แพทยสภาเตรียมประกาศเกณฑ์ควบคุมมาตรฐานแพทย์วิชาชีพความงาม
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่สำนักงานแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา แถลงข่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมเกี่ยวกับการศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย และการโฆษณา ว่าหลังจากออกประกาศห้ามใช้ฟิลเลอร์ชนิดไม่สลายตัว เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟินแล้ว ทำให้ปัจจุบันมีเพียงสารเอชเอ (HA) ตัวเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
โดยสาร HA แม้ปัจจุบันในไทยจะมีรายงานผลข้างเคียงน้อย แต่บางรายอาจเกิดการตายของผิวหนังที่บริเวณใบหน้า และบางคนอาจตาบอดเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้น คณะอนุกรรมการจึงเตรียมร่างหลักสูตรมาตรฐานการอบรมฉีดฟิลเลอร์ เป็นหลักสูตรระยะสั้นให้แก่แพทย์จบใหม่ หรือแพทย์ที่มีความสนใจแต่ยังไม่สันทัดในด้านนี้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้รับบริการได้ โดยมาตรฐานการอบรมดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเสริมความงาม และคุ้มครองประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งแพทยสภาจะร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทย์ที่จะ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อการเสริมความงามด้วย โดยทั้ง 2 ร่างจะเสร็จสิ้นใน วันที่ 10 มีนาคม 2557 ก่อนนำเสนอคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาประกาศใช้ในวันที่14มีนาคมต่อไป
"หลักสูตรการอบรมจะเป็นการขอความร่วมมือจากแพทย์มากกว่าการไปบังคับ เพราะสุดท้ายเวลาประชาชนจะเลือกใช้บริการก็จะพิจารณาความน่าเชื่อถือของ แพทย์ว่าเคยผ่านการอบรมหรือไม่ ส่วนประกาศหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทย์ที่เสริมความงามนั้น จะต้องเป็นเกณฑ์ที่สังคม แพทย์ และประชาชนรับได้ การจัดทำประกาศดังกล่าวก็เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง เพราะทุกวันนี้โฆษณาเสริมความงามมีทั้งที่จริงและไม่จริง มีทั้งที่เป็นแพทย์และไม่ใช่แพทย์ จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้อง”
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่สำนักงานแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา แถลงข่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมเกี่ยวกับการศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย และการโฆษณา ว่าหลังจากออกประกาศห้ามใช้ฟิลเลอร์ชนิดไม่สลายตัว เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟินแล้ว ทำให้ปัจจุบันมีเพียงสารเอชเอ (HA) ตัวเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยสาร HA แม้ปัจจุบันในไทยจะมีรายงานผลข้างเคียงน้อย แต่บางรายอาจเกิดการตายของผิวหนังที่บริเวณใบหน้า และบางคนอาจตาบอดเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้น คณะอนุกรรมการจึงเตรียมร่างหลักสูตรมาตรฐานการอบรมฉีดฟิลเลอร์ เป็นหลักสูตรระยะสั้นให้แก่แพทย์จบใหม่ หรือแพทย์ที่มีความสนใจแต่ยังไม่สันทัดในด้านนี้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้รับบริการได้ โดยมาตรฐานการอบรมดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเสริมความงาม และคุ้มครองประชาชนให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งแพทยสภาจะร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทย์ที่จะ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อการเสริมความงามด้วย โดยทั้ง 2 ร่างจะเสร็จสิ้นใน วันที่ 10 มีนาคม 2557 ก่อนนำเสนอคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาประกาศใช้ในวันที่14มีนาคมต่อไป "หลักสูตรการอบรมจะเป็นการขอความร่วมมือจากแพทย์มากกว่าการไปบังคับ เพราะสุดท้ายเวลาประชาชนจะเลือกใช้บริการก็จะพิจารณาความน่าเชื่อถือของ แพทย์ว่าเคยผ่านการอบรมหรือไม่ ส่วนประกาศหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทย์ที่เสริมความงามนั้น จะต้องเป็นเกณฑ์ที่สังคม แพทย์ และประชาชนรับได้ การจัดทำประกาศดังกล่าวก็เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง เพราะทุกวันนี้โฆษณาเสริมความงามมีทั้งที่จริงและไม่จริง มีทั้งที่เป็นแพทย์และไม่ใช่แพทย์ จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้อง” ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1392891716&grpid=&catid=19&subcatid=1904 มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)