ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ตรวจพบเร็วรักษาได้ทันท่วงที

แสดงความคิดเห็น

แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้ออักเสบเรื้อรัง โรคดังกล่าวหลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่ในความจริงนั้นมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคนี้และด้วยความที่ร่าง กายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความต่างกันจึงทำให้โรคข้ออักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ไม่เหมือนกันจึงเรียกโรคข้ออักเสบที่เกิดกับเด็กนี้ว่าโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก

แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัว เองหรือที่เรียกว่า ภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หมายถึง ภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานเกินหน้าที่เพราะหลังจากที่กำจัดเชื้อโรคไปแล้วภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่จนทำร้ายร่างกายแทนที่จะปกป้อง

“โรคดังกล่าวปัญหาอยู่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก อีกทั้งหลายคนไม่คาดคิดว่าสามารถจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยเด็กจะมีอาการปวดข้อ ปวดอักเสบได้เหมือนในผู้ใหญ่ ที่สำคัญเมื่อเด็กมีอาการปวดข้อ ข้อบวม และข้ออักเสบแต่ไม่สามารถอธิบายอาการสื่อสารถึงความเจ็บปวดได้ ซึ่งกว่าพ่อแม่จะทราบ เด็กต้องทนทุกข์ทรมานมีอาการข้ออักเสบมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งในบางรายอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้”

ข้อเท้าของเด็กที่มีอาการข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดภูมิต้านทาน จึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุบางอย่าง ภาวะติดเชื้อ ภาวะอุบัติเหตุกระตุ้นให้โรคกำเริบ ฯลฯ ยังคงเป็นเพียงข้อสงสัยซึ่งยังสรุปไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันโรคดังกล่าวไม่เพียงเป็นปัญหาเฉพาะในบ้านเรา หากแต่ยังเป็นปัญหาในหลายๆประเทศ

การสังเกตความผิดปกติของอาการและการเข้าถึงการรักษาแต่เนิ่น ๆ สิ่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรสังเกตความผิดปกติโดยถ้าลูกมี อาการข้อบวม หากเป็นมานานอาจทำให้มีน้ำอยู่ในข้อ เวลาที่จับมือจะรู้สึกอุ่นกว่าข้อข้างที่ปกติ มีรอยแดงบริเวณข้อ จับแล้วมีอาการเจ็บหรือมีภาวะกระดูกบริเวณที่อักเสบโตกว่าปกติทำให้ขาหรือแขนยาวกว่าอีกข้างและหากเป็นบริเวณข้อเข่าอาจสังเกตได้ว่ามีรอยบุ๋มข้างๆ

ส่วนอาการข้อติดช่วงเช้าที่เรียกว่า ภาวะมอร์นิ่ง สติฟฟ์ เนส (Morning Stiffness) หรือ ช่วงที่อากาศเย็นซึ่งทำให้ขยับข้อลำบากและปวดข้อมาก สังเกตได้จากเด็กจะเดินกะเผลกหลังจากตื่นนอน เนื่องจากเวลาหลับไม่ได้ขยับตัวทำให้สารอักเสบหลั่งออกมา แต่พอตื่นนอนขยับข้อ หรือช่วงที่อากาศอุ่นขึ้นอาการข้อติดจะดีขึ้นทุเลาลงซึ่งในอาการลักษณะนี้อาจทำให้เด็กบางรายไม่สามารถนอนกลางวันหรือนั่งเรียนทั้งวันได้

นอกจากนี้อาการปวดข้อซึ่งส่วนมากเกิดในช่วงเช้าหรือช่วงที่อากาศเย็น บางรายอาจมีอาการปวดทั้งวัน สังเกตจากเด็กที่เป็นข้ออักเสบที่ ข้อเข่า จะไม่ยอมเดินจะร้องให้อุ้มตลอดเวลา หากเป็นที่ ข้อตะโพก จะเจ็บเวลาถูกอุ้ม ส่วนข้ออักเสบที่ ข้อมือ จะเจ็บเวลาถูกจับมือหรือจูงเดิน และหากเป็นที่ข้อเท้า เด็กก็จะเดินกะเผลก หากเป็นมากอาจเดินไม่ได้และในบางรายที่เป็น บริเวณกระดูกต้นคอ จะทำให้ไม่สามารถเงยหน้าหรือก้มหัวได้สุดทำให้มีปัญหาเวลาก้มลงเก็บของและ เด็กบางคนอาจไม่สามารถหันซ้ายขวาได้ ถ้าข้ออักเสบ บริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจสังเกตได้ยากโดยเด็กที่เป็นข้ออักเสบบริเวณนี้จะอ้าปากได้ไม่สุด และปวดเวลาขยับกรามหรือเคี้ยวอาหารอาจอ้าปากได้ไม่เท่ากันสองข้างซึ่งหากเป็นนานอาจทำให้คางเล็กไป

