เตือนหญิงกรุ๊ปเลือดพิเศษ ท้องเสี่ยง "แท้ง-ลูกพิการ"

แสดงความคิดเห็น

หญิงตั้งครรภ์

น.ส.ทัศนีย์ สกุลดำรงค์พานิช รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงาน "รวมพล (ครอบครัว) หมู่โลหิตหายาก ประจำปี 2557" เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า นอกจากโลหิตกรุ๊ปเอ (A) บี (B) เอบี (AB) และโอ (O) แล้ว ยังมีหมู่โลหิตพิเศษ คือ โลหิตระบบอาร์เอช (Rh) แบ่งเป็นอาร์เอชบวก (Rh positive : Rh+) และอาร์เอชลบ (Rh negative : Rh-) ซึ่งคนกรุ๊ปเลือดอาร์เอชบวกจะมีสารแอนติเจนดี (AntigenD) อยู่ที่ผิวเม็ดเลือด ส่วนคนที่มีเลือดอาร์เอชลบ จะไม่มีสารดังกล่าว ทำให้ต้องรับเลือดหมู่เดียวกันเท่านั้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่คนไทยร้อยละ 99.7 จะอยู่ในหมู่โลหิตอาร์เอชบวก มีเพียง 3 ใน 1,000 คนเท่านั้น หรือร้อยละ 0.3 ที่เป็นอาร์เอชลบ ทำให้เป็นกรุ๊ปเลือดหายาก ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงจัดตั้งชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ (Rh negative club) ขึ้นตั้งแต่ปี 2532 โดยถือว่าผู้บริจาคโลหิตอาร์เอชลบทุกคนเป็นสมาชิกของชมรม ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 5,000 คน จาก 10 จังหวัดเท่านั้น โดยจะมีระบบตามคนเหล่านี้มาบริจาคเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือน

"เรื่องหนึ่งที่กลุ่มอาร์เอชลบควรรู้ โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์ คือ หากภรรยามีเลือดอาร์เอชลบ ฝ่ายสามีมีเลือดอาร์เอชบวกแบบ 100% ไม่มียีนแฝง ลูกในท้องจะมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชบวกตามพ่อ ซึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจนเลือดของลูกไหลผ่านเข้ารก ไปในร่างกายของแม่ได้ ทำให้ร่างกายของแม่สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เพราะเลือดไม่เข้ากัน ซึ่งภูมิต้านทานนี้จะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก จนเกิดเป็นสารสีเหลือง หากมีมากเกินไปจะไปเกาะสมองเด็ก ทำให้ลูกพิการ ถ้าภูมิต้านทานแม่มีมาก ยิ่งเกิดโอกาสแท้งลูกและตายในครรภ์ได้ แต่หากสารสีเหลืองมีน้อย ร่างกายของแม่จะช่วยขับออกไปเอง ส่วนการรักษาจะต้องถ่ายเลือดให้ลูกในครรภ์และคลอดก่อนกำหนด"น.ส.ทัศนีย์กล่าว

น.ส.ทัศนีย์กล่าวอีกว่า เมื่อคลอดออกมา ไม่ว่าคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดตามปกติ หากเด็กมีอาการตัวเหลือง ซึ่งเกิดจากสารสีเหลืองตกค้างในร่างกาย ต้องนำเข้าตู้ฉายแสงเพื่อกำจัดสารดังกล่าว เพราะร่างกายของเด็กยังไม่สามารถขับออกเองได้เหมือนอยู่ในท้องแม่ หากโชคดีระหว่างการตั้งครรภ์ไม่เกิดอุบัติเหตุให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ แต่ระหว่างคลอดรกต้องฉีกขาดแน่นอน ทำให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ และสร้างภูมิต้านทานขึ้น หากต้องการมีลูกคนที่สองจะต้องรีบให้ยาทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่เข้าไปใน ร่างกายแม่ภายใน 3 วัน ก่อนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา จึงจะสามารถมีลูกคนที่สองได้ อย่างไรก็ตาม การฝากครรภ์ปัจจุบันจึงมีการบังคับให้ตรวจเลือดและภูมิต้านทานเพื่อป้องกันกรณีดังกล่าว

