กิน-อยู่ รู้ทัน เบาหวาน
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือเรียกย่อว่า DM) เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด และมีแนวโน้มของผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกระแสโลกด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้มีการจัดอันดับว่า เบาหวาน เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 โดยในทุก ๆ 8 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
จากข้อมูลพบว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 284 ล้านคน และคาดว่าภายในปี 2573 จะมีผู้ป่วยสูงขึ้นถึง 438 ล้านคน คือ เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 50% ในขณะที่สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยล่าสุดพบว่า มีผู้ป่วย 7% หรือประมาณ 4.7 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งประเทศ และพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 40-60 ปี ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าชนบท เนื่องจากอาหารการกิน ความเครียด และสภาพแวดล้อมที่มีส่วนส่งผลต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับผลของการควบคุมโรค คือ การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือใกล้เคียงเกณฑ์ปกติมากที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องดูแลรักษาควบคุมโรคตลอดชีวิต ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญของโรคเบาหวาน ก็คือการอักเสบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทุกชนิดในร่างกาย และที่สำคัญ คือ การอักเสบของหลอดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดต่าง ๆ ตีบแคบลง เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดเลือดของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของโรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และภาวะเบาหวานขึ้นตา เป็นต้น เมื่อเกิดแผลก็จะหายช้า โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็อาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาได้ นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ของร่างกายลดลงมากกว่าคนปกติทั่วไป จึงมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย และมักรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
โรคเบาหวานจึงจัดเป็นปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็ยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานมีเพิ่มมากขึ้น ในด้านการรักษานอกจากการใช้ยาแผนปัจจุบันแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้ยาสมุนไพรในการเยียวยาผู้ป่วย โดยทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สม่ำเสมอของผู้ป่วยเบาหวานนั้น ต้องมีการปรับพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกาย เพื่อให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น และช่วยควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้พลังงานและผลดีต่อสุขภาพ การรับประทานยาอย่างถูกต้อง และการใช้สมุนไพรอย่างเหมาะสม
โดยหลักการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ก็คือ การรับประทานอาหารให้ถูกส่วน มีการคำนวณแคลอรีของอาหารที่รับประทาน มีการลดอาหารพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล ส่วนโปรตีนนั้นรับประทานได้ ยกเว้นคนที่เป็นโรคไต ต้องมีการจำกัดการรับประทานโปรตีนด้วย
การรับประทานอาหารจำพวกเส้นใย อาหารที่มีเพคตินสูงเพื่อดูดซับน้ำตาลและไขมัน ช่วยทำให้เลือดสะอาด และลดคอเลสเตอรอล โดยอาหารที่มีเพคตินสูงและเส้นใยสูง เช่น ถั่ว ข้าวกล้อง แอปเปิ้ล ฝรั่ง ตำลึง เป็นต้น การรับประทานอาหารที่เพิ่มการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่เลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ใบบัวบก ใบแปะก๊วย การรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอ๊อกซิเดชั่น เพิ่มการชะลอความเสื่อมของเซลล์ เช่น กระเทียม กะเพรา ขิง ขมิ้นชัน
การรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่และวิตามิน ซึ่งพบว่า เกลือแร่หลายชนิดมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน โดยจะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้ดีขึ้น ช่วยในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โครเมี่ยมมีมากในใบยอ หน่อไม้ฝรั่ง พริกไทยดำ เมล็ดธัญพืช บรอกโคลี โกโก้ ตับ หอยนางรม ลูเที่ยน (Lutein) เป็นสารบำรุงสายตา ปกป้องเซลล์ โดยทั่วไปแล้วจะมีมากในผลไม้สีส้ม หรือสีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม แมกนีเซียม (Magnesium) ช่วยในการทำงานของเซลล์ระบบประสาท โดยจะมีในผักใบเขียวที่มีคลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบ
นอกจากนี้ ยังมีอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานอีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม น้ำมันปลา โสม และที่สำคัญ คือ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเบาหวานอย่างมีความสุข สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวความรู้และวิธีรับมือกับโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง สามารถลงทะเบียนร่วมงานเสวนาวิชาการ “กินอยู่แบบรู้ทันเบาหวาน” ได้ฟรี ที่ศูนย์สารสนเทศสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร. 0-3721-1289 ในวันเวลาราชการ หรือ www.facebook.com/abhaiherb (ขนาดไฟล์: 0 ) โดยงานจะมีขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุและโทรทัศน์อสมท.ทีมเดลินิวส์38y_38@dailynews.co.th
