การบำบัดเด็กออทิสติก
เมื่อต้นเดือนที่แล้วได้เกริ่นไปถึงบทสรุปของออทิสติกที่ว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตั้งใจจะมีลูกแล้ว ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพฉบับนี้ จะขอแบ่งปันเรื่องของการบำบัดเด็กออทิสติกในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีลูกน้อยเป็นออทิสติกแล้วค่ะ
อย่างที่เคยแบ่งปันกันไปบ้างว่า อาการของโรคออทิสติกนั้น มักเกี่ยวข้องโดยตรงกับพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กเอง ดังนั้น สิ่งที่ควรถูกพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ วิธีการใดบ้างที่จะช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งโปรแกรมนี้แหละจะเป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะทำให้การบำบัดรักษาอาการ ออทิสติกดีขึ้น และเมื่อเด็กได้รับการบำบัดลักษณะนี้เร็วมากเท่าไร ก็จะยิ่งดีกับตัวเด็กมากขึ้นเท่านั้น ส่วนลักษณะการบำบัดก็แบ่งได้เป็นหลายอย่าง เช่น การบำบัดทางพฤติกรรม การฝึกทักษะการสื่อสาร การฝึกการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อมัดเล็กต่าง ๆ ค่ะ
เคยมีคุณแม่ถามว่า ควรจะเริ่มการบำบัดภาวะออทิสติกตั้งแต่เมื่อใดกันแน่ ถ้าให้ตอบตามตรงแล้วคือ ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี ผู้เขียนขอยกตัวอย่างประสบการณ์สมัยที่ทำงานที่สหรัฐอเมริกาแล้วกันค่ะ
ที่สหรัฐอเมริกานั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติก็สามารถพาลูกน้อยไปรับการประเมินจากนักพัฒนาการ ซึ่งมีอยู่ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกต่าง ๆ ได้ทันที หลังจากนั้น หากเด็กมีความผิดปกติที่สังเกตได้อย่างเด่นชัด เด็กจะถูกโอนย้ายให้ไปตรวจวินิจฉัยอย่างชัดเจนจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่าง ๆ ค่ะ
เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเด็กมีภาวะออทิสติก คุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นก็จะมีทางเลือก 2 ทาง คือผ่านสถานบำบัดของรัฐกับสถานบำบัดของเอกชน การรักษาที่สหรัฐอเมริกามีข้อดีอย่างหนึ่งคือ เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยและบ่งชี้ว่าเป็นออทิสติกแล้ว รัฐบาลจะเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด โดยที่เด็กจะได้รับบริการจาก Early Start Center ซึ่งมีอยู่ทั่วรัฐ โดยปราศจากค่าใช้จ่ายใด ๆ
ข้อดีของสถานบำบัดของรัฐคือ ทุกอย่างฟรีอย่างที่ได้บอกไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ บางครั้งการวินิจฉัยนั้นค่อนข้างจะเอนเอียง ยิ่งในกรณีที่เด็กมีภาวะความรุนแรงน้อยหรือมีพัฒนาการล่าช้าไม่มาก โดยทั่วไปสถานบำบัดนี้มักจะมีบริการ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การฝึกพูดแก่เด็กที่มีพัฒนาการทางการพูดล่าช้า และ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ในกรณีที่เด็กมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในส่วนของเด็กออทิสติกนั้นพบว่า เด็กส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้รับการดูแลที่ครบวงจรจนกว่าจะแสดงอาการอย่างชัดเจน ทำให้พบว่าเด็กบางคนได้รับการดูแลล่าช้า โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและการเข้าสังคม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงที่ประเมินนั้น ภาวะออทิสติกไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนนั่นเอง
