สทน.พัฒนารังสี รักษาโรครูมาตอยด์

แสดงความคิดเห็น

แพทย์ใช้รังสี รักษาโรครูมาตอยด์ รูมาตอยด์ คือ โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะรักษาไม่หายและถ้าได้รับการรักษาช้าอาจทำให้ข้อถูกทำลายได้ แต่หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น ผู้ป่วยก็สามารถจะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างมีความสุข

นางสาวนิภาวรรณ ปรมาธิกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. บอกว่าปกติการรักษาโรครูมาตอยด์ทำได้ 3 วิธี วิธีแรก คือ รักษาโดยการผ่าตัด แต่มีข้อเสีย อาจทำให้กระดูกผุกร่อน และโรคสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกครั้ง วิธีที่สอง คือ รักษาโดยการใช้ยา ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้ เนื่องจากถ้าใช้ยาที่มีขนาดเกินขีดกำหนด จะมีผลเสียต่อระบบภายในร่างกาย และ วิธีสุดท้าย คือ การรักษาด้วยเภสัชรังสี โดยรังสีสามารถเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อโดยรังสีจะสามารถทำลายเนื้อเยื่อส่วน ที่เกิดการอักเสบ และสามารถใช้ในการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและระยะเรื้อรังได้

ซึ่งล่าสุดสทน. โดยความร่วมมือของนักวิจัยด้านเภสัชรังสีและศูนย์ไอโซโทปรังสี ประสบความสำเร็จในการวิจัยและผลิตเภสัชรังสี เพื่อรักษาโรครูมาตอยด์ โดยสามารถผลิตเภสัชรังสี สำหรับรักษาโรคดังกล่าวได้ถึง 2 ตัว ได้แก่ ซาแมเรียม-153 เฮชเอ (153Sm-HA) และ อิตเทรียม-90 ซิเตรท คอลลอยด์ (90Y-citrate colloid) ซึ่งจัดเป็นยาฉีดเพื่อใช้สำหรับการนำมารักษาโรครูมาทอยด์ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและระยะเรื้อรังได้ตามลำดับ

ด้านนางอังคนันท์ อังกุรรัตน์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพ ศูนย์ไอโซโทปรังสี บอกว่า ซาแมเรียม-153 เฮชเอ เป็นยาฉีดที่มีความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสีมากกว่า 90% มีความคงตัว 2 วัน มีความเป็นกรดเบส (pH) = 4-7 มีความปลอดเชื้อ และปลอดพิษ

ภาพมือผู้ป่วยจากการฉายรังสี รักษาโรครูมาตอยด์ ส่วนอิตเทรียม-90 ซิเตรท คอลลอยด์ เป็นยาฉีดที่มีลักษณะเป็นสารคอลลอยด์สีขาวขุ่น โดยมีความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสีมากกว่า 95% มีความคงตัว 15 วัน มีความเป็นกรดเบส (pH) = 5.5-7 มีความปลอดเชื้อ และปลอดพิษ เนื่องจาก อิตเทรียม-90 ซิเตรท คอลลอยด์ มีลักษณะเป็นคอลลอยด์ ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับการฉีดสารดังกล่าวเข้าข้อต่าง ๆ และช่วยให้การกระจายตัวของยาไปยังบริเวณเยื่อหุ้มไขข้ออักเสบได้ทั่วถึง ทำให้มีประสิทธิภาพของการรักษาได้ดี

