ม็อบจิ๋ว...'เด็กสวนลุม'….เสียงดังจากนกหวีด อาจทำให้ประสาทหูเสื่อม
"หนูต้องมาให้ได้ หนูมาไล่ยิ่งลักษณ์..."
"น้องหลิน" เด็กน้อยวัยไม่เกิน 3 ขวบ ซึ่งอยู่ในวัยกำลังเรียนรู้จดจำและเลียนแบบ ตอบด้วยน้ำเสียงจริงจัง แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นคำตอบจากปากของหนูน้อย หลังแสดงความรู้สึกไม่ค่อยพอใจ เมื่อมีคนมาถามหรือห้ามไม่ให้ร่วมชุมนุม
"น้องหลิน" เดินทางมาจากพัทลุงพร้อมแม่ อาศัยกินอยู่หลับนอนหน้าเวทีปทุมวันก่อนย้ายมาที่เวทีสวนลุมฯ ชีวิตช่วงกลางวันนอกจากวิ่งเล่นทั่วไปแล้ว จะไปนั่งอ่านหนังสือกับเด็กรุ่นพี่คนอื่นๆ ส่วนกลางคืนน้องหลินต้องฟัง "ลุงสุเทพ" ก่อนนอนทุกคืน
"หนูนอน 3 ทุ่ม รอลุงกำนันมา หนูจะได้ไปเป่านกหวีด นั่งตบมือ..." น้องหลิน ยอมรับว่า บางครั้งไม่ชอบตอนที่คนมาเยอะๆ เพราะวุ่นวายคนเดินเบียดไปมา
ขณะนี้ ไม่มีใครรู้จำนวนตัวเลขแน่นอนของเด็กเล็กที่มาร่วมชุมนุมในพื้นที่เวทีสวนลุ มฯ แต่จากที่ผู้สื่อข่าวสำรวจเบื้องต้นในช่วงกลางวันนั้น เชื่อว่ามีเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 10 ขวบ ประมาณ 10 กว่าคนที่เป็นขาประจำ ส่วนเด็กเล็กกลุ่มอื่นๆ จะมากับผู้ปกครองเป็นครั้งคราว
"น้องวิว" วัย 8 ขวบ เพื่อนเล่นของน้องหลินที่เดินทางมากับพ่อจากสุราษฎร์ธานี มาร่วมชุมนุมเกือบ 3 เดือนแล้ว กิจวัตรประจำวันของหนูน้อยคนนี้คือการนำหนังสือที่ได้รับบริจาค มาวางให้ผู้ร่วมชุมนุมหยิบไปอ่านฟรีๆ หากช่วงไหนมีเวลาว่างก็อ่านหนังสือให้เด็กคนอื่นฟัง พอตกเย็นราว 4 โมง จะเก็บหนังสือลงกล่อง แล้วไปเดินเล่นหาข้าวกินและอาบน้ำ ก่อนมานั่งรอดูลุงกำนัน เมื่อลุงกำนันพูดจบจะเล่นกับเพื่อนๆ วัยเดียวกันอีกพักก่อนเข้านอนในเต็นท์
"สนุกดี เวทีมีคนผ่านไปผ่านมาเยอะ บางครั้งก็รู้จัก คนที่เคยเห็นก็ได้เห็นอีกครั้ง ได้อ่านหนังสือ ถ้าหนูอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร หนูชอบที่ชุมนุมมีเพื่อนเยอะกว่าอยู่บ้าน" น้องวิวบอกเล่าความรู้สึกหลังจากมาร่วมชุมนุมกับผู้ใหญ่นานกว่า 3 เดือน ถ้าเกิดเหตุรุนแรงจะกลัวหรือไม่ "น้องวิว" ตอบทันทีว่า ไม่กลัว อย่างแรกขอให้ทุกคนมีสติก่อน แล้วค่อยพยายามหาทางหนี ถ้ามีคนบาดเจ็บก็เรียกให้เขามีสติแล้วเรียกคนมาช่วย
ขณะที่ "จิรภา อรุณไทย" คุณแม่วัย 39 ปี พาลูกชายวัยขวบเศษ มาจากสุราษฎร์ธานี กำลังจับจองพื้นที่หน้าเวทีปราศรัย ยอมรับว่า เพิ่งมานอนที่สวนลุมพินีเป็นคืนแรก ตอนนี้สามีกำลังไปซื้อเต็นท์ ที่นี่มีห้องน้ำ อาหารพร้อม เหตุที่พาลูกมาด้วยเพราะลูกยังกินนมตัวเองอยู่
ไม่ต่างจาก "สมชาย ซอหิรัญ" คุณพ่อวัย 50 ปี นั่งรถทัวร์มากับลูกชายวัย 2 ขวบและภรรยา พวกเขามาร่วมชุมนุมกว่า 10 ครั้งแล้ว และพาลูกมาเกือบทุกครั้ง
"เรามาทำหน้าที่ของเรา เราทำเพื่อลูก ลูกของเราอยู่บ้านไม่มีใครเลี้ยง การปล่อยลูกไว้ไม่มีคนเลี้ยงนี่แหละคือการทำร้ายลูก เลยเอาลูกมาด้วย ไม่มีอะไรน่ากลัว พวกเขาพูดเรื่องสิทธิเด็กทำไมกัน ลูกผมสบายดีไม่มีปัญหาอะไร ที่นี่ปลอดภัยยิ่งกว่าปล่อยลูกไว้ แล้วเราไม่อยู่บ้าน ลูกอาจเกิดอันตรายมากกว่า เราไม่มีญาติช่วยเลี้ยง ไม่พาลูกมาลูกก็ขาดความอบอุ่น สิ่งที่เรามาทำเพื่อลูกก็ไม่มีความหมาย เลยเอาลูกมาด้วยเลย ไม่ชนะไม่กลับ"
"สมชาย" บอกอีกว่า ลูกของเขารู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ดี กลายเป็นขวัญใจของมวลชนไปแล้ว ทุกคนช่วยดูแล คอยระวังเหตุร้ายที่อาจเกิดกับเด็กตามที่ปรากฏข่าว แม้ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่พาเด็กเล็กมาร่วมชุมนุม จะมีเหตุผลต่างๆ นานา ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคัดค้านการนำเด็กมาร่วมชุมนุม โดยเฉพาะการโพสต์ข้อความต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่นกรณี การเปิดเฟซบุ๊กชื่อ "เราจะไม่พาเด็กไปชุมนุม" โดยสรุปวัตถุประสงค์ของกลุ่มนี้ว่า
"ผมโพสต์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้เข้าข้างการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คิดถึงแต่เด็กจริงๆ เป็นห่วง จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว มิได้ตื่นตระหนกไปเอง หากผู้ชุมนุมโดนโยนแก๊สน้ำตา เด็กเห็นพ่อแม่ถูกตี หรือเห็นพ่อแม่ตีคนอื่น เห็นการใช้ความรุนแรง คำหยาบ คนถืออาวุธ ท่อเหล็ก ไม้หน้าสามเดินไปมาแล้วคนรอบๆ คนบนเวทีและพ่อแม่ก็ร้องตะโกน สนับสนุนความรุนแรงและคำหยาบ ก้าวร้าว เด็กเล็กๆ ขนาดนั้น เขาจะเติบโตขึ้นมาอย่างไร จะฝังใจ โดนทำร้ายทางจิตใจไหม ...ช่วยตอบคำถามตัวเองเถอะนะครับ ว่าอยากให้ลูกซึมซับแบบอย่างความรุนแรงก้าวร้าว เอาน้องไปเสี่ยงต่ออันตรายเอาเขาไปลำบาก ฝนตก แดดออก น้ำขังในแหล่งที่ขยะและส้วมไม่ถูกอนามัย มีคนชุมนุมเยอะที่ป่วยเป็นไข้หวัด ผมไม่ได้ห้าม ยอมรับได้ และสนับสนุนให้ประชาชน นักศึกษา มีส่วนร่วมทางการเมือง แต่อยากจะตั้งกระทู้ถามถึงความสมควรที่เอาเด็กเล็กๆ ไปด้วย นะครับ"