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392620006

(ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 18/02/2557 เวลา 06:32:32 ดูภาพสไลด์โชว์ เตือนหญิงกรุ๊ปเลือดพิเศษ ท้องเสี่ยง "แท้ง-ลูกพิการ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงตั้งครรภ์ น.ส.ทัศนีย์ สกุลดำรงค์พานิช รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงาน "รวมพล (ครอบครัว) หมู่โลหิตหายาก ประจำปี 2557" เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า นอกจากโลหิตกรุ๊ปเอ (A) บี (B) เอบี (AB) และโอ (O) แล้ว ยังมีหมู่โลหิตพิเศษ คือ โลหิตระบบอาร์เอช (Rh) แบ่งเป็นอาร์เอชบวก (Rh positive : Rh+) และอาร์เอชลบ (Rh negative : Rh-) ซึ่งคนกรุ๊ปเลือดอาร์เอชบวกจะมีสารแอนติเจนดี (AntigenD) อยู่ที่ผิวเม็ดเลือด ส่วนคนที่มีเลือดอาร์เอชลบ จะไม่มีสารดังกล่าว ทำให้ต้องรับเลือดหมู่เดียวกันเท่านั้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่คนไทยร้อยละ 99.7 จะอยู่ในหมู่โลหิตอาร์เอชบวก มีเพียง 3 ใน 1,000 คนเท่านั้น หรือร้อยละ 0.3 ที่เป็นอาร์เอชลบ ทำให้เป็นกรุ๊ปเลือดหายาก ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงจัดตั้งชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ (Rh negative club) ขึ้นตั้งแต่ปี 2532 โดยถือว่าผู้บริจาคโลหิตอาร์เอชลบทุกคนเป็นสมาชิกของชมรม ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 5,000 คน จาก 10 จังหวัดเท่านั้น โดยจะมีระบบตามคนเหล่านี้มาบริจาคเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือน "เรื่องหนึ่งที่กลุ่มอาร์เอชลบควรรู้ โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์ คือ หากภรรยามีเลือดอาร์เอชลบ ฝ่ายสามีมีเลือดอาร์เอชบวกแบบ 100% ไม่มียีนแฝง ลูกในท้องจะมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชบวกตามพ่อ ซึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจนเลือดของลูกไหลผ่านเข้ารก ไปในร่างกายของแม่ได้ ทำให้ร่างกายของแม่สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เพราะเลือดไม่เข้ากัน ซึ่งภูมิต้านทานนี้จะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก จนเกิดเป็นสารสีเหลือง หากมีมากเกินไปจะไปเกาะสมองเด็ก ทำให้ลูกพิการ ถ้าภูมิต้านทานแม่มีมาก ยิ่งเกิดโอกาสแท้งลูกและตายในครรภ์ได้ แต่หากสารสีเหลืองมีน้อย ร่างกายของแม่จะช่วยขับออกไปเอง ส่วนการรักษาจะต้องถ่ายเลือดให้ลูกในครรภ์และคลอดก่อนกำหนด"น.ส.ทัศนีย์กล่าว น.ส.ทัศนีย์กล่าวอีกว่า เมื่อคลอดออกมา ไม่ว่าคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดตามปกติ หากเด็กมีอาการตัวเหลือง ซึ่งเกิดจากสารสีเหลืองตกค้างในร่างกาย ต้องนำเข้าตู้ฉายแสงเพื่อกำจัดสารดังกล่าว เพราะร่างกายของเด็กยังไม่สามารถขับออกเองได้เหมือนอยู่ในท้องแม่ หากโชคดีระหว่างการตั้งครรภ์ไม่เกิดอุบัติเหตุให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ แต่ระหว่างคลอดรกต้องฉีกขาดแน่นอน ทำให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ และสร้างภูมิต้านทานขึ้น หากต้องการมีลูกคนที่สองจะต้องรีบให้ยาทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่เข้าไปใน ร่างกายแม่ภายใน 3 วัน ก่อนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา จึงจะสามารถมีลูกคนที่สองได้ อย่างไรก็ตาม การฝากครรภ์ปัจจุบันจึงมีการบังคับให้ตรวจเลือดและภูมิต้านทานเพื่อป้องกันกรณีดังกล่าว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1392620006 (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...