กายภาพบำบัดฟื้นฟู ‘แผลเบาหวาน’ลดการสูญเสีย ช่วยรักษาสมดุลร่างกาย
ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาหนึ่งที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว แต่ถ้าหากมีแนวทางในการรักษาที่ถูกวิธีก็จะช่วยทำให้คนไข้กลับมามีสุขภาพที่ดีได้ โดยโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวหนึ่งในนั้นก็คือ “โรคเบาหวาน” !
นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานว่า เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอส่งผล ให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน คือ มากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายหยุดสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก มักพบในเด็กอายุ 6-8 ปีขึ้นไป มีรูปร่างซูบผอม และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับพันธุกรรม น้ำหนักตัวที่มากขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น โดยเซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ
“เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงก็จะทำให้เกิดน้ำตาลเพิ่มขึ้นตามหลอดเลือด หากสูงมาก ๆ จะส่งผลต่อนิ้วเท้า นิ้วมือ โดยโรคเบาหวานจะส่งผลต่อหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดเปราะพอหลอดเลือดเปราะร่างกายจะมีการสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ทดแทน แต่จะเป็นหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ ซึ่งจะมีความแข็งแรงน้อยทำให้มีโอกาสเส้น เลือดแตกมีรอยเขียวเป็นจ้ำ ๆ ขึ้นมาได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เม็ดเลือดโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการดักจับเชื้อ โรคหรือฆ่าเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และการสมานแผลทำได้แย่ลง รวมไปถึง ระบบประสาทก็ทำงานแย่ลงเช่นกัน”
คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานมานานกว่า 5 ปีขึ้นไป แม้จะควบคุมน้ำตาลได้ดี แต่โอกาสที่จะเกิดอาการชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า มีมากขึ้นตามลำดับ บางคนเริ่มจากมีแผลเล็ก ๆ ที่ปลายเท้าก็จะมีการลามเป็นแผลใหญ่และหายยาก ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะถูกตัดนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือบางคนก็มีโอกาสที่จะถูกตัดขาได้
การกายภาพบำบัด นับเป็นการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูแผล เพื่อลดการสูญเสียอวัยวะและมีโอกาสหายมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยจะต้องมีการ ประเมินลักษณะรูปเท้าของคนไข้ เสียก่อน เพราะบางครั้งคนไข้มีรูปเท้าที่ผิดปกติ เช่น เท้าแบน เท้าล้ม เท้าแบะ เพื่อปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เข้ากับรูปเท้าของคนไข้มากที่สุด
หลังจากที่มีการปรับรองเท้าหรือเพิ่มแผ่นรองรองเท้าแล้ว แพทย์จะใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดบางอย่างที่จะทำให้มีการสมานของแผลได้เร็วขึ้น โดยเครื่องมือแรก คือ Anodyne เป็นการใช้แสงอินฟาเรดโดยจะใช้แผ่นติดตามตำแหน่งของชีพจร ตามตำแหน่งของเส้นประสาท จากนั้นจะปล่อยแสงอินฟาเรดเพื่อให้มีการหมุนเวียนของเลือดและกระแสประสาทที่ดีขึ้น โดยจะทำวันเว้นวัน ในส่วนของแผลประมาณ 1 สัปดาห์จะเริ่มเห็นผล ส่วนในเรื่องของอาการชาหลังจากที่แพทย์ดำเนินการไปแล้วประมาณ 1 เดือน ถึงจะเห็นผล
