นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’ สร้างสมรรถภาพการเคลื่อนไหวดีขึ้น

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’

โรคอัมพาต เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบ การอุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือดสมองแตก และการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้นำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตมีอาการอ่อนแรง เดินไม่ได้ พูดไม่ได้ บางรายอาจเป็นถาวรหรือเป็นแค่ชั่วคราวที่เรียกว่า อัมพฤกษ์ ดังนั้นการรักษาและฟื้นฟูอาการอัมพฤกษ์-อัมพาตจึงต้องใช้เวลาและความทุ่มเท แรงกายและแรงใจของทั้งผู้ป่วยและนักกายภาพบำบัด

นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’ ดร.นพ.เกริกยศ ชลายนเดชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1 เปิดเผยว่า โรงพยาบาลพญาไท 1 มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งและความโดดเด่นด้วยการพัฒนานวัตกรรมทางการรักษา ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับการวางเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวการณ์อ่อนแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเกิดจากสมองขาดเลือด การกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เริ่มหัดเดินอย่างรวดเร็ว นุ่มนวล และต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสอันเป็นบทบาทที่ สำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของสมอง

ผู้สูงอายุนั่งรถเข็นอยู่ภายในบ้าน ดังนั้นโรงพยาบาลพญาไท 1 จึงได้นำเข้าหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินและหุ่นยนต์ช่วยในการฝึกการเคลื่อนไหว ของมือและแขน เพื่อนำมาช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอัมพาตหลังการรักษา ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินนี้ตัวเครื่องจะมีสายช่วยพยุงตัว และส่วนขาที่เป็นหุ่นยนต์จะช่วยให้คนไข้เดินได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมคุณภาพสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ ป่วยอัมพาต

ด้าน พญ.วรรณวดี ลักษณ์สุรพันธุ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ ฟื้นฟู โรงพยาบาลพญาไท 1 อธิบายว่า ในอดีตแนวทางหลังการรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากภาวะอ่อนแรงตามแขนขาจนไม่สามารถ เดินหรือใช้ชีวิตเป็นปกติได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อและการฝึกเดิน แต่เดิมใช้นักกายภาพบำบัดเพื่อคอยช่วยเหลือคนไข้ในการพยุงเดิน แต่เนื่องจากการฝึกเดินนั้นต้องใช้เวลาในการฝึกนานพอสมควรเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเรียนรู้ เเละพัฒนาทักษะในการเดิน

แสดงอาการปวดเข่า อย่างไรก็ตามตัวผู้ป่วยเองต้องใช้แรงในการฝึกเดิน และนักกายภาพต้องออกแรงในการช่วยพยุง อาจทำให้เกิดภาวะเมื่อยล้า การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการใช้งานมากเกินไป จึงทำให้ขาดความสม่ำเสมอในการฝึกและไม่สามารถกำหนดความเร็วในการก้าวเดินที่เหมาะสมได้ จึงได้มีผู้คิดค้นประดิษฐ์หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน และหุ่นยนต์ช่วยในการฝึกการเคลื่อนไหวของมือและแขน มาช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย

หุ่นยนต์ฝึกเดินนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยฝึกเดินนานขึ้นอย่างเต็มที่ ตามศักยภาพที่มี และกำหนดความเร็ว การพยุงตัว และแรงที่หุ่นยนต์ขาช่วยพยุงในการก้าวเดินให้เหมาะสมกับคนไข้เฉพาะราย ขณะเดียวกันมีระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลในการฝึกของผู้ป่วยแต่ละครั้งเพื่อนำไปพัฒนาในการรักษาต่อ ๆ ไป นอกจากนี้ช่วงเวลาที่คนไข้ฝึกจะมีจอแสดงภาพในลักษณะของเกมให้เล่น เพื่อส่งเสริมการฝึกให้ได้ทักษะที่ต้องการ และสร้างแรงจูงใจในการฝึกสร้างความสนุกสนาน กำหนดเป้าหมายในการฝึกแก่คนไข้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเบื่อหน่ายในการฝึก อีกทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยระหว่างฝึก มีเซ็นเซอร์จับการเกร็งต้านของกล้ามเนื้อ ถ้าพบว่ามีเครื่องจะหยุดทันทีเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และมีอุปกรณ์พยุงตัวที่เเข็งแรงเพื่อป้องกันการล้ม

การฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์จะช่วยทำให้คนไข้โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังมีภาวะ อ่อนแรงกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถลุก เคลื่อนไหวร่างกายเองได้สามารถเข้าร่วมการฟื้นฟู ลดภาวะติดเตียง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ เช่น การเกิดแผลกดทับ กล้ามเนื้อตึงรั้งและข้อยึดติด โรคกระดูกพรุน และสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาของระบบประสาทที่มีภาวะอ่อนแรง เช่น ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง กลุ่มประสาทไขสันหลังบาดเจ็บหรือถูกกดทับ โรคกล้ามเนื้อเสื่อม โดยคนไข้ต้องผ่านการประเมินจากแพทย์ว่าไม่มีโรคที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัวใจหรือโรคปอดชนิดรุนแรง ภาวะข้อติดเเข็ง เป็นต้น

แสดงอาการปวดข้อมือ การใช้เวลาในการฝึกเดินกับตัวหุ่นยนต์จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 30 นาที ต่อ 1 วัน เพราะมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ วอร์มร่างกาย เช่น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ใส่อุปกรณ์สายรัดพยุงตัว สายรัดข้อเข่า ซึ่งการแต่งตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที สำหรับคนไข้ที่ไม่มีอาการเหนื่อยง่ายจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ส่วนคนไข้ที่อ่อนแรงมาก ๆ ไม่ค่อยขยับร่างกายและเหนื่อยง่าย เริ่มแรกจะใช้เวลาในการฝึกประมาณ 10 นาทีก่อน เมื่อร่างกายชินแล้วจะฝึกได้นานขึ้นตามเป้าที่วางไว้อย่างน้อย 30 นาที สำหรับระยะเวลาในการฝึกเดินกับหุ่นยนต์ที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ที่ต้องเดินทาง ไปกลับโรงพยาบาลประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์

ในเรื่องของการเตรียมตัวก่อน มาใช้หุ่นยนต์ช่วยในการเคลื่อนไหว คือต้องพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ไม่มีไข้ รับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 30 นาที ป้องกันการอึดอัดและจุกระหว่างใช้เครื่อง ใส่เสื้อยืดไม่มีกระดุม สวมกางเกงขายาวผ้านุ่ม เพราะต้องใส่รัดกับอุปกรณ์ป้องกันการเสียดสี และสวมรองเท้าชนิดหุ้มส้นที่เหมาะกับการออกกำลังกาย หลังจากลงจากเครื่องแล้วกลับไปพักที่บ้านผู้ดูแลควรสังเกตว่าคนไข้เหนื่อย หรือไม่ในรายที่ฝึกใหม่ ๆ ถ้าเหนื่อยให้พักผ่อนและตรวจดูว่ามีแผลถลอกหรือรอยช้ำหรือไม่ ส่วนมากจะไม่มี นอกจากนี้ควรฝึกด้านอื่นด้วย เพราะคนไข้ภาวะขาอ่อนแรงไม่ใช่เดินไม่ได้อย่างเดียว แต่ต้องบริหารข้อ กล้ามเนื้อ และฝึกเดินพื้นธรรมดาควบคู่กันไปด้วย

นมสด การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูโดยทั่วไปจะประเมินหลังจากคนไข้ใช้ อุปกรณ์ครบ 10 ครั้ง ส่วนใหญ่จะเห็นผลในแง่ของการทรงตัวก่อน ถึงแม้บางรายจะยังเดินไม่ได้แต่จะสามารถนั่งทรงตัวและเคลื่อนย้ายได้ดีขึ้น หรือบางคนอาจเดินได้แต่ต้องใช้คนพยุง 2 คนและไม้เท้า 1 อัน ก็ลดเหลือคนพยุง 1 คนและไม้เท้า 1 อัน ถือว่าภาวะอ่อนแรงดีขึ้น อย่างไรก็ตามการทำกายภาพ บำบัดคนไข้ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกแตกต่างกันออกไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวโรค ความรุนแรงของโรค บางคนใช้หุ่นยนต์แค่ 10 ครั้งก็หยุดได้หรือบางคนต้องใช้ถึง 30 ครั้ง ซึ่งก็ต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์