ในเรื่องเดียวกันนี้ ผู้เขียนขอแบ่งปันกรณีตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า เด็กคนหนึ่งเข้ามาที่สถานบำบัดเนื่องจากคุณแม่มองว่ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าเมื่ออายุได้ 18 เดือน เด็กได้รับบัตรคิวและได้รับการประเมินเกี่ยวกับพัฒนาการที่จำเป็นเสร็จสิ้นเรียบร้อยหลังผ่านไปแล้ว 2 เดือน เด็กได้รับการบำบัดด้านการสื่อสารหลังจากรอคอยอีก 2 เดือน ในระหว่างนั้นเด็กได้รับการประเมินเพิ่มเติมเนื่องจากทีมแพทย์เห็นว่า เด็กมีพฤติกรรมแปลก ๆ ซึ่งก็ทำให้เด็กได้รับการประเมินพัฒนาการทุกด้าน แล้วก็ทำให้พบว่า เด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและการเข้าสังคมจริง ๆ หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เด็กได้รับการบำบัดพฤติกรรมและกล้ามเนื้อมัดเล็ก ประมาณเกือบเดือนที่บริษัทประกันสุขภาพอนุมัติการคุ้มครองเกี่ยวกับโปรแกรมที่เด็กจะสามารถใช้ได้ เด็กจึงได้รับการวินิจฉัยอีกครั้งโดยทีมนักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยาหลังจากต้องรอคิวประมาณ 2 เดือน และหลังจากรอผลอีกประมาณ 1 เดือน เด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกประเภท PDD-Nos สรุปคือ เด็กอายุเกือบ 2 ขวบครึ่ง จึงจะได้รับการบำบัดแบบครบวงจร จะเห็นได้ว่า ใช้เวลาค่อนข้างนาน
ส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากรอคอย ก็จะสามารถขอเข้ารับการประเมินจากสถานบำบัดของเอกชนได้ เพราะระยะเวลาในการรอคอยจะสั้นกว่ามาก แต่มีข้อเสียก็คือ สถานบำบัดของเอกชนมักจะมีคิวยาวมาก บางครั้งบริษัทประกันสุขภาพจะไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนนี้ และข้อสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุดคือ ค่าตรวจประเมินค่อนข้างสูง (ยิ่งโดยเฉพาะถ้าต้องพบผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน) คิดโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 33,000 บาท รวมถึงค่าบำบัดค่อนข้างแพงมาก เช่น 30 ชั่วโมงที่เด็กต้องฝึกพูด ฝึกกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่ปรับพฤติกรรมจะเป็นเงินทั้งสิ้นราว 198,000-3,300,000 บาทต่อเดือนนั่นเองค่ะ
ส่วนการบำบัดสามารถทำได้อย่างไร มีวิธีการใดบ้าง และในประเทศไทยมีการบำบัดในรูปแบบในบ้างนั้น ติดตามได้ต้นเดือนหน้าค่ะ. : อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/318235 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กหญิง เมื่อต้นเดือนที่แล้วได้เกริ่นไปถึงบทสรุปของออทิสติกที่ว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตั้งใจจะมีลูกแล้ว ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพฉบับนี้ จะขอแบ่งปันเรื่องของการบำบัดเด็กออทิสติกในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีลูกน้อยเป็นออทิสติกแล้วค่ะ อย่างที่เคยแบ่งปันกันไปบ้างว่า อาการของโรคออทิสติกนั้น มักเกี่ยวข้องโดยตรงกับพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กเอง ดังนั้น สิ่งที่ควรถูกพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ วิธีการใดบ้างที่จะช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งโปรแกรมนี้แหละจะเป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะทำให้การบำบัดรักษาอาการ ออทิสติกดีขึ้น และเมื่อเด็กได้รับการบำบัดลักษณะนี้เร็วมากเท่าไร ก็จะยิ่งดีกับตัวเด็กมากขึ้นเท่านั้น ส่วนลักษณะการบำบัดก็แบ่งได้เป็นหลายอย่าง เช่น การบำบัดทางพฤติกรรม การฝึกทักษะการสื่อสาร การฝึกการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อมัดเล็กต่าง ๆ ค่ะ เคยมีคุณแม่ถามว่า ควรจะเริ่มการบำบัดภาวะออทิสติกตั้งแต่เมื่อใดกันแน่ ถ้าให้ตอบตามตรงแล้วคือ ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี ผู้เขียนขอยกตัวอย่างประสบการณ์สมัยที่ทำงานที่สหรัฐอเมริกาแล้วกันค่ะ ที่สหรัฐอเมริกานั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติก็สามารถพาลูกน้อยไปรับการประเมินจากนักพัฒนาการ ซึ่งมีอยู่ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกต่าง ๆ ได้ทันที หลังจากนั้น หากเด็กมีความผิดปกติที่สังเกตได้อย่างเด่นชัด เด็กจะถูกโอนย้ายให้ไปตรวจวินิจฉัยอย่างชัดเจนจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่าง ๆ ค่ะ เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเด็กมีภาวะออทิสติก คุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นก็จะมีทางเลือก 2 ทาง คือผ่านสถานบำบัดของรัฐกับสถานบำบัดของเอกชน การรักษาที่สหรัฐอเมริกามีข้อดีอย่างหนึ่งคือ เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยและบ่งชี้ว่าเป็นออทิสติกแล้ว รัฐบาลจะเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด โดยที่เด็กจะได้รับบริการจาก Early Start Center ซึ่งมีอยู่ทั่วรัฐ โดยปราศจากค่าใช้จ่ายใด ๆ ข้อดีของสถานบำบัดของรัฐคือ ทุกอย่างฟรีอย่างที่ได้บอกไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ บางครั้งการวินิจฉัยนั้นค่อนข้างจะเอนเอียง ยิ่งในกรณีที่เด็กมีภาวะความรุนแรงน้อยหรือมีพัฒนาการล่าช้าไม่มาก โดยทั่วไปสถานบำบัดนี้มักจะมีบริการ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การฝึกพูดแก่เด็กที่มีพัฒนาการทางการพูดล่าช้า และ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ในกรณีที่เด็กมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในส่วนของเด็กออทิสติกนั้นพบว่า เด็กส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้รับการดูแลที่ครบวงจรจนกว่าจะแสดงอาการอย่างชัดเจน ทำให้พบว่าเด็กบางคนได้รับการดูแลล่าช้า โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและการเข้าสังคม ซึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงที่ประเมินนั้น ภาวะออทิสติกไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนนั่นเอง ในเรื่องเดียวกันนี้ ผู้เขียนขอแบ่งปันกรณีตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า เด็กคนหนึ่งเข้ามาที่สถานบำบัดเนื่องจากคุณแม่มองว่ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าเมื่ออายุได้ 18 เดือน เด็กได้รับบัตรคิวและได้รับการประเมินเกี่ยวกับพัฒนาการที่จำเป็นเสร็จสิ้นเรียบร้อยหลังผ่านไปแล้ว 2 เดือน เด็กได้รับการบำบัดด้านการสื่อสารหลังจากรอคอยอีก 2 เดือน ในระหว่างนั้นเด็กได้รับการประเมินเพิ่มเติมเนื่องจากทีมแพทย์เห็นว่า เด็กมีพฤติกรรมแปลก ๆ ซึ่งก็ทำให้เด็กได้รับการประเมินพัฒนาการทุกด้าน แล้วก็ทำให้พบว่า เด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและการเข้าสังคมจริง ๆ หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เด็กได้รับการบำบัดพฤติกรรมและกล้ามเนื้อมัดเล็ก ประมาณเกือบเดือนที่บริษัทประกันสุขภาพอนุมัติการคุ้มครองเกี่ยวกับโปรแกรมที่เด็กจะสามารถใช้ได้ เด็กจึงได้รับการวินิจฉัยอีกครั้งโดยทีมนักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยาหลังจากต้องรอคิวประมาณ 2 เดือน และหลังจากรอผลอีกประมาณ 1 เดือน เด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกประเภท PDD-Nos สรุปคือ เด็กอายุเกือบ 2 ขวบครึ่ง จึงจะได้รับการบำบัดแบบครบวงจร จะเห็นได้ว่า ใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากรอคอย ก็จะสามารถขอเข้ารับการประเมินจากสถานบำบัดของเอกชนได้ เพราะระยะเวลาในการรอคอยจะสั้นกว่ามาก แต่มีข้อเสียก็คือ สถานบำบัดของเอกชนมักจะมีคิวยาวมาก บางครั้งบริษัทประกันสุขภาพจะไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนนี้ และข้อสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุดคือ ค่าตรวจประเมินค่อนข้างสูง (ยิ่งโดยเฉพาะถ้าต้องพบผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน) คิดโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 33,000 บาท รวมถึงค่าบำบัดค่อนข้างแพงมาก เช่น 30 ชั่วโมงที่เด็กต้องฝึกพูด ฝึกกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่ปรับพฤติกรรมจะเป็นเงินทั้งสิ้นราว 198,000-3,300,000 บาทต่อเดือนนั่นเองค่ะ ส่วนการบำบัดสามารถทำได้อย่างไร มีวิธีการใดบ้าง และในประเทศไทยมีการบำบัดในรูปแบบในบ้างนั้น ติดตามได้ต้นเดือนหน้าค่ะ. : อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/318235
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)