อวิธีต่อมา คือ การใช้เลเซอร์ แต่เป็นเลเซอร์ของกายภาพบำบัดซึ่งจะเป็นเลเซอร์พลังงานต่ำไม่ทำให้ผิวหนัง เกิดอาการไหม้ โดยจะฉายไปยังบริเวณที่เป็นแผล ห่างจากแผลประมาณ 1 เซนติเมตร โดยจะขยับเลเซอร์ไปรอบแผล จุดละประมาณ 20 นาที เมื่อครบรอบแผลจึงหยุด โดยจะทำทุกวันเช่นกัน เพื่อกระตุ้นให้เนื้อเยื่อมีการสร้างเซลล์ใหม่หรือมีการสมานแผลที่เร็วขึ้น กว่าการที่จะล้างแผลเพียงอย่างเดียว เพื่อลดโอกาสของการถูกตัดนิ้วเท้า หรือเท้าไปได้ ซึ่งคนไข้ที่มีการตอบสนองดีเมื่อทำไปได้ 2 วัน จะเห็นผลที่ดีขึ้นแล้ว แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล
หลังจากการทำกายภาพบำบัดในส่วนที่เป็นแผลแล้ว คนไข้ส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกของเท้าน้อยลง เวลาเดินบางคนมีความรู้สึกว่าเหมือนเท้าลอย ๆ หรือบางคนเดินแล้วเหมือนจะล้ม เนื่องมาจากว่า การรับรู้ของข้อในฝ่าเท้ามีน้อยลง ตรงนี้จะมีวิธีการฝึกความรู้สึก การรับรู้ให้กลับคืนมาใหม่ โดยการใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Sensory Re- education เป็นเทคนิคเพื่อให้การรับรู้ของข้อดีขึ้น โดยจะให้คนไข้เดินบนพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ เช่น พื้นผิวเป็นเส้นตรง พื้นผิวเป็นปุ่ม พื้นผิวหยาบ รวมทั้งการรับรู้จากการใช้อุปกรณ์ในแบบต่าง ๆ เช่น สำลี แปรงขนนุ่ม แปรงขนแข็ง โดยให้คนไข้ได้สัมผัสกับอุปกรณ์ดังกล่าวในบริเวณที่ไม่มีความรู้สึก ทำอย่างละ 5-10 นาที
ตลอดจน การจัดโครงสร้างร่างกายให้คนไข้ เนื่องจากส่วนใหญ่คนไข้ที่เป็นเบาหวานมักจะมีน้ำหนักตัวมาก จึงมีการแนะนำในเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของโรคเบาหวานแล้วยังช่วยในเรื่องความแข็งแรงของร่างกายด้วย เช่น ทำให้หัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น สามารถคุมเบาหวาน คุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยจะต้องมีการตรวจเช็กร่างกายผู้ป่วยซึ่งจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยจะวางกล้องไว้แล้วให้คนไข้ยืนติดแผ่นมาร์คเกอร์ที่หัวไหล่ ลำตัว ตะโพก ข้อเท้า เพื่อถ่ายรูปดูว่าหัวไหล่เอียงหรือไม่ ตะโพกเป็นอย่างไร ดูแนวของน้ำหนักที่ตกลงมาว่ามีความสมดุลหรือไม่
“หากมีความผิดปกติก็จะดำเนินการแก้ไขในส่วนที่ผิดปกตินั้น โดยให้คนไข้มีการออกกำลังกายที่ถูกวิธี แก้ไขส่วนที่ผิดปกติของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติมากขึ้น เช่น คนไข้ที่หลังค่อมแพทย์จะแนะนำท่าออกกำลังกายที่จะทำให้คนไข้แอ่นหลังขึ้นมา หรือคนไข้ที่ยืนแอ่นพุงก็จะแนะนำท่าออกกำลังกายที่จะทำให้หลังแข็งแรงขึ้น เพื่อดึงพุงกลับเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงเพื่อเป็นตัวพยุงธรรมชาติให้ กับผู้ป่วย ซึ่งการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยเบาหวานนอกจากจะลดโอกาสการสูญเสียอวัยวะ และมีโอกาสหายมากขึ้น ยังได้เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองด้วย”
นพ.วรวัฒน์ กล่าวถึงข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานว่า หากเป็นมานานกว่า 5 ปี มีโอกาสที่แผลจะหายยาก ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวที่ว่าคนไข้จะต้องดูแลเท้าให้มากกว่าดูแลหน้า โดยเวลาที่อาบน้ำหมั่นสังเกตตามจมูกเล็บ ซอกเล็บ ฝ่าเท้า ว่ามีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีแผลในเบื้องต้นจะสามารถรักษาได้เร็วและหายได้ เพราะคนไข้บางรายมีแผลแต่ไม่รู้สึกเจ็บจึงทำให้แผลลามกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้น และรักษายาก.