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/320921 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้ชายวัยกลางคน อ้วนลงพุง โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือเรียกย่อว่า DM) เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด และมีแนวโน้มของผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกระแสโลกด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้มีการจัดอันดับว่า เบาหวาน เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 โดยในทุก ๆ 8 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตจากโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน จากข้อมูลพบว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 284 ล้านคน และคาดว่าภายในปี 2573 จะมีผู้ป่วยสูงขึ้นถึง 438 ล้านคน คือ เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 50% ในขณะที่สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยล่าสุดพบว่า มีผู้ป่วย 7% หรือประมาณ 4.7 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งประเทศ และพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 40-60 ปี ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าชนบท เนื่องจากอาหารการกิน ความเครียด และสภาพแวดล้อมที่มีส่วนส่งผลต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับผลของการควบคุมโรค คือ การควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือใกล้เคียงเกณฑ์ปกติมากที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องดูแลรักษาควบคุมโรคตลอดชีวิต ส่วนผลข้างเคียงที่สำคัญของโรคเบาหวาน ก็คือการอักเสบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทุกชนิดในร่างกาย และที่สำคัญ คือ การอักเสบของหลอดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดต่าง ๆ ตีบแคบลง เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดเลือดของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของโรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และภาวะเบาหวานขึ้นตา เป็นต้น เมื่อเกิดแผลก็จะหายช้า โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็อาจรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาได้ นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ของร่างกายลดลงมากกว่าคนปกติทั่วไป จึงมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย และมักรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต โรคเบาหวานจึงจัดเป็นปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็ยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานมีเพิ่มมากขึ้น ในด้านการรักษานอกจากการใช้ยาแผนปัจจุบันแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้ยาสมุนไพรในการเยียวยาผู้ป่วย โดยทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สม่ำเสมอของผู้ป่วยเบาหวานนั้น ต้องมีการปรับพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น การออกกำลังกาย เพื่อให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น และช่วยควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้พลังงานและผลดีต่อสุขภาพ การรับประทานยาอย่างถูกต้อง และการใช้สมุนไพรอย่างเหมาะสม โดยหลักการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ก็คือ การรับประทานอาหารให้ถูกส่วน มีการคำนวณแคลอรีของอาหารที่รับประทาน มีการลดอาหารพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล ส่วนโปรตีนนั้นรับประทานได้ ยกเว้นคนที่เป็นโรคไต ต้องมีการจำกัดการรับประทานโปรตีนด้วย การรับประทานอาหารจำพวกเส้นใย อาหารที่มีเพคตินสูงเพื่อดูดซับน้ำตาลและไขมัน ช่วยทำให้เลือดสะอาด และลดคอเลสเตอรอล โดยอาหารที่มีเพคตินสูงและเส้นใยสูง เช่น ถั่ว ข้าวกล้อง แอปเปิ้ล ฝรั่ง ตำลึง เป็นต้น การรับประทานอาหารที่เพิ่มการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่เลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ใบบัวบก ใบแปะก๊วย การรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอ๊อกซิเดชั่น เพิ่มการชะลอความเสื่อมของเซลล์ เช่น กระเทียม กะเพรา ขิง ขมิ้นชัน การรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่และวิตามิน ซึ่งพบว่า เกลือแร่หลายชนิดมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน โดยจะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้ดีขึ้น ช่วยในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โครเมี่ยมมีมากในใบยอ หน่อไม้ฝรั่ง พริกไทยดำ เมล็ดธัญพืช บรอกโคลี โกโก้ ตับ หอยนางรม ลูเที่ยน (Lutein) เป็นสารบำรุงสายตา ปกป้องเซลล์ โดยทั่วไปแล้วจะมีมากในผลไม้สีส้ม หรือสีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม แมกนีเซียม (Magnesium) ช่วยในการทำงานของเซลล์ระบบประสาท โดยจะมีในผักใบเขียวที่มีคลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ยังมีอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานอีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม น้ำมันปลา โสม และที่สำคัญ คือ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเบาหวานอย่างมีความสุข สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวความรู้และวิธีรับมือกับโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง สามารถลงทะเบียนร่วมงานเสวนาวิชาการ “กินอยู่แบบรู้ทันเบาหวาน” ได้ฟรี ที่ศูนย์สารสนเทศสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร. 0-3721-1289 ในวันเวลาราชการ หรือ www.facebook.com/abhaiherb โดยงานจะมีขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุและโทรทัศน์อสมท.ทีมเดลินิวส์38y_38@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/320921
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)