อินจัด ! ระวัง ′PSS′ ภาวะเครียดการเมือง

แสดงความคิดเห็น

ม็อบมวลมหาประชาชน กปปส.ต่อต้านรัฐบาล

คอลัมน์ รู้ทันโรค ดูเหมือนว่าสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนี้กำลังแหลมคมเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากความขัดแย้งลากยาวออกไปมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้คนไทยต้องเผชิญกับ ภาวะ "เครียด" กันมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากการรับข้อมูลโดยตรงจากปัญหา ความขัดแย้งแล้ว สื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ยังเข้ามามีอิทธิพลต่อความเครียดของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะการเสพข่าวสารผ่าน "เฟซบุ๊ค" นั้นถือเป็นตัวการสำคัญที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ หากเกิดความเครียดแล้วไม่สามารถจัดการให้หายไปหรือไม่หายไปตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น และสะสมความไม่สบายใจไปเรื่อยๆ อาจพัฒนาไปสู่กลุ่มอาการที่เรียกว่า ความเครียดจากการเมืองหรือภาวะ PSS (Political StressSyndrome)ขึ้นได้

จากการสำรวจผลกระทบต่อภาวะ สุขภาพจิตของประชาชนต่อสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกรมสุขภาพจิตในช่วง ปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนมีแนวโน้มเครียดมากขึ้น ทั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ประมาณร้อยละ 20 มีความเครียดปานกลางถึงมากที่สุด โดยเฉพาะร้อยละ 93 รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ค ยิ่งหากมีการใช้คำพูดที่มีความรุนแรง การสร้างคำที่ทำให้เกิดความเกลียดชังก็ยิ่งจะทำให้คนที่เสพข่าวสารมีอาการเครียดมากขึ้นไปอีก

ที่น่าตกใจก็คือมีการคาดการณ์กันว่า 1 ใน 4 ของคนไทยในขณะนี้ตกอยู่ในภาวะเครียดจากการเมือง ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ30ปีโดยเฉพาะกลุ่มคนในวัยทำงานถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด

ภาวะความเครียด จากสถานการณ์ทางการเมือง (Political Stress Syndrome : PSS) จริงๆ แล้วไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือเอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่น่าห่วงก็คือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต เป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนที่คลั่งไคล้การเมือง คนที่คอยติดตามข่าวสารและได้รับข้อมูลการวิเคราะห์เจาะลึกอยู่เนืองๆ ทั้งข้อมูลที่ผ่านและไม่ผ่านการกลั่นกรอง

สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเกิดอาการพีเอสเอส มี 5 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1) กลุ่มนักการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง 2) กลุ่มที่สนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดของตนหรือพวกเดียวกันจะรู้สึกอ่อนไหวหากมีข้อมูลจากอีก ขั้วที่ไม่เหมือนแนวคิดตน 3) กลุ่มผู้ติดตาม เป็นกลุ่มที่คอยรับฟังข่าวสารเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวอาจทำให้เกิดอาการ เครียดได้หากสถานการณ์รุนแรงหรือยาวนาน 4) กลุ่มผู้ที่สนใจข่าวสารการเมืองและ5)กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต

ทั้งนี้คนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจะต้องสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ไข 1) อาการทางกาย สามารถสังเกตได้จากอาการปวดศีรษะ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ ปวดกล้ามเนื้อหรือตามแขน ขา หรือมีอาการชาตามร่างกาย บางคนมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับๆ ตื่นๆ อยู่ๆ ก็มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง มีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง

2) อาการทางใจ มีอาการวิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา รู้สึกหงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก รวมทั้งยังไม่มีสมาธิหรือสมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป

3) ปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น อาจมีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวโดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง ถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ โดยมีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ รวมไปถึงมีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้ และมีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อนจนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรง

ด้วยเหตุนี้ การรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นพื้นที่ปล่อยข้อมูลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังไม่ปล่อยตัวเองไปตามข้อมูลโดยไม่คิดวิเคราะห์ ต้องตั้งสติ ตัดข้อมูลข่าวสารออกบ้าง รวมทั้งต้องหาเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ แทนที่จะอยู่กับการรับรู้ข่าวสารอยู่ตลอด

รู้ตัวก่อน PSS มาเยือน หากใครที่กำลังมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นPSSทางกรมสุขภาพจิตแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้ 1) หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น 2) ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่นๆบ้าง 3)หาทางระบายออกโดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน 4) ออกกำลังกายและพักผ่อน 5) ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติและสมาธิ ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนด ลมหายใจเข้า - ออก 6)หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง หากมีอาการทั้งหมดเกินกว่า 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ หรือขอรับคำปรึกษาและขอรับบริการเพิ่มเติมได้ที่ www.dmh.go.th สายด่วน 1323

