ปวด บวม แดงรุนแรง...เสี่ยงโรคเกาต์
หลายคนคงเคยได้ยินว่า “กินไก่มากเสี่ยงเป็นโรคเกาต์” แต่จริง ๆ แล้วสาเหตุหลักของโรคเกาต์ไม่ใช่การกินไก่ หรือสัตว์ปีก แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
นพ.สิทธิ์ หงษ์ทรงเกียรติ อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “โรคเกาต์คือโรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตในข้อกระดูก และเกิดข้ออักเสบตามมาในที่สุด ในคำกล่าวทั่ว ๆ ไป คำว่าโรคเกาต์ มักหมายถึงโรคข้ออักเสบ แต่ความจริงแล้วผลึกของเกลือยูเรตยังอาจสะสมในอวัยวะอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อได้ด้วย เช่น สะสมที่ผิวหนังเรียกว่าปุ่มก้อนโทฟัส หากสะสมที่ไตจะทำให้เกิดนิ่วในไตหรือไตวายเรื้อรังได้”
อาการของโรคเกาต์ มักจะเป็นที่ข้อในบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ทั้งเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า โดยข้อกระดูกแรกสุดที่มักจะเป็น คือ ข้อเท้าหรือข้อโคนหัวแม่เท้า ข้อที่เป็นมักจะอักเสบอย่างรุนแรงคือ ปวด บวม แดง และร้อน อาการปวดจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดภายใน 24-48 ชม. หากอักเสบมากอาจมีไข้ร่วมด้วย หลังจากนั้นอาจจะทุเลาลงเองได้
แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง หากเกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่องอาจลามไปถึงข้อในบริเวณส่วนบนของร่างกายได้ เช่น ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือ การอักเสบแต่ละครั้งจะนานขึ้น รุนแรงขึ้น ส่งผลให้การรักษายากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดอาจกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังที่ไม่หายสนิทหรือเกิดการทำลายของ ข้อทำให้เกิดความพิการตามมาได้
การวินิจฉัยโรคเกาต์ที่แน่นอนที่สุด คือการตรวจพบผลึกของเกลือยูเรตจากน้ำไขข้อซึ่งได้มาจากการเจาะตรวจน้ำไขข้อ ขณะที่มีการอักเสบ หรือจากปุ่มก้อนโทฟัสซึ่งได้มาจากการใช้ปลายเข็มสะกิดมาตรวจ แต่ในกรณีที่ไม่มีโอกาสได้ตรวจด้วยวิธีการข้างต้น แพทย์จะพิจารณาจากประวัติของผู้ป่วยการตรวจร่างกาย และผลเลือดมาประกอบกันในการวินิจฉัยโรค
มีความเข้าใจผิดกันมากว่าการตรวจเลือดเพื่อหาระดับกรดยูริกเป็นการ วินิจฉัยโรคเกาต์ แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงส่วนประกอบที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคเท่านั้น โดยต้องใช้ประกอบกับการซักประวัติ และการตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียวมิได้หมายความว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคเกาต์เสมอไป เพราะมีสาเหตุอื่น ๆ มากมายที่ทำให้ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ผู้ป่วยมิได้เป็นโรค เกาต์เลย
วิธีการรักษาโรคเกาต์ อันดับแรกสำหรับผู้ป่วยที่ติดสุราเรื้อรัง คือ ต้องเลิกสุราให้ได้เสียก่อน เพราะสุราทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูง สำหรับอาหารบางชนิด เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์และอาหารทะเล อาจทำให้กรดยูริกในเลือดสูงได้ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป ส่วนพืชจำพวกยอดและหน่อ เช่น หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักกระเฉด ไม่มีผลต่อโรคเกาต์ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ตามปกติ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ ดื่มนมไขมันต่ำเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
มีโรคอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วยในผู้ป่วยโรคเกาต์ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในไตและโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งควรได้รับการเฝ้าระวังและตรวจติดตามไปพร้อมกัน โรคเกาต์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คือไม่มีการอักเสบของข้อซ้ำอีก เพียงแต่ผู้ป่วยจะต้องหยุดสุราให้ได้ รับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และมาตรวจตามแพทย์นัดสม่ำเสมอ
“ในการมาตรวจแต่ละครั้งแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อติดตามระดับกรดยูริกในเลือด เพื่อช่วยในการปรับยาลดกรดยูริก รวมทั้งเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยาและโรคร่วมอื่น ๆ ด้วย และหากรักษาโรคเกาต์ไม่ถูกต้องจะมีการกำเริบของโรคบ่อยขึ้น ทำให้มีโอกาสที่ต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยขึ้น ซึ่งยาในกลุ่มนี้หากใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจมีผลเสียต่อไตและตับได้ หรือบางรายเกิดแผลในกระเพาะทะลุ อาเจียนเป็นเลือดต้องมานอนโรงพยาบาล นอกจากนี้โรคเกาต์อาจเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดความพิการทางข้อ ส่งผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย ดังนั้นหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติหรือสงสัยเกี่ยวกับโรคเกาต์ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน” นพ.สิทธิ์ หงษ์ทรงเกียรติ กล่าวสรุป.