ขณะที่ ผู้ใช้ชื่อ "# หมอมินรักษ์โลก" ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย เข้ามาโพสต์ข้อความเตือนเด็กๆ ให้ระวังเสียงดังจากนกหวีด เนื่องจากอาจทำให้หูเสื่อมได้ โดยปกติทั่วไปค่ามาตรฐานตามกำหนดขององค์การอนามัยโลก กำหนดเสียงระดับปลอดภัยไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ต่อ 8 ชม. คนทำงานในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องไม่เกิน 70 ต่อ 24 ชม. เมื่อดังขึ้นระดับ 120 จะทำให้เริ่มรู้สึกทรมาน หากดังเกิน 140 จะทำให้เกิดอันตรายได้
"เสียงดังจากนกหวีดมีความดังถึง 120 เดซิเบลเอ เทียบเท่ากับระดับเสียงเครื่องบินไอพ่น การอยู่ในสภาวะที่หูต้องพบเจอกับเสียงดังมากๆ เนื่องด้วยอวัยวะทุกส่วนของเด็กจะทนทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเด็กได้ยินเสียงดังตลอดเวลา ก็จะทำให้หูเสื่อมได้ง่าย"
สำหรับปัญหาที่อาจเกิดกับเด็กในที่ชุมนุมนั้น หมอมิน ระบุว่ามี 3 ข้อด้วยกันคือ 1.ในการชุมนุมเด็กอยู่ในสภาพอากาศแตกต่างจากปกติ อาจร้อนอบอ้าวกลางวัน หรือเย็นกว่าปกติในตอนกลางคืน ทำให้สภาพร่างกายเด็กอ่อนแอลงได้ ในสถานที่ชุมนุมแออัด จะมีผู้ชุมนุมบางคนเจ็บป่วยทั้งทางระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร เด็กยิ่งมีโอกาสติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กอายุยังน้อยๆ 2.กลุ่มผู้ชุมนุมใช้นกหวีดเสียงดังมาก การอยู่ในสถานที่เสียงดังเป็นเวลานานอันตรายต่อระบบประสาทการได้ยินของเด็ก และ 3.หากมีการปะทะหรือความรุนแรง เด็กจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ ทั้งทางกายและทางจิตใจ
พร้อมสรุปว่า หากพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นและได้รับการฝึกวินัยมาเป็นอย่างดี โอกาสที่การเข้าร่วมชุมนุมจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว และสิ่งที่ต้องห้ามทำอย่างเด็ดขาด คือ การใช้เด็กเป็นโล่มนุษย์ เพื่อปกป้องอันตรายของผู้ใหญ่ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็กอย่างรุนแรง และไม่สามารถยอมรับได้ เพราะจะทำให้เด็กได้รับผลกระทบต่อร่างกาย และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการจิตใจ และอาจเกิดโรคทางจิตเวชในระยะยาวได้
แม้ว่า เครือข่ายสิทธิเด็กในประเทศไทย และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูนิเซฟ ได้ช่วยกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล และกลุ่มประท้วง ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง นำเด็กๆ ออกห่างจากสถานที่ชุมนุมประท้วงทุกแห่ง แต่ดูเหมือนคำเตือนเรื่องสิทธิและความปลอดภัยของเด็ก ยังไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มพ่อแม่หรือญาติบางกลุ่ม โดยอ้างถึงสิทธิของผู้ปกครองที่สามารถพาเด็กไปไหนก็ได้ !?
ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140317/180992.html (ขนาดไฟล์: 167)
(komchadluek ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มี.ค.57)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพ การชุมนุม "หนูต้องมาให้ได้ หนูมาไล่ยิ่งลักษณ์..." "น้องหลิน" เด็กน้อยวัยไม่เกิน 3 ขวบ ซึ่งอยู่ในวัยกำลังเรียนรู้จดจำและเลียนแบบ ตอบด้วยน้ำเสียงจริงจัง แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นคำตอบจากปากของหนูน้อย หลังแสดงความรู้สึกไม่ค่อยพอใจ เมื่อมีคนมาถามหรือห้ามไม่ให้ร่วมชุมนุม ภาพ เด็กๆ ในที่ชุมนุม "น้องหลิน" เดินทางมาจากพัทลุงพร้อมแม่ อาศัยกินอยู่หลับนอนหน้าเวทีปทุมวันก่อนย้ายมาที่เวทีสวนลุมฯ ชีวิตช่วงกลางวันนอกจากวิ่งเล่นทั่วไปแล้ว จะไปนั่งอ่านหนังสือกับเด็กรุ่นพี่คนอื่นๆ ส่วนกลางคืนน้องหลินต้องฟัง "ลุงสุเทพ" ก่อนนอนทุกคืน "หนูนอน 3 ทุ่ม รอลุงกำนันมา หนูจะได้ไปเป่านกหวีด นั่งตบมือ..." น้องหลิน ยอมรับว่า บางครั้งไม่ชอบตอนที่คนมาเยอะๆ เพราะวุ่นวายคนเดินเบียดไปมา ขณะนี้ ไม่มีใครรู้จำนวนตัวเลขแน่นอนของเด็กเล็กที่มาร่วมชุมนุมในพื้นที่เวทีสวนลุ มฯ แต่จากที่ผู้สื่อข่าวสำรวจเบื้องต้นในช่วงกลางวันนั้น เชื่อว่ามีเด็กเล็กวัยต่ำกว่า 10 ขวบ ประมาณ 10 กว่าคนที่เป็นขาประจำ ส่วนเด็กเล็กกลุ่มอื่นๆ จะมากับผู้ปกครองเป็นครั้งคราว ภาพ เด็กๆ ในที่ชุมนุม "น้องวิว" วัย 8 ขวบ เพื่อนเล่นของน้องหลินที่เดินทางมากับพ่อจากสุราษฎร์ธานี มาร่วมชุมนุมเกือบ 3 เดือนแล้ว กิจวัตรประจำวันของหนูน้อยคนนี้คือการนำหนังสือที่ได้รับบริจาค มาวางให้ผู้ร่วมชุมนุมหยิบไปอ่านฟรีๆ หากช่วงไหนมีเวลาว่างก็อ่านหนังสือให้เด็กคนอื่นฟัง พอตกเย็นราว 4 โมง จะเก็บหนังสือลงกล่อง แล้วไปเดินเล่นหาข้าวกินและอาบน้ำ ก่อนมานั่งรอดูลุงกำนัน เมื่อลุงกำนันพูดจบจะเล่นกับเพื่อนๆ วัยเดียวกันอีกพักก่อนเข้านอนในเต็นท์ "สนุกดี เวทีมีคนผ่านไปผ่านมาเยอะ บางครั้งก็รู้จัก คนที่เคยเห็นก็ได้เห็นอีกครั้ง ได้อ่านหนังสือ ถ้าหนูอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร หนูชอบที่ชุมนุมมีเพื่อนเยอะกว่าอยู่บ้าน" น้องวิวบอกเล่าความรู้สึกหลังจากมาร่วมชุมนุมกับผู้ใหญ่นานกว่า 3 เดือน ถ้าเกิดเหตุรุนแรงจะกลัวหรือไม่ "น้องวิว" ตอบทันทีว่า ไม่กลัว อย่างแรกขอให้ทุกคนมีสติก่อน แล้วค่อยพยายามหาทางหนี ถ้ามีคนบาดเจ็บก็เรียกให้เขามีสติแล้วเรียกคนมาช่วย ขณะที่ "จิรภา อรุณไทย" คุณแม่วัย 39 ปี พาลูกชายวัยขวบเศษ มาจากสุราษฎร์ธานี กำลังจับจองพื้นที่หน้าเวทีปราศรัย ยอมรับว่า เพิ่งมานอนที่สวนลุมพินีเป็นคืนแรก ตอนนี้สามีกำลังไปซื้อเต็นท์ ที่นี่มีห้องน้ำ อาหารพร้อม เหตุที่พาลูกมาด้วยเพราะลูกยังกินนมตัวเองอยู่ ไม่ต่างจาก "สมชาย ซอหิรัญ" คุณพ่อวัย 50 ปี นั่งรถทัวร์มากับลูกชายวัย 2 ขวบและภรรยา พวกเขามาร่วมชุมนุมกว่า 10 ครั้งแล้ว และพาลูกมาเกือบทุกครั้ง "เรามาทำหน้าที่ของเรา เราทำเพื่อลูก ลูกของเราอยู่บ้านไม่มีใครเลี้ยง การปล่อยลูกไว้ไม่มีคนเลี้ยงนี่แหละคือการทำร้ายลูก เลยเอาลูกมาด้วย ไม่มีอะไรน่ากลัว พวกเขาพูดเรื่องสิทธิเด็กทำไมกัน ลูกผมสบายดีไม่มีปัญหาอะไร ที่นี่ปลอดภัยยิ่งกว่าปล่อยลูกไว้ แล้วเราไม่อยู่บ้าน ลูกอาจเกิดอันตรายมากกว่า เราไม่มีญาติช่วยเลี้ยง ไม่พาลูกมาลูกก็ขาดความอบอุ่น สิ่งที่เรามาทำเพื่อลูกก็ไม่มีความหมาย เลยเอาลูกมาด้วยเลย ไม่ชนะไม่กลับ" ภาพ เด็กๆ ในที่ชุมนุม "สมชาย" บอกอีกว่า ลูกของเขารู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ดี กลายเป็นขวัญใจของมวลชนไปแล้ว ทุกคนช่วยดูแล คอยระวังเหตุร้ายที่อาจเกิดกับเด็กตามที่ปรากฏข่าว แม้ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่พาเด็กเล็กมาร่วมชุมนุม จะมีเหตุผลต่างๆ นานา ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคัดค้านการนำเด็กมาร่วมชุมนุม โดยเฉพาะการโพสต์ข้อความต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่นกรณี การเปิดเฟซบุ๊กชื่อ "เราจะไม่พาเด็กไปชุมนุม" โดยสรุปวัตถุประสงค์ของกลุ่มนี้ว่า "ผมโพสต์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้เข้าข้างการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คิดถึงแต่เด็กจริงๆ เป็นห่วง จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว มิได้ตื่นตระหนกไปเอง หากผู้ชุมนุมโดนโยนแก๊สน้ำตา เด็กเห็นพ่อแม่ถูกตี หรือเห็นพ่อแม่ตีคนอื่น เห็นการใช้ความรุนแรง คำหยาบ คนถืออาวุธ ท่อเหล็ก ไม้หน้าสามเดินไปมาแล้วคนรอบๆ คนบนเวทีและพ่อแม่ก็ร้องตะโกน สนับสนุนความรุนแรงและคำหยาบ ก้าวร้าว เด็กเล็กๆ ขนาดนั้น เขาจะเติบโตขึ้นมาอย่างไร จะฝังใจ โดนทำร้ายทางจิตใจไหม ...ช่วยตอบคำถามตัวเองเถอะนะครับ ว่าอยากให้ลูกซึมซับแบบอย่างความรุนแรงก้าวร้าว เอาน้องไปเสี่ยงต่ออันตรายเอาเขาไปลำบาก ฝนตก แดดออก น้ำขังในแหล่งที่ขยะและส้วมไม่ถูกอนามัย มีคนชุมนุมเยอะที่ป่วยเป็นไข้หวัด ผมไม่ได้ห้าม ยอมรับได้ และสนับสนุนให้ประชาชน นักศึกษา มีส่วนร่วมทางการเมือง แต่อยากจะตั้งกระทู้ถามถึงความสมควรที่เอาเด็กเล็กๆ ไปด้วย นะครับ" ขณะที่ ผู้ใช้ชื่อ "# หมอมินรักษ์โลก" ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย เข้ามาโพสต์ข้อความเตือนเด็กๆ ให้ระวังเสียงดังจากนกหวีด เนื่องจากอาจทำให้หูเสื่อมได้ โดยปกติทั่วไปค่ามาตรฐานตามกำหนดขององค์การอนามัยโลก กำหนดเสียงระดับปลอดภัยไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ต่อ 