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แพทย์กำลังกายภาพบำบัดฟื้นฟู ‘แผลเบาหวาน’ ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาหนึ่งที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว แต่ถ้าหากมีแนวทางในการรักษาที่ถูกวิธีก็จะช่วยทำให้คนไข้กลับมามีสุขภาพที่ดีได้ โดยโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวหนึ่งในนั้นก็คือ “โรคเบาหวาน” ! นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานว่า เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอส่งผล ให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน คือ มากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายหยุดสร้างอินซูลินหรือสร้างได้น้อยมาก มักพบในเด็กอายุ 6-8 ปีขึ้นไป มีรูปร่างซูบผอม และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับพันธุกรรม น้ำหนักตัวที่มากขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น โดยเซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ แพทย์กำลังกายภาพบำบัดฟื้นฟู ‘แผลเบาหวาน’ “เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงก็จะทำให้เกิดน้ำตาลเพิ่มขึ้นตามหลอดเลือด หากสูงมาก ๆ จะส่งผลต่อนิ้วเท้า นิ้วมือ โดยโรคเบาหวานจะส่งผลต่อหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดเปราะพอหลอดเลือดเปราะร่างกายจะมีการสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ทดแทน แต่จะเป็นหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆ ซึ่งจะมีความแข็งแรงน้อยทำให้มีโอกาสเส้น เลือดแตกมีรอยเขียวเป็นจ้ำ ๆ ขึ้นมาได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เม็ดเลือดโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการดักจับเชื้อ โรคหรือฆ่าเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย และการสมานแผลทำได้แย่ลง รวมไปถึง ระบบประสาทก็ทำงานแย่ลงเช่นกัน” คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานมานานกว่า 5 ปีขึ้นไป แม้จะควบคุมน้ำตาลได้ดี แต่โอกาสที่จะเกิดอาการชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า มีมากขึ้นตามลำดับ บางคนเริ่มจากมีแผลเล็ก ๆ ที่ปลายเท้าก็จะมีการลามเป็นแผลใหญ่และหายยาก ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะถูกตัดนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือบางคนก็มีโอกาสที่จะถูกตัดขาได้ การกายภาพบำบัด นับเป็นการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูแผล เพื่อลดการสูญเสียอวัยวะและมีโอกาสหายมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยจะต้องมีการ ประเมินลักษณะรูปเท้าของคนไข้ เสียก่อน เพราะบางครั้งคนไข้มีรูปเท้าที่ผิดปกติ เช่น เท้าแบน เท้าล้ม เท้าแบะ เพื่อปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เข้ากับรูปเท้าของคนไข้มากที่สุด หลังจากที่มีการปรับรองเท้าหรือเพิ่มแผ่นรองรองเท้าแล้ว แพทย์จะใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดบางอย่างที่จะทำให้มีการสมานของแผลได้เร็วขึ้น โดยเครื่องมือแรก คือ Anodyne เป็นการใช้แสงอินฟาเรดโดยจะใช้แผ่นติดตามตำแหน่งของชีพจร ตามตำแหน่งของเส้นประสาท จากนั้นจะปล่อยแสงอินฟาเรดเพื่อให้มีการหมุนเวียนของเลือดและกระแสประสาทที่ดีขึ้น โดยจะทำวันเว้นวัน ในส่วนของแผลประมาณ 1 สัปดาห์จะเริ่มเห็นผล ส่วนในเรื่องของอาการชาหลังจากที่แพทย์ดำเนินการไปแล้วประมาณ 1 เดือน ถึงจะเห็นผล นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท อวิธีต่อมา คือ การใช้เลเซอร์ แต่เป็นเลเซอร์ของกายภาพบำบัดซึ่งจะเป็นเลเซอร์พลังงานต่ำไม่ทำให้ผิวหนัง