แต่อย่างไรก็ตามสนท.บอกว่า อิตเทรียม-90 มีข้อเสียคือ ให้เฉพาะอนุภาคบีตา เพราะฉะนั้นในการติดตามและวัดปริมาณของรังสีจะทำได้ยากกว่า ซาแมเรียม-153 ซึ่งให้รังสีแกมมาและบีตาพร้อมกัน แต่การวัดปริมาณรังสีฮิตเลียม -90 สามารถแก้ไขโดยอาศัยการวัดเนื่องมาจากการเกิดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทดแทนได้ ซึ่งมีผลทำให้การรักษาโรครูมาตอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น . นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/213557/สทน.+พัฒนารังสี+รักษาโรครูมาตอยด์ (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.พ.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 6/02/2557 เวลา 06:07:44 ดูภาพสไลด์โชว์ สทน.พัฒนารังสี รักษาโรครูมาตอยด์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์ใช้รังสี รักษาโรครูมาตอยด์ รูมาตอยด์ คือ โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะรักษาไม่หายและถ้าได้รับการรักษาช้าอาจทำให้ข้อถูกทำลายได้ แต่หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น ผู้ป่วยก็สามารถจะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างมีความสุข นางสาวนิภาวรรณ ปรมาธิกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. บอกว่าปกติการรักษาโรครูมาตอยด์ทำได้ 3 วิธี วิธีแรก คือ รักษาโดยการผ่าตัด แต่มีข้อเสีย อาจทำให้กระดูกผุกร่อน และโรคสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกครั้ง วิธีที่สอง คือ รักษาโดยการใช้ยา ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้ เนื่องจากถ้าใช้ยาที่มีขนาดเกินขีดกำหนด จะมีผลเสียต่อระบบภายในร่างกาย และ วิธีสุดท้าย คือ การรักษาด้วยเภสัชรังสี โดยรังสีสามารถเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อโดยรังสีจะสามารถทำลายเนื้อเยื่อส่วน ที่เกิดการอักเสบ และสามารถใช้ในการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและระยะเรื้อรังได้ ซึ่งล่าสุดสทน. โดยความร่วมมือของนักวิจัยด้านเภสัชรังสีและศูนย์ไอโซโทปรังสี ประสบความสำเร็จในการวิจัยและผลิตเภสัชรังสี เพื่อรักษาโรครูมาตอยด์ โดยสามารถผลิตเภสัชรังสี สำหรับรักษาโรคดังกล่าวได้ถึง 2 ตัว ได้แก่ ซาแมเรียม-153 เฮชเอ (153Sm-HA) และ อิตเทรียม-90 ซิเตรท คอลลอยด์ (90Y-citrate colloid) ซึ่งจัดเป็นยาฉีดเพื่อใช้สำหรับการนำมารักษาโรครูมาทอยด์ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและระยะเรื้อรังได้ตามลำดับ ด้านนางอังคนันท์ อังกุรรัตน์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพ ศูนย์ไอโซโทปรังสี บอกว่า ซาแมเรียม-153 เฮชเอ เป็นยาฉีดที่มีความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสีมากกว่า 90% มีความคงตัว 2 วัน มีความเป็นกรดเบส (pH) = 4-7 มีความปลอดเชื้อ และปลอดพิษ ภาพมือผู้ป่วยจากการฉายรังสี รักษาโรครูมาตอยด์ส่วนอิตเทรียม-90 ซิเตรท คอลลอยด์ เป็นยาฉีดที่มีลักษณะเป็นสารคอลลอยด์สีขาวขุ่น โดยมีความบริสุทธิ์ทางเคมีรังสีมากกว่า 95% มีความคงตัว 15 วัน มีความเป็นกรดเบส (pH) = 5.5-7 มีความปลอดเชื้อ และปลอดพิษ เนื่องจาก อิตเทรียม-90 ซิเตรท คอลลอยด์ มีลักษณะเป็นคอลลอยด์ ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับการฉีดสารดังกล่าวเข้าข้อต่าง ๆ และช่วยให้การกระจายตัวของยาไปยังบริเวณเยื่อหุ้มไขข้ออักเสบได้ทั่วถึง ทำให้มีประสิทธิภาพของการรักษาได้ดี แต่อย่างไรก็ตามสนท.บอกว่า อิตเทรียม-90 มีข้อเสียคือ ให้เฉพาะอนุภาคบีตา เพราะฉะนั้นในการติดตามและวัดปริมาณของรังสีจะทำได้ยากกว่า ซาแมเรียม-153 ซึ่งให้รังสีแกมมาและบีตาพร้อมกัน แต่การวัดปริมาณรังสีฮิตเลียม -90 สามารถแก้ไขโดยอาศัยการวัดเนื่องมาจากการเกิดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทดแทนได้ ซึ่งมีผลทำให้การรักษาโรครูมาตอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น . นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/IT/213557/สทน.+พัฒนารังสี+รักษาโรครูมาตอยด์ เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...