8 ชม. คนทำงานในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องไม่เกิน 70 ต่อ 24 ชม. เมื่อดังขึ้นระดับ 120 จะทำให้เริ่มรู้สึกทรมาน หากดังเกิน 140 จะทำให้เกิดอันตรายได้ "เสียงดังจากนกหวีดมีความดังถึง 120 เดซิเบลเอ เทียบเท่ากับระดับเสียงเครื่องบินไอพ่น การอยู่ในสภาวะที่หูต้องพบเจอกับเสียงดังมากๆ เนื่องด้วยอวัยวะทุกส่วนของเด็กจะทนทานน้อยกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเด็กได้ยินเสียงดังตลอดเวลา ก็จะทำให้หูเสื่อมได้ง่าย" สำหรับปัญหาที่อาจเกิดกับเด็กในที่ชุมนุมนั้น หมอมิน ระบุว่ามี 3 ข้อด้วยกันคือ 1.ในการชุมนุมเด็กอยู่ในสภาพอากาศแตกต่างจากปกติ อาจร้อนอบอ้าวกลางวัน หรือเย็นกว่าปกติในตอนกลางคืน ทำให้สภาพร่างกายเด็กอ่อนแอลงได้ ในสถานที่ชุมนุมแออัด จะมีผู้ชุมนุมบางคนเจ็บป่วยทั้งทางระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร เด็กยิ่งมีโอกาสติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กอายุยังน้อยๆ 2.กลุ่มผู้ชุมนุมใช้นกหวีดเสียงดังมาก การอยู่ในสถานที่เสียงดังเป็นเวลานานอันตรายต่อระบบประสาทการได้ยินของเด็ก และ 3.หากมีการปะทะหรือความรุนแรง เด็กจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ ทั้งทางกายและทางจิตใจ พร้อมสรุปว่า หากพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นและได้รับการฝึกวินัยมาเป็นอย่างดี โอกาสที่การเข้าร่วมชุมนุมจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว และสิ่งที่ต้องห้ามทำอย่างเด็ดขาด คือ การใช้เด็กเป็นโล่มนุษย์ เพื่อปกป้องอันตรายของผู้ใหญ่ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็กอย่างรุนแรง และไม่สามารถยอมรับได้ เพราะจะทำให้เด็กได้รับผลกระทบต่อร่างกาย และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการจิตใจ และอาจเกิดโรคทางจิตเวชในระยะยาวได้ แม้ว่า เครือข่ายสิทธิเด็กในประเทศไทย และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูนิเซฟ ได้ช่วยกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล และกลุ่มประท้วง ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง นำเด็กๆ ออกห่างจากสถานที่ชุมนุมประท้วงทุกแห่ง แต่ดูเหมือนคำเตือนเรื่องสิทธิและความปลอดภัยของเด็ก ยังไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มพ่อแม่หรือญาติบางกลุ่ม โดยอ้างถึงสิทธิของผู้ปกครองที่สามารถพาเด็กไปไหนก็ได้ !? ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140317/180992.html (komchadluek ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มี.ค.57)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)