สมองรู้จำคำพูดได้อย่างไร

แสดงความคิดเห็น

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ็ดเวิร์ด เอฟ. ชาง นักประสาทวิทยา

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซาน ฟรานซิสโก รายงานคำอธิบายว่า เสียงพูดถูกรู้จำในสมองได้อย่างไร ทำให้เรามีโอกาสที่จะเข้าใจพื้นฐานของภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังบอกว่า อาจจะทำให้เราเข้าใจบุคคลที่มีปัญหาด้านการใช้ภาษา หรือมีความบกพร่องทางทักษะทางการเรียนรู้ได้

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีว่า ตำแหน่งที่เสียงถูกประมวลผลในสมองคือตำแหน่งใดในสมอง แต่ไม่ค่อยจะมีการค้นพบด้านนี้เพิ่มเติมสักเท่าไหร่ ล่าสุด นักวิจัยที่ UCSF ได้รายงานว่า สมองไม่ได้ตอบสนองต่อชิ้นส่วนของเสียงที่เรียกว่า "โฟนีม" เช่นเสียง b ในคำว่า boy แต่จะถูกปรับให้ตรวจจับส่วนที่ง่ายกว่านั้น ที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่า "ฟีเจอร์" โดยการค้นพบนี้ได้รับการเผยแพร่ที่ Science Express อันเป็นเวอร์ชั่นออนไลน์ของวารสารวิชาการ Science นั่นเอง

นักวิจัยชี้ว่า โครงสร้างนี้จะทำให้ผู้ฟังสามารถแปลคำพูดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการเปล่งเสียงโฟนีมของผู้พูดแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ็ดเวิร์ด เอฟ. ชาง นักประสาทวิทยาในการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะทำให้เราเข้าใจผู้ที่มีความบกพร่องในการอ่านมากขึ้น เพราะข้อความที่พิมพ์บนกระดาษนั้นจะถูกโยงเข้ากับเสียงพูด และเนื่องจากว่าเสียงพูดและภาษาจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีประโยชน์

"นี่เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจกระบวนการประมวลผลคำพูด เรารู้แล้วว่าสมองส่วนไหนที่ประมวลผลคำพูด แต่ไม่มีใครรู้จริงหรอกว่ามันประมวลผลได้อย่างไร" รศ.ชาง อธิบาย แม้ว่าปกติเราจะไม่ได้พยายามอะไรมากเพื่อจะเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด แต่การประมวลผลคำพูดเข้าไปสู่สมองนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ คำพูดเป็นโครงสร้างทางเสียงที่ซับซ้อนและแปรปรวน และเราก็สามารถแตกสัญญาณเหล่านั้นเข้าไปเป็นโฟนีมแต่ละตัวและจากนั้นก็นำมา รวมกันเป็นคำๆ ตีความหมายออกมาได้

และเนื่องจากการที่มันซับซ้อนนี้เอง งานวิจัยที่ผ่านมาจึงพยายามจะวิเคราะห์การตอบสมองของสมองโดยใช้เสียงธรรมชาติหรือเสียงสังเคราะห์เพียงไม่กี่เสียงเท่านั้น แต่ในงานวิจัยครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้ใช้ประโยคที่พูดกันในชีวิตประจำวันที่มีโฟนีมในภาษาอังกฤษค่อนข้างจะครบถ้วน ในการจับการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำพูดนั้น นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์บันทึกประสาทที่วางงไว้ที่ผิวของสมองของ ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมู 6 ราย

ผู้ป่วยจะฟังเสียประโยคภาษาอังกฤษ 500 ประโยคที่ไม่เหมือนกันจากคนพูด 400 คน ในขณะเดียวกัน นักวิจัยก็จะบันทึกพื้นที่สมองที่เรียกว่า superior temporal gyrus (STG) ที่เคยมีการค้นพบว่าเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้คำพูด นักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งสมมติฐานว่า เซลล์สมองในสมองส่วน STG น่าจะตอบสนองกับโฟนีม แต่นักวิจัยพบว่า สมองส่วน STG นั้นถูกปรับให้ตอบสนองต่อฟีเจอร์ทางเสียงที่ละเอียดกว่านั้นที่อ้างอิงไปยัง วิธีการพูดของของแต่ละคน

"พื้นที่สมองส่วนนี้กระจายอยู่ทั่วไปใน STG และผลก็คือ ถ้าเราได้ยินเสียงคำพูดที่ไม่เหมือนกัน สมองส่วนที่จะเปล่งประกายขึ้นมาก็ไม่เหมือนกันด้วย" ผศ.ดร.นีมา เมสการานี่ นักวิจัยร่วมเผย