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/213413/index.html (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ลักษณะอาการของโรคเกาต์ หลายคนคงเคยได้ยินว่า “กินไก่มากเสี่ยงเป็นโรคเกาต์” แต่จริง ๆ แล้วสาเหตุหลักของโรคเกาต์ไม่ใช่การกินไก่ หรือสัตว์ปีก แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นพ.สิทธิ์ หงษ์ทรงเกียรติ อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “โรคเกาต์คือโรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตในข้อกระดูก และเกิดข้ออักเสบตามมาในที่สุด ในคำกล่าวทั่ว ๆ ไป คำว่าโรคเกาต์ มักหมายถึงโรคข้ออักเสบ แต่ความจริงแล้วผลึกของเกลือยูเรตยังอาจสะสมในอวัยวะอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อได้ด้วย เช่น สะสมที่ผิวหนังเรียกว่าปุ่มก้อนโทฟัส หากสะสมที่ไตจะทำให้เกิดนิ่วในไตหรือไตวายเรื้อรังได้” อาการของโรคเกาต์ มักจะเป็นที่ข้อในบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ทั้งเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า โดยข้อกระดูกแรกสุดที่มักจะเป็น คือ ข้อเท้าหรือข้อโคนหัวแม่เท้า ข้อที่เป็นมักจะอักเสบอย่างรุนแรงคือ ปวด บวม แดง และร้อน อาการปวดจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดภายใน 24-48 ชม. หากอักเสบมากอาจมีไข้ร่วมด้วย หลังจากนั้นอาจจะทุเลาลงเองได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง หากเกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่องอาจลามไปถึงข้อในบริเวณส่วนบนของร่างกายได้ เช่น ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้วมือ การอักเสบแต่ละครั้งจะนานขึ้น รุนแรงขึ้น ส่งผลให้การรักษายากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดอาจกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังที่ไม่หายสนิทหรือเกิดการทำลายของ ข้อทำให้เกิดความพิการตามมาได้ การวินิจฉัยโรคเกาต์ที่แน่นอนที่สุด คือการตรวจพบผลึกของเกลือยูเรตจากน้ำไขข้อซึ่งได้มาจากการเจาะตรวจน้ำไขข้อ ขณะที่มีการอักเสบ หรือจากปุ่มก้อนโทฟัสซึ่งได้มาจากการใช้ปลายเข็มสะกิดมาตรวจ แต่ในกรณีที่ไม่มีโอกาสได้ตรวจด้วยวิธีการข้างต้น แพทย์จะพิจารณาจากประวัติของผู้ป่วยการตรวจร่างกาย และผลเลือดมาประกอบกันในการวินิจฉัยโรค มีความเข้าใจผิดกันมากว่าการตรวจเลือดเพื่อหาระดับกรดยูริกเป็นการ วินิจฉัยโรคเกาต์ แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงส่วนประกอบที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคเท่านั้น โดยต้องใช้ประกอบกับการซักประวัติ และการตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียวมิได้หมายความว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคเกาต์เสมอไป เพราะมีสาเหตุอื่น ๆ มากมายที่ทำให้ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ผู้ป่วยมิได้เป็นโรค เกาต์เลย วิธีการรักษาโรคเกาต์ อันดับแรกสำหรับผู้ป่วยที่ติดสุราเรื้อรัง คือ ต้องเลิกสุราให้ได้เสียก่อน เพราะสุราทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูง สำหรับอาหารบางชนิด เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์และอาหารทะเล อาจทำให้กรดยูริกในเลือดสูงได้ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป ส่วนพืชจำพวกยอดและหน่อ เช่น หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักกระเฉด ไม่มีผลต่อโรคเกาต์ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ตามปกติ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ ดื่มนมไขมันต่ำเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม มีโรคอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วยในผู้ป่วยโรคเกาต์ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในไตและโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งควรได้รับการเฝ้าระวังและตรวจติดตามไปพร้อมกัน โรคเกาต์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คือไม่มีการอักเสบของข้อซ้ำอีก เพียงแต่ผู้ป่วยจะต้องหยุดสุราให้ได้ รับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และมาตรวจตามแพทย์นัดสม่ำเสมอ “ในการมาตรวจแต่ละครั้งแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อติดตามระดับกรดยูริกในเลือด เพื่อช่วยในการปรับยาลดกรดยูริก รวมทั้งเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยาและโรคร่วมอื่น ๆ ด้วย และหากรักษาโรคเกาต์ไม่ถูกต้องจะมีการกำเริบของโรคบ่อยขึ้น ทำให้มีโอกาสที่ต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยขึ้น ซึ่งยาในกลุ่มนี้หากใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจมีผลเสียต่อไตและตับได้ หรือบางรายเกิดแผลในกระเพาะทะลุ อาเจียนเป็นเลือดต้องมานอนโรงพยาบาล นอกจากนี้โรคเกาต์อาจเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดความพิการทางข้อ ส่งผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วย ดังนั้นหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติหรือสงสัยเกี่ยวกับโรคเกาต์ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน” นพ.สิทธิ์ หงษ์ทรงเกียรติ กล่าวสรุป. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/213413/index.html เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)