อีกทั้งยังอาจพบอาการอื่น ๆ อาทิ ตาอักเสบ ไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไข้จะขึ้นสูงในเวลาเดิมทุกวัน หรือมีผื่นเม็ดแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นเวลาที่มีไข้ขึ้น และเมื่อไข้ลงผื่นก็จะหายไปไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที

มือของเด้กที่มีอาการข้ออักเสบ ปัจจุบันโรคข้ออักเสบ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยอาการแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ Systemic onset juvenile idiopathic arthritis (SoJIA) เป็นชนิดที่รุนแรงมากที่สุดและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะมีอาการอยู่ในหลายระบบของร่างกาย โดยเด็กจะเป็นไข้สูงกว่า 2 อาทิตย์ และมีผื่นแดง ที่เรียกว่า ผื่นแซลมอนขึ้นตามร่างกายเป็น ๆ หาย ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับการรักษารวดเร็วทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

“โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กสามารถพบได้นับแต่อายุไม่ถึงหนึ่งขวบปีถึง 16 ปีโดยเด็กที่พบตั้งแต่อายุน้อยจะยิ่งสังเกตความผิดปกติได้ยากเนื่องจากเด็ก เล็กอาจไม่สามารถสื่อสารบอกความเจ็บปวดได้ การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่า CBC, ESR และ CRP และสำหรับวิธีการรักษาใช้ยาหลายประเภท อาทิ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดเม็ดซึ่งเป็นยาชนิดแรกที่เด็กป่วยด้วย โรคข้ออักเสบทุกคนจะได้รับ ยากลุ่มสารชีวภาพ ยาที่ออกฤทธิ์เร็วและประสิทธิภาพสูงสามารถจับสารที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบได้ โดยตรงแต่ราคาค่อนข้างสูงฯลฯ”

แพทย์ท่านเดิมกล่าวเพิ่มอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการทานของดิบรวมทั้งต้องทำกายภาพบำบัด และออกกำลังอย่างถูกวิธีควบคู่ไปกับการทานยาร่วมด้วย ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/183319/%26quot%3Bข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก%26quot%3B+ตรวจพบเร็ว...รักษาได้ทันท่วงที (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.พ.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 4/02/2557 เวลา 04:52:28 ดูภาพสไลด์โชว์ ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ตรวจพบเร็วรักษาได้ทันท่วงที