"ฟีเจอร์"ในทางภาษาศาสตร์นี้คือ สัญลักษณ์ทางเสียงที่โดดเด่นและถูกสร้างขึ้นเมื่อผู้พูดขยับปาก ลิ้น หรือกล่องเสียง ตัวอย่างเช่น ถ้าเราออกเสียงตัว p t k b และ d ผู้พูดจะต้องใช้ปากหรือลิ้นเพื่อกั้นลมก่อนที่จะปล่อยอากาศออกมา เมื่อปล่อยเสียงออกไปแล้วก็จะเกิดลมดันซึ่งนำไปสู่เสียงที่เรียกว่า "เสียงระเบิด" ในขณะที่เสียงอย่าง s z และ v จะถูกเรียกว่า "เสียงแทรก" เพราะมีลมบางส่วนที่ก่อให้เกิดการเสียงสีจนออกมาเป็นเสียง

การออกเสียงระเบิดแต่ละเสียงจะสร้างรูปแบบของเสียงที่เป็นเสียงพยัญชนะ เช่นเดียวกับเสียงแทรก ทีมวิจัยของ รศ.ชางพบว่า สมองในส่วน STG จะถูกปรับให้เข้ากับฟีเจอร์เสียงระเบิด เสียงแทรกเหล่านี้ มากกว่าที่จะระบุออกมาเป็นฟีโนมแต่ละตัว เช่น b หรือ z

รศ.ชางบอกว่า การที่ทีมวิจัยค้นพบเรื่อง STG นี่ก็คล้ายๆกับระบบมองภาพที่จะมีการตรวจจับขอบและรูปร่างของภาพ ทำให้เราจดจำวัตถุได้ และเมื่อมาคำนึงในเรื่องของเสียงและคำพูดและสถานการณ์ ก็พบว่า เหตุผลก็สมเหตุสมผลดี

"มันเป็นการตอบสนองที่จะทำให้เห็นภาพของฟีโนมที่ชัดเจนขึ้น จากการศึกษาเสียงพูดทั้งหมดในภาษาอังกฤษ เราพบว่า สมองมีการประมวลผลเสียงฟีเจอร์พื้นฐานที่เป็นระบบและชัดเจน คล้ายกับธาตุในตารางธาตุเลย" รศ.ชาง ทิ้งท้าย

ขอบคุณ http://www.vcharkarn.com/vnews/448102 (ขนาดไฟล์: 167)

(vcharkarn.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.57)

ที่มา: vcharkarn.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 3/02/2557 เวลา 07:38:37 ดูภาพสไลด์โชว์ สมองรู้จำคำพูดได้อย่างไร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ็ดเวิร์ด เอฟ. ชาง นักประสาทวิทยา นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซาน ฟรานซิสโก รายงานคำอธิบายว่า เสียงพูดถูกรู้จำในสมองได้อย่างไร ทำให้เรามีโอกาสที่จะเข้าใจพื้นฐานของภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังบอกว่า อาจจะทำให้เราเข้าใจบุคคลที่มีปัญหาด้านการใช้ภาษา หรือมีความบกพร่องทางทักษะทางการเรียนรู้ได้ ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ทราบกันดีว่า ตำแหน่งที่เสียงถูกประมวลผลในสมองคือตำแหน่งใดในสมอง แต่ไม่ค่อยจะมีการค้นพบด้านนี้เพิ่มเติมสักเท่าไหร่ ล่าสุด นักวิจัยที่ UCSF ได้รายงานว่า สมองไม่ได้ตอบสนองต่อชิ้นส่วนของเสียงที่เรียกว่า "โฟนีม" เช่นเสียง b ในคำว่า boy แต่จะถูกปรับให้ตรวจจับส่วนที่ง่ายกว่านั้น ที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่า "ฟีเจอร์" โดยการค้นพบนี้ได้รับการเผยแพร่ที่ Science Express อันเป็นเวอร์ชั่นออนไลน์ของวารสารวิชาการ Science นั่นเอง นักวิจัยชี้ว่า โครงสร้างนี้จะทำให้ผู้ฟังสามารถแปลคำพูดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการเปล่งเสียงโฟนีมของผู้พูดแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ็ดเวิร์ด เอฟ. ชาง นักประสาทวิทยาในการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะทำให้เราเข้าใจผู้ที่มีความบกพร่องในการอ่านมากขึ้น เพราะข้อความที่พิมพ์บนกระดาษนั้นจะถูกโยงเข้ากับเสียงพูด และเนื่องจากว่าเสียงพูดและภาษาจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีประโยชน์ "นี่เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจกระบวนการประมวลผลคำพูด เรารู้แล้วว่าสมองส่วนไหนที่ประมวลผลคำพูด แต่ไม่มีใครรู้จริงหรอกว่ามันประมวลผลได้อย่างไร" รศ.ชาง อธิบาย แม้ว่าปกติเราจะไม่ได้พยายามอะไรมากเพื่อจะเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด แต่การประมวลผลคำพูดเข้าไปสู่สมองนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ คำพูดเป็นโครงสร้างทางเสียงที่ซับซ้อนและแปรปรวน และเราก็สามารถแตกสัญญาณเหล่านั้นเข้าไปเป็นโฟนีมแต่ละตัวและจากนั้นก็นำมา รวมกันเป็นคำๆ ตีความหมายออกมาได้ และเนื่องจากการที่มันซับซ้อนนี้เอง งานวิจัยที่ผ่านมาจึงพยายามจะวิเคราะห์การตอบสมองของสมองโดยใช้เสียงธรรมชาติหรือเสียงสังเคราะห์เพียงไม่กี่เสียงเท่านั้น แต่ในงานวิจัยครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้ใช้ประโยคที่พูดกันในชีวิตประจำวันที่มีโฟนีมในภาษาอังกฤษค่อนข้างจะครบถ้วน ในการจับการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำพูดนั้น นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์บันทึกประสาทที่วางงไว้ที่ผิวของสมองของ ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมู 6 ราย ผู้ป่วยจะฟังเสียประโยคภาษาอังกฤษ 500 ประโยคที่ไม่เหมือนกันจากคนพูด 400 คน ในขณะเดียวกัน นักวิจัยก็จะบันทึกพื้นที่สมองที่เรียกว่า superior temporal gyrus (STG) ที่เคยมีการค้นพบว่าเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้คำพูด นักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งสมมติฐานว่า เซลล์สมองในสมองส่วน STG น่าจะตอบสนองกับโฟนีม แต่นักวิจัยพบว่า สมองส่วน STG นั้นถูกปรับให้ตอบสนองต่อฟีเจอร์ทางเสียงที่ละเอียดกว่านั้นที่อ้างอิงไปยัง วิธีการพูดของของแต่ละคน "พื้นที่สมองส่วนนี้กระจายอยู่ทั่วไปใน STG และผลก็คือ ถ้าเราได้ยินเสียงคำพูดที่ไม่เหมือนกัน สมองส่วนที่จะเปล่งประกายขึ้นมาก็ไม่เหมือนกันด้วย" ผศ.ดร.นีมา เมสการานี่ นักวิจัยร่วมเผย "ฟีเจอร์"ในทางภาษาศาสตร์นี้คือ สัญลักษณ์ทางเสียงที่โดดเด่นและถูกสร้างขึ้นเมื่อผู้พูดขยับปาก ลิ้น หรือกล่องเสียง ตัวอย่างเช่น ถ้าเราออกเสียงตัว p t k b และ d ผู้พูดจะต้องใช้ปากหรือลิ้นเพื่อกั้นลมก่อนที่จะปล่อยอากาศออกมา เมื่อปล่อยเสียงออกไปแล้วก็จะเกิดลมดันซึ่งนำไปสู่เสียงที่เรียกว่า "เสียงระเบิด" ในขณะที่เสียงอย่าง s z และ v จะถูกเรียกว่า "เสียงแทรก" เพราะมีลมบางส่วนที่ก่อให้เกิดการเสียงสีจนออกมาเป็นเสียง การออกเสียงระเบิดแต่ละเสียงจะสร้างรูปแบบของเสียงที่เป็นเสียงพยัญชนะ เช่นเดียวกับเสียงแทรก ทีมวิจัยของ รศ.ชางพบว่า สมองในส่วน STG จะถูกปรับให้เข้ากับฟีเจอร์เสียงระเบิด เสียงแทรกเหล่านี้ มากกว่าที่จะระบุออกมาเป็นฟีโนมแต่ละตัว เช่น b หรือ z รศ.ชางบอกว่า การที่ทีมวิจัยค้นพบเรื่อง STG นี่ก็คล้ายๆกับระบบมองภาพที่จะมีการตรวจจับขอบและรูปร่างของภาพ ทำให้เราจดจำวัตถุได้ และเมื่อมาคำนึงในเรื่องของเสียงและคำพูดและสถานการณ์ ก็พบว่า เหตุผลก็สมเหตุสมผลดี "มันเป็นการตอบสนองที่จะทำให้เห็นภาพของฟีโนมที่ชัดเจนขึ้น จากการศึกษาเสียงพูดทั้งหมดในภาษาอังกฤษ เราพบว่า สมองมีการประมวลผลเสียงฟีเจอร์พื้นฐานที่เป็นระบบและชัดเจน คล้ายกับธาตุในตารางธาตุเลย" รศ.ชาง ทิ้งท้าย ขอบคุณ http://www.vcharkarn.com/vnews/448102 (vcharkarn.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ม.ค.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...