โรคอัมพาตนั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อหน้าที่การทำงานของร่างกายอย่างรุนแรง หากเราทราบอาการเตือนก่อนล่วงหน้า ได้แก่ อาการอ่อนแรงหรือไม่มีแรงครึ่งซีก หรืออาการชาของแขนหรือขา ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว พูดลำบากหรือพูดไม่ชัด ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่หรือเห็นภาพซ้อน ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง วิงเวียนหรือเป็นลมและกลืนอาหารสำลักบ่อย ๆ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อจะได้นำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดรักษาอย่างรวดเร็วและ ทันท่วงที.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/217930/นวัตกรรม+‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’+สร้างสมรรถภาพการเคลื่อนไหวดีขึ้น (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 28/02/2557 เวลา 04:24:42 ดูภาพสไลด์โชว์ นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’ สร้างสมรรถภาพการเคลื่อนไหวดีขึ้น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’ โรคอัมพาต เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบ การอุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือดสมองแตก และการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้นำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตมีอาการอ่อนแรง เดินไม่ได้ พูดไม่ได้ บางรายอาจเป็นถาวรหรือเป็นแค่ชั่วคราวที่เรียกว่า อัมพฤกษ์ ดังนั้นการรักษาและฟื้นฟูอาการอัมพฤกษ์-อัมพาตจึงต้องใช้เวลาและความทุ่มเท แรงกายและแรงใจของทั้งผู้ป่วยและนักกายภาพบำบัด นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’ดร.นพ.เกริกยศ ชลายนเดชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1 เปิดเผยว่า โรงพยาบาลพญาไท 1 มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งและความโดดเด่นด้วยการพัฒนานวัตกรรมทางการรักษา ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับการวางเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวการณ์อ่อนแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเกิดจากสมองขาดเลือด การกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เริ่มหัดเดินอย่างรวดเร็ว นุ่มนวล และต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสอันเป็นบทบาทที่ สำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของสมอง ผู้สูงอายุนั่งรถเข็นอยู่ภายในบ้านดังนั้นโรงพยาบาลพญาไท 1 จึงได้นำเข้าหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินและหุ่นยนต์ช่วยในการฝึกการเคลื่อนไหว ของมือและแขน เพื่อนำมาช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอัมพาตหลังการรักษา ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินนี้ตัวเครื่องจะมีสายช่วยพยุงตัว และส่วนขาที่เป็นหุ่นยนต์จะช่วยให้คนไข้เดินได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมคุณภาพสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ ป่วยอัมพาต ด้าน พญ.วรรณวดี ลักษณ์สุรพันธุ์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ ฟื้นฟู โรงพยาบาลพญาไท 1 อธิบายว่า ในอดีตแนวทางหลังการรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากภาวะอ่อนแรงตามแขนขาจนไม่สามารถ เดินหรือใช้ชีวิตเป็นปกติได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อและการฝึกเดิน แต่เดิมใช้นักกายภาพบำบัดเพื่อคอยช่วยเหลือคนไข้ในการพยุงเดิน แต่เนื่องจากการฝึกเดินนั้นต้องใช้เวลาในการฝึกนานพอสมควรเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเรียนรู้ เเละพัฒนาทักษะในการเดิน แสดงอาการปวดเข่าอย่างไรก็ตามตัวผู้ป่วยเองต้องใช้แรงในการฝึกเดิน และนักกายภาพต้องออกแรงในการช่วยพยุง อาจทำให้เกิดภาวะเมื่อยล้า การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการใช้งานมากเกินไป จึงทำให้ขาดความสม่ำเสมอในการฝึกและไม่สามารถกำหนดความเร็วในการก้าวเดินที่เหมาะสมได้ จึงได้มีผู้คิดค้นประดิษฐ์หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน และหุ่นยนต์ช่วยในการฝึกการเคลื่อนไหวของมือและแขน มาช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย หุ่นยนต์ฝึกเดินนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยฝึกเดินนานขึ้นอย่างเต็มที่ ตามศักยภาพที่มี และกำหนดความเร็ว การพยุงตัว และแรงที่หุ่นยนต์ขาช่วยพยุงในการก้าวเดินให้เหมาะสมกับคนไข้เฉพาะราย ขณะเดียวกันมีระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลในการฝึกของผู้ป่วยแต่ละครั้งเพื่อนำไปพัฒนาในการรักษาต่อ ๆ ไป นอกจากนี้ช่วงเวลาที่คนไข้ฝึกจะมีจอแสดงภาพในลักษณะของเกมให้เล่น เพื่อส่งเสริมการฝึกให้ได้ทักษะที่ต้องการ และสร้างแรงจูงใจในการฝึกสร้างความสนุกสนาน กำหนดเป้าหมายในการฝึกแก่คนไข้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเบื่อหน่ายในการฝึก อีกทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยระหว่างฝึก มีเซ็นเซอร์จับการเกร็งต้านของกล้ามเนื้อ ถ้าพบว่ามีเครื่องจะหยุดทันทีเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และมีอุปกรณ์พยุงตัวที่เเข็งแรงเพื่อป้องกันการล้ม การฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์จะช่วยทำให้คนไข้โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังมีภาวะ อ่อนแรงกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถลุก เคลื่อนไหวร่างกายเองได้สามารถเข้าร่วมการฟื้นฟู ลดภาวะติดเตียง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ เช่น การเกิดแผลกดทับ กล้ามเนื้อตึงรั้งและข้อยึดติด โรคกระดูกพรุน และสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาของระบบประสาทที่มีภาวะอ่อนแรง เช่น ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง กลุ่มประสาทไขสันหลังบาดเจ็บหรือถูกกดทับ โรคกล้ามเนื้อเสื่อม โดยคนไข้ต้องผ่านการประเมินจากแพทย์ว่าไม่มีโรคที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัวใจหรือโรคปอดชนิดรุนแรง ภาวะข้อติดเเข็ง เป็นต้น แสดงอาการปวดข้อมือ การใช้เวลาในการฝึกเดินกับตัวหุ่นยนต์จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 30 นาที ต่อ 1 วัน เพราะมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ วอร์มร่างกาย เช่น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ใส่อุปกรณ์สายรัดพยุงตัว สายรัดข้อเข่า ซึ่งการแต่งตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที สำหรับคนไข้ที่ไม่มีอาการเหนื่อยง่ายจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ส่วนคนไข้ที่อ่อนแรงมาก ๆ ไม่ค่อยขยับร่างกายและเหนื่อยง่าย เริ่มแรกจะใช้เวลาในการฝึกประมาณ 10 นาทีก่อน เมื่อร่างกายชินแล้วจะฝึกได้นานขึ้นตามเป้าที่วางไว้อย่างน้อย 30 นาที สำหรับระยะเวลาในการฝึกเดินกับหุ่นยนต์ที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ที่ต้องเดินทาง ไปกลับโรงพยาบาลประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ในเรื่องของการเตรียมตัวก่อน มาใช้หุ่นยนต์ช่วยในการเคลื่อนไหว คือต้องพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ไม่มีไข้ รับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 30 นาที ป้องกันการอึดอัดและจุกระหว่างใช้เครื่อง ใส่เสื้อยืดไม่มีกระดุม สวมกางเกงขายาวผ้านุ่ม เพราะต้องใส่รัดกับอุปกรณ์ป้องกันการเสียดสี และสวมรองเท้าชนิดหุ้มส้นที่เหมาะกับการออกกำลังกาย หลังจากลงจากเครื่องแล้วกลับไปพักที่บ้านผู้ดูแลควรสังเกตว่าคนไข้เหนื่อย หรือไม่ในรายที่ฝึกใหม่ ๆ ถ้าเหนื่อยให้พักผ่อนและตรวจดูว่ามีแผลถลอกหรือรอยช้ำหรือไม่ ส่วนมากจะไม่มี นอกจากนี้ควรฝึกด้านอื่นด้วย เพราะคนไข้ภาวะขาอ่อนแรงไม่ใช่เดินไม่ได้อย่างเดียว แต่ต้องบริหารข้อ กล้ามเนื้อ และฝึกเดินพื้นธรรมดาควบคู่กันไปด้วย นมสดการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูโดยทั่วไปจะประเมินหลังจากคนไข้ใช้ อุปกรณ์ครบ 10 ครั้ง ส่วนใหญ่จะเห็นผลในแง่ของการทรงตัวก่อน ถึงแม้บางรายจะยังเดินไม่ได้แต่จะสามารถนั่งทรงตัวและเคลื่อนย้ายได้ดีขึ้น หรือบางคนอาจเดินได้แต่ต้องใช้คนพยุง 2 คนและไม้เท้า 1 อัน ก็ลดเหลือคนพยุง 1 คนและไม้เท้า 1 อัน ถือว่าภาวะอ่อนแรงดีขึ้น อย่างไรก็ตามการทำกายภาพ บำบัดคนไข้ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกแตกต่างกันออกไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวโรค ความรุนแรงของโรค บางคนใช้หุ่นยนต์แค่ 10 ครั้งก็หยุดได้หรือบางคนต้องใช้ถึง 30 ครั้ง ซึ่งก็ต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ โรคอัมพาตนั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อหน้าที่การทำงานของร่างกายอย่างรุนแรง หากเราทราบอาการเตือนก่อนล่วงหน้า ได้แก่ อาการอ่อนแรงหรือไม่มีแรงครึ่งซีก หรืออาการชาของแขนหรือขา ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว พูดลำบากหรือพูดไม่ชัด ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่หรือเห็นภาพซ้อน ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง วิงเวียนหรือเป็นลมและกลืนอาหารสำลักบ่อย ๆ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อจะได้นำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดรักษาอย่างรวดเร็วและ ทันท่วงที. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/217930/นวัตกรรม+‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’+สร้างสมรรถภาพการเคลื่อนไหวดีขึ้น เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.พ.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...