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393904133&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 5/03/2557 เวลา 03:11:05 ดูภาพสไลด์โชว์ อินจัด ! ระวัง ′PSS′ ภาวะเครียดการเมือง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ม็อบมวลมหาประชาชน กปปส.ต่อต้านรัฐบาล คอลัมน์ รู้ทันโรค ดูเหมือนว่าสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงนี้กำลังแหลมคมเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากความขัดแย้งลากยาวออกไปมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้คนไทยต้องเผชิญกับ ภาวะ "เครียด" กันมากขึ้นเท่านั้น นอกจากการรับข้อมูลโดยตรงจากปัญหา ความขัดแย้งแล้ว สื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ยังเข้ามามีอิทธิพลต่อความเครียดของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะการเสพข่าวสารผ่าน "เฟซบุ๊ค" นั้นถือเป็นตัวการสำคัญที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ หากเกิดความเครียดแล้วไม่สามารถจัดการให้หายไปหรือไม่หายไปตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น และสะสมความไม่สบายใจไปเรื่อยๆ อาจพัฒนาไปสู่กลุ่มอาการที่เรียกว่า ความเครียดจากการเมืองหรือภาวะ PSS (Political StressSyndrome)ขึ้นได้ จากการสำรวจผลกระทบต่อภาวะ สุขภาพจิตของประชาชนต่อสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกรมสุขภาพจิตในช่วง ปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนมีแนวโน้มเครียดมากขึ้น ทั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ประมาณร้อยละ 20 มีความเครียดปานกลางถึงมากที่สุด โดยเฉพาะร้อยละ 93 รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ค ยิ่งหากมีการใช้คำพูดที่มีความรุนแรง การสร้างคำที่ทำให้เกิดความเกลียดชังก็ยิ่งจะทำให้คนที่เสพข่าวสารมีอาการเครียดมากขึ้นไปอีก ที่น่าตกใจก็คือมีการคาดการณ์กันว่า 1 ใน 4 ของคนไทยในขณะนี้ตกอยู่ในภาวะเครียดจากการเมือง ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ30ปีโดยเฉพาะกลุ่มคนในวัยทำงานถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด ภาวะความเครียด จากสถานการณ์ทางการเมือง (Political Stress Syndrome : PSS) จริงๆ แล้วไม่ใช่โรคที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือเอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่น่าห่วงก็คือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวล หรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต เป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนที่คลั่งไคล้การเมือง คนที่คอยติดตามข่าวสารและได้รับข้อมูลการวิเคราะห์เจาะลึกอยู่เนืองๆ ทั้งข้อมูลที่ผ่านและไม่ผ่านการกลั่นกรอง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเกิดอาการพีเอสเอส มี 5 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1) กลุ่มนักการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง 2) กลุ่มที่สนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดของตนหรือพวกเดียวกันจะรู้สึกอ่อนไหวหากมีข้อมูลจากอีก ขั้วที่ไม่เหมือนแนวคิดตน 3) กลุ่มผู้ติดตาม เป็นกลุ่มที่คอยรับฟังข่าวสารเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวอาจทำให้เกิดอาการ เครียดได้หากสถานการณ์รุนแรงหรือยาวนาน 4) กลุ่มผู้ที่สนใจข่าวสารการเมืองและ5)กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ทั้งนี้คนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจะต้องสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ไข 1) อาการทางกาย สามารถสังเกตได้จากอาการปวดศีรษะ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ ปวดกล้ามเนื้อหรือตามแขน ขา หรือมีอาการชาตามร่างกาย บางคนมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับๆ ตื่นๆ อยู่ๆ ก็มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง มีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง 2) อาการทางใจ มีอาการวิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา รู้สึกหงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก รวมทั้งยังไม่มีสมาธิหรือสมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป 3) ปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น อาจมีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวโดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง ถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ โดยมีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ รวมไปถึงมีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้ และมีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อนจนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ การรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะในสังคมโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นพื้นที่ปล่อยข้อมูลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังไม่ปล่อยตัวเองไปตามข้อมูลโดยไม่คิดวิเคราะห์ ต้องตั้งสติ ตัดข้อมูลข่าวสารออกบ้าง รวมทั้งต้องหาเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆ แทนที่จะอยู่กับการรับรู้ข่าวสารอยู่ตลอด รู้ตัวก่อน PSS มาเยือน หากใครที่กำลังมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นPSSทางกรมสุขภาพจิตแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้ 1) หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น 2) ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่นๆบ้าง 3)หาทางระบายออกโดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน 4) ออกกำลังกายและพักผ่อน 5) ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติและสมาธิ ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนด ลมหายใจเข้า - ออก 6)หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง หากมีอาการทั้งหมดเกินกว่า 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ หรือขอรับคำปรึกษาและขอรับบริการเพิ่มเติมได้ที่ www.dmh.go.th สายด่วน 1323 ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393904133&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...