คนดังร่วมงาน“ตรวจสุขภาพได้บุญ”ช่วยเด็กพิการบนในหน้า
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 โรงพยาบาลปิยะเวท แบ่งปันสู่สังคม และสร้างสรรค์สังคมสุขภาพแข็งแรง เดินหน้าจัดโครงการ “ยิ้มสร้างสุข” โดยร่วมมือกับ Operation Smile (มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม) เชิญชวนคนไทยตรวจสุขภาพ พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่ง สนับสนุนการผ่าตัดให้เด็กที่เกิดมาพร้อมความพิการบนใบหน้า ต่อยอดภารกิจในด้านแบ่งปันคืนสู่สังคมของโรงพยาบาล
นายสานิต หวังวิชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจและการตลาด โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า “โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่มีนโยบายประกอบธุรกิจให้บริการดูแลรักษาสุขภาพ ควบคู่กับการแบ่งปันสู่งสังคมไทยเป็นหลัก ภายใต้แนวคิดการให้บริการดุจญาติมิตร ในด้านการป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู-ดูแล และ แบ่งปัน เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และเพื่อเป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในวงกว้างมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “ยิ้มสร้างสุข” โดยร่วมกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม Operation Smile เชิญชวนคนไทยตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายโปรแกรมตรวจสุขภาพดังกล่าว ร่วมสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดให้กับเด็กที่เกิดมาพร้อมความพิการบนใบหน้า เพื่อให้เด็กกลุ่มดังกล่าว ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
นายแพทย์วัชชิระ ตีระพิพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวว่า “โรคปากแหว่งเพดานโหว่ คือ โรคที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนใบหน้า พบอุบัติการณ์ประมาณ 1 ใน 700 ของทารกแรกเกิด ลักษณะของปากแหว่ง คือ จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียว หรือ สองด้าน ส่วนเพดานโหว่ จะมีลักษณะเป็นรอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง โรคนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จากหลายสาเหตุ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือ ปัจจัยที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด สืบเนื่องจากพิษของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด และ อาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ เป็นต้น”
“เด็กที่มีความผิดปกติในลักษณะนี้ จะมีปัญหาตั้งแต่การเลี้ยงดูหลังคลอด เนื่องจากเด็กจะไม่สามรถดูดนมได้ดีเท่าเด็กทั่วไป และอาจมีปัญหาในระบบของร่างกายร่วมด้วย เช่น ความพิการทางหัวใจและระบบไหลเวียน ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบประสาทและสมอง เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านการพูดคุย การออกเสียง หรือ พูดไม่ชัด วิธีการป้องกันภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ยังทำไม่ได้ในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า มารดาที่ได้รับวิตามินรวมที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิคก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ในขณะเดียวกันก็พบว่ามารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะให้ กำเนิดบุตรที่มีภาวะโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการได้รับวิตามินเอในปริมาณมาก ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายของเด็กได้ ปัจจุบันความผิดปกติดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด โดยจะต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าเด็กสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในช่องปากและจมูก ควรทำตอนที่เด็กอายุน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนการผ่าตัดแก้ไขภาวะเพดานโหว่นั้น เด็กควรมีอายุ 12- 18 เดือน ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสุขภาพเด็กโดยรวมและลักษณะของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นสำคัญ” นพ.วัชชิระ กล่าวเพิ่มเติม
