ไฟฟ้าช๊อตช่วยลบความทรงจำที่เลวร้าย

ภาพ โครงร่างสมองคน

ถึงแม้ว่าเราจะยังอยู่ห่างไกลจากการลบความทรงจำที่เห็นกันในภาพยนตร์ก็ตาม แต่การทดลองเมื่อไม่นานมานี้ก็พาเราใกล้เข้าไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว โดยการใช้การบำบัดทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า ( electroconvulsive theraphy หรือ ECT ) กับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถรบกวนการนึกถึง ความทรงจำที่เลวร้ายได้

ทุกครั้งที่เรานึกถึงความทรงจำใดๆเราจะต้องดึงมันออกมาจากภายในจิตใจของเรา ซึ่งถ้าตามหลักทฤษฏีดังกล่าวนี่แล้ว ความทรงจำเหล่านี้จะต้องถูกเขียนกลับลงไปในวงจรของสมองทุกครั้งที่ถูกเรียก ขึ้นมาอ่าน กระบวนการดังกล่าวนั้นถูกเรียกว่ากระบวนการการรวมตัวใหม่ และเป็นแนวคิดสำคัญเบื้องหลังการทดลองครั้งล่าสุดโดย Marigin Kroes และเพื่อนร่วมงานของเขาจาก Radboud University Nijimegen

Are Memories Reliable? Our memories are who we are — they make up our personalities and our history. But can they be trusted? Laci looks at how our own memory works and how it's failing us every day of our lives. DNEWS VIDEO

ด้วยการบำบัดทางจิตเวชด้วยไฟ้ฟ้าหรือ ECT นั้น นักประสาทวิทยาทั้งหลายต่างก็คาดหวังที่จะรบกวนกระบวนการรวมตัวใหม่นี้ โดยพวกเขาต้องการที่จะรบกวนการรวมตัวของความทรงจำที่เลวร้ายหรือไม่ดีต่างๆ ที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องกับเผชิญอยู่ และในอนาคตนั้นเทคนิคที่ดีขึ้นกว่าเดิมอาจจะถูกใช้เพื่อบำบัดอาการจิตต่างๆ รวมถึงการติดสารเสพติดด้วย

ในการทดลองนั้น เขาได้นำผู้ป่วยทั้งสิ้น 39 คนเข้ารับการบำบัดด้วย ECT โดยการรักษานั้นถูกกระทำโดยการใช้กระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นสมองทำให้เกิดการชัก ชั่วคราวในระหว่างที่คนไข้จะได้รับยาคลายกล้ามเนื้อและยาสลบ ซึ่งคนไข้ได้ถูกขอให้ดูวิดีโอทีสองเรื่อง โดยเรื่องแรกเกี่ยวกับอุบัติเหตุและการผ่าตัด ส่วนเรื่องที่สองเกี่ยวกับคนที่ถูกจู่โจมและลักพาตัว หลังจากหนึ่งอาทิตย์ให้หลังนั้น คนไข้ได้ถูกขอให้นึกถึงรายละเอียดของหนึ่งในวิดิโอที่ได้ดูไป ซึ่งในภายหลังถูกจัดเรียงให้อยู่ในกลุ่มสามกลุ่มแบบสุ่ม

สมาชิกในกลุ่มที่หนึ่งและสองนั้นถูกรักษาด้วย ECT โดยทันทีหลังการเล่าเรื่องที่ตัวเองสามารถนึกออกมาได้ โดยในวันต่อมานั้นสมาชิกของกลุ่มแรกจะต้องตอบคำถามปรนัยเกี่ยวกับวิดิโอทั้ง สองเรื่อง ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจว่าพวกเขาสามารถนึกถึงเรื่องที่ตัวเองไม่ได้ถูกขอ ให้นึกถึงในการทดลองครั้งที่ผ่านมาได้ดีกว่า

Their recall ability for the recounted story was no better than chance. Group B, on the other hand, had their memories tested about 90 minutes after the ECT, and their recall abilities were intact — suggesting that it takes time to impair a memory. Group C did not receive ECT at all, and their recall abilities were solid, indicating that both ECT and reconsolidation is required to impair memory recall.

So this study furthers the memory reconsolidation theory. The technique could also prove useful for therapists — albeit a very blunt one.

ส่วนสำหรับกล่มที่สองนั้นได้ถูกทดสอบทันที 90 นาทีหลังจากการบำบัดด้วย ECT ซึ่งความสามารถในการระลึกถึงความทรงจำนั้นยังดีอยู่ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าการทำลายความทรงจำนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ในขณะที่กลุ่ม C นั้นไม่ได้รับการรักษาด้วย ECT เลย และยังสามารถนึกถึงเรื่องราวของวิดิโอได้อย่างแม่นยำด้วย ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นตัวบ่งบอกว่าการที่จะทำลายความทรงจำลงนั้นจำเป็นจะต้อง ใช้ทั้งการบำบัดทางจิตวิทยาด้วยไฟฟ้า และกระบวนการรวมความทรงจำใหม่ควบคู่กันไป

การทดลองดังกล่าวนั้นนอกจากจะให้ผลลัพธ์ที่สนับสนุนทฤษฎีการรวมตัวใหม่ของ ความทรงจำแล้ว ยังเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าวิธีการดังกล่าวอาจจะมีประโยชน์ต่อแพทย์ด้วย แม้จะเป็นวิธีที่ค่อนข้างรุนแรงไปหน่อยก็ตา

Written by faceoffact on December 29, 2013. Posted in วิทยาศาสตร์, สุขภาพ, เทคโนโลยี

ที่มา: http://news.discovery.com/tech/biotechnology/shock-therapy-could-erase-disturbing-memories-131224.htm

ขอบคุณ http://www.vcharkarn.com/vnews/447941

(vcharkarn.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ธ.ค.56 )

ที่มา: admin
วันที่โพสต์: 30/12/2556 เวลา 04:00:51 ดูภาพสไลด์โชว์ ไฟฟ้าช๊อตช่วยลบความทรงจำที่เลวร้าย