย็นประคบ 5. ไม่ควรซื้อยาชุดรับประทาน เนื่องจากอาจมีตัวยาที่ประกอบด้วยสารสเตียร์รอย ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกายมาก 6. การออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว เป็นการถนอมเข่า อีกทั้งสร้างความแข็งแรงของกระดูกส่วนอื่นๆด้วย 7. เมื่อปฏิบัติดังกล่าวแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพบกับแพทย์ที่ท่านคุ้นเคยเพื่อปรึกษา ขอบคุณ... http://www.eldercarethailand.com/content/view/683/28/ eldercarethailand.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ธ.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)