คุณจินตกาญ ศรีชลวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาวางแผนกลยุทธ์ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม กล่าวว่า “การจะช่วยเหลือแก่เด็กที่เกิดมาพร้อมกับความพิการบนใบหน้าได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในสังคม โดยเฉพาะในการให้ความรู้แก่คนในสังคมเกี่ยวกับปัญหาสาเหตุ และวิธีให้ความช่วยเหลือซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด เด็กที่มีการพิการจากโรคนี้จะต้องทนทุกข์จากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอารมณ์และพัฒนาการ และส่วนมากไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างสะดวกจึงเป็นโรคขาดสารอาหารและมี อาการป่วยตามมา ปัจจุบัน มีผู้ที่ยังไม่ได้รับการรักษาโรคปากแหว่งและเพดานโหว่อีกมาก และในแต่ละปีจะมีจำนวนเด็กที่มีความผิดปกติบนใบหน้าตั้งแต่กำเนิดเฉลี่ย 2,000 คน เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลปิยะเวท ได้เข้ามาเป็นส่วนร่วมและให้การสนับสนุนทั้งด้านให้ความรู้ถึงปัญหาดังกล่าว แก่สังคม และเป็นช่องทางในการระดมความช่วยเหลือ เพราะเราเชื่อมั่นว่า ความช่วยเหลือในครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถดำเนินภารกิจของมูลนิธิได้อย่างราบรื่น และสร้างรอยยิ้มให้แก่เด็กที่มีความพิการบนใบหน้า ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนดังคนปกติต่อไป”
นพ.วัชชิระ กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพว่า “การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ว่าสภาพร่างกายของเรายังแข็งแรงอยู่หรือไม่ ภายในร่างกายเราเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตหรือไม่ และหากตรวจพบว่า มีอาการบางอย่างที่ส่อเค้าว่าอาจพบโรคบางโรคในระยะเริ่มต้น เราจะได้เตรียมปรึกษาคุณหมอเพื่อดูแลและรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคแต่เนิ่นๆ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอก”
โครงการดังกล่าว กำหนดระยะเวลาในการจำหน่ายโปรแกรมตรวจสุขภาพชุดยิ้มสร้างสุข ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 – 30 พฤศจิกายน 2558 โดยมีให้เลือก 2 ชุดตรวจ คือ “ชุดตรวจสุขภาพ-ยิ้มเล็ก” ราคา 999 บาท และ “ชุดตรวจสุขภาพ-ยิ้มใหญ่” ราคา 1,999 บาท รายได้ส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการจำหน่ายชุดตรวจสุขภาพของโครงการมอบให้กับ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม Operation Smile เพื่อเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อบัตรตรวจสุขภาพสำหรับตนเอง หรือ ซื้อเป็นของขวัญให้กับคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักและห่วงใยได้ที่โรงพยาบาล ปิยะเวท โทร.02-625-6555หรือ www.piyavate.com
ขอบคุณ... http://gossipstar.mthai.com/gossip-content/50775 (ขนาดไฟล์: 0 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 โรงพยาบาลปิยะเวท แบ่งปันสู่สังคม และสร้างสรรค์สังคมสุขภาพแข็งแรง เดินหน้าจัดโครงการ “ยิ้มสร้างสุข” โดยร่วมมือกับ Operation Smile (มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม) เชิญชวนคนไทยตรวจสุขภาพ พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่ง สนับสนุนการผ่าตัดให้เด็กที่เกิดมาพร้อมความพิการบนใบหน้า ต่อยอดภารกิจในด้านแบ่งปันคืนสู่สังคมของโรงพยาบาล โครงการ “ยิ้มสร้างสุข” นายสานิต หวังวิชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจและการตลาด โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า “โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่มีนโยบายประกอบธุรกิจให้บริการดูแลรักษาสุขภาพ ควบคู่กับการแบ่งปันสู่งสังคมไทยเป็นหลัก ภายใต้แนวคิดการให้บริการดุจญาติมิตร ในด้านการป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู-ดูแล และ แบ่งปัน เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และเพื่อเป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในวงกว้างมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “ยิ้มสร้างสุข” โดยร่วมกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม Operation Smile เชิญชวนคนไทยตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายโปรแกรมตรวจสุขภาพดังกล่าว ร่วมสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดให้กับเด็กที่เกิดมาพร้อมความพิการบนใบหน้า เพื่อให้เด็กกลุ่มดังกล่าว ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายแพทย์วัชชิระ ตีระพิพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวว่า “โรคปากแหว่งเพดานโหว่ คือ โรคที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