เกิดอาการไหม้ โดยจะฉายไปยังบริเวณที่เป็นแผล ห่างจากแผลประมาณ 1 เซนติเมตร โดยจะขยับเลเซอร์ไปรอบแผล จุดละประมาณ 20 นาที เมื่อครบรอบแผลจึงหยุด โดยจะทำทุกวันเช่นกัน เพื่อกระตุ้นให้เนื้อเยื่อมีการสร้างเซลล์ใหม่หรือมีการสมานแผลที่เร็วขึ้น กว่าการที่จะล้างแผลเพียงอย่างเดียว เพื่อลดโอกาสของการถูกตัดนิ้วเท้า หรือเท้าไปได้ ซึ่งคนไข้ที่มีการตอบสนองดีเมื่อทำไปได้ 2 วัน จะเห็นผลที่ดีขึ้นแล้ว แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล หลังจากการทำกายภาพบำบัดในส่วนที่เป็นแผลแล้ว คนไข้ส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกของเท้าน้อยลง เวลาเดินบางคนมีความรู้สึกว่าเหมือนเท้าลอย ๆ หรือบางคนเดินแล้วเหมือนจะล้ม เนื่องมาจากว่า การรับรู้ของข้อในฝ่าเท้ามีน้อยลง ตรงนี้จะมีวิธีการฝึกความรู้สึก การรับรู้ให้กลับคืนมาใหม่ โดยการใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Sensory Re- education เป็นเทคนิคเพื่อให้การรับรู้ของข้อดีขึ้น โดยจะให้คนไข้เดินบนพื้นผิวลักษณะต่าง ๆ เช่น พื้นผิวเป็นเส้นตรง พื้นผิวเป็นปุ่ม พื้นผิวหยาบ รวมทั้งการรับรู้จากการใช้อุปกรณ์ในแบบต่าง ๆ เช่น สำลี แปรงขนนุ่ม แปรงขนแข็ง โดยให้คนไข้ได้สัมผัสกับอุปกรณ์ดังกล่าวในบริเวณที่ไม่มีความรู้สึก ทำอย่างละ 5-10 นาที ตลอดจน การจัดโครงสร้างร่างกายให้คนไข้ เนื่องจากส่วนใหญ่คนไข้ที่เป็นเบาหวานมักจะมีน้ำหนักตัวมาก จึงมีการแนะนำในเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของโรคเบาหวานแล้วยังช่วยในเรื่องความแข็งแรงของร่างกายด้วย เช่น ทำให้หัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น สามารถคุมเบาหวาน คุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยจะต้องมีการตรวจเช็กร่างกายผู้ป่วยซึ่งจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยจะวางกล้องไว้แล้วให้คนไข้ยืนติดแผ่นมาร์คเกอร์ที่หัวไหล่ ลำตัว ตะโพก ข้อเท้า เพื่อถ่ายรูปดูว่าหัวไหล่เอียงหรือไม่ ตะโพกเป็นอย่างไร ดูแนวของน้ำหนักที่ตกลงมาว่ามีความสมดุลหรือไม่ “หากมีความผิดปกติก็จะดำเนินการแก้ไขในส่วนที่ผิดปกตินั้น โดยให้คนไข้มีการออกกำลังกายที่ถูกวิธี แก้ไขส่วนที่ผิดปกติของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติมากขึ้น เช่น คนไข้ที่หลังค่อมแพทย์จะแนะนำท่าออกกำลังกายที่จะทำให้คนไข้แอ่นหลังขึ้นมา หรือคนไข้ที่ยืนแอ่นพุงก็จะแนะนำท่าออกกำลังกายที่จะทำให้หลังแข็งแรงขึ้น เพื่อดึงพุงกลับเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงเพื่อเป็นตัวพยุงธรรมชาติให้ กับผู้ป่วย ซึ่งการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยเบาหวานนอกจากจะลดโอกาสการสูญเสียอวัยวะ และมีโอกาสหายมากขึ้น ยังได้เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองด้วย” นพ.วรวัฒน์ กล่าวถึงข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานว่า หากเป็นมานานกว่า 5 ปี มีโอกาสที่แผลจะหายยาก ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวที่ว่าคนไข้จะต้องดูแลเท้าให้มากกว่าดูแลหน้า โดยเวลาที่อาบน้ำหมั่นสังเกตตามจมูกเล็บ ซอกเล็บ ฝ่าเท้า ว่ามีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีแผลในเบื้องต้นจะสามารถรักษาได้เร็วและหายได้ เพราะคนไข้บางรายมีแผลแต่ไม่รู้สึกเจ็บจึงทำให้แผลลามกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้น และรักษายาก. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/221414/กายภาพบำบัดฟื้นฟู+‘แผลเบาหวาน’ลดการสูญเสีย+ช่วยรักษาสมดุลร่างกาย เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)