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ข้ออักเสบเรื้อรัง โรคดังกล่าวหลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่ในความจริงนั้นมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคนี้และด้วยความที่ร่าง กายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความต่างกันจึงทำให้โรคข้ออักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ไม่เหมือนกันจึงเรียกโรคข้ออักเสบที่เกิดกับเด็กนี้ว่าโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัว เองหรือที่เรียกว่า ภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หมายถึง ภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานเกินหน้าที่เพราะหลังจากที่กำจัดเชื้อโรคไปแล้วภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่จนทำร้ายร่างกายแทนที่จะปกป้อง “โรคดังกล่าวปัญหาอยู่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก อีกทั้งหลายคนไม่คาดคิดว่าสามารถจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยเด็กจะมีอาการปวดข้อ ปวดอักเสบได้เหมือนในผู้ใหญ่ ที่สำคัญเมื่อเด็กมีอาการปวดข้อ ข้อบวม และข้ออักเสบแต่ไม่สามารถอธิบายอาการสื่อสารถึงความเจ็บปวดได้ ซึ่งกว่าพ่อแม่จะทราบ เด็กต้องทนทุกข์ทรมานมีอาการข้ออักเสบมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งในบางรายอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้” ข้อเท้าของเด็กที่มีอาการข้ออักเสบโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดภูมิต้านทาน จึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุบางอย่าง ภาวะติดเชื้อ ภาวะอุบัติเหตุกระตุ้นให้โรคกำเริบ ฯลฯ ยังคงเป็นเพียงข้อสงสัยซึ่งยังสรุปไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันโรคดังกล่าวไม่เพียงเป็นปัญหาเฉพาะในบ้านเรา หากแต่ยังเป็นปัญหาในหลายๆประเทศ การสังเกตความผิดปกติของอาการและการเข้าถึงการรักษาแต่เนิ่น ๆ สิ่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรสังเกตความผิดปกติโดยถ้าลูกมี อาการข้อบวม หากเป็นมานานอาจทำให้มีน้ำอยู่ในข้อ เวลาที่จับมือจะรู้สึกอุ่นกว่าข้อข้างที่ปกติ มีรอยแดงบริเวณข้อ จับแล้วมีอาการเจ็บหรือมีภาวะกระดูกบริเวณที่อักเสบโตกว่าปกติทำให้ขาหรือแขนยาวกว่าอีกข้างและหากเป็นบริเวณข้อเข่าอาจสังเกตได้ว่ามีรอยบุ๋มข้างๆ ส่วนอาการข้อติดช่วงเช้าที่เรียกว่า ภาวะมอร์นิ่ง สติฟฟ์ เนส (Morning Stiffness) หรือ ช่วงที่อากาศเย็นซึ่งทำให้ขยับข้อลำบากและปวดข้อมาก สังเกตได้จากเด็กจะเดินกะเผลกหลังจากตื่นนอน เนื่องจากเวลาหลับไม่ได้ขยับตัวทำให้สารอักเสบหลั่งออกมา แต่พอตื่นนอนขยับข้อ หรือช่วงที่อากาศอุ่นขึ้นอาการข้อติดจะดีขึ้นทุเลาลงซึ่งในอาการลักษณะนี้อาจทำให้เด็กบางรายไม่สามารถนอนกลางวันหรือนั่งเรียนทั้งวันได้ นอกจากนี้อาการปวดข้อซึ่งส่วนมากเกิดในช่วงเช้าหรือช่วงที่อากาศเย็น บางรายอาจมีอาการปวดทั้งวัน สังเกตจากเด็กที่เป็นข้ออักเสบที่ ข้อเข่า จะไม่ยอมเดินจะร้องให้อุ้มตลอดเวลา หากเป็นที่ ข้อตะโพก จะเจ็บเวลาถูกอุ้ม ส่วนข้ออักเสบที่ ข้อมือ จะเจ็บเวลาถูกจับมือหรือจูงเดิน และหากเป็นที่ข้อเท้า เด็กก็จะเดินกะเผลก หากเป็นมากอาจเดินไม่ได้และในบางรายที่เป็น บริเวณกระดูกต้นคอ จะทำให้ไม่สามารถเงยหน้าหรือก้มหัวได้สุดทำให้มีปัญหาเวลาก้มลงเก็บของและ เด็กบางคนอาจไม่สามารถหันซ้ายขวาได้ ถ้าข้ออักเสบ บริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจสังเกตได้ยากโดยเด็กที่เป็นข้ออักเสบบริเวณนี้จะอ้าปากได้ไม่สุด และปวดเวลาขยับกรามหรือเคี้ยวอาหารอาจอ้าปากได้ไม่เท่ากันสองข้างซึ่งหากเป็นนานอาจทำให้คางเล็กไป อีกทั้งยังอาจพบอาการอื่น ๆ อาทิ ตาอักเสบ ไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไข้จะขึ้นสูงในเวลาเดิมทุกวัน หรือมีผื่นเม็ดแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นเวลาที่มีไข้ขึ้น และเมื่อไข้ลงผื่นก็จะหายไปไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที มือของเด้กที่มีอาการข้ออักเสบปัจจุบันโรคข้ออักเสบ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยอาการแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ Systemic onset juvenile idiopathic arthritis (SoJIA) เป็นชนิดที่รุนแรงมากที่สุดและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะมีอาการอยู่ในหลายระบบของร่างกาย โดยเด็กจะเป็นไข้สูงกว่า 2 อาทิตย์ และมีผื่นแดง ที่เรียกว่า ผื่นแซลมอนขึ้นตามร่างกายเป็น ๆ หาย ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับการรักษารวดเร็วทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ “โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กสามารถพบได้นับแต่อายุไม่ถึงหนึ่งขวบปีถึง 16 ปีโดยเด็กที่พบตั้งแต่อายุน้อยจะยิ่งสังเกตความผิดปกติได้ยากเนื่องจากเด็ก เล็กอาจไม่สามารถสื่อสารบอกความเจ็บปวดได้ การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่า CBC, ESR และ CRP และสำหรับวิธีการรักษาใช้ยาหลายประเภท อาทิ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดเม็ดซึ่งเป็นยาชนิดแรกที่เด็กป่วยด้วย โรคข้ออักเสบทุกคนจะได้รับ ยากลุ่มสารชีวภาพ ยาที่ออกฤทธิ์เร็วและประสิทธิภาพสูงสามารถจับสารที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบได้ โดยตรงแต่ราคาค่อนข้างสูงฯลฯ” แพทย์ท่านเดิมกล่าวเพิ่มอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการทานของดิบรวมทั้งต้องทำกายภาพบำบัด และออกกำลังอย่างถูกวิธีควบคู่ไปกับการทานยาร่วมด้วย ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/183319/%26quot%3Bข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก%26quot%3B+ตรวจพบเร็ว...รักษาได้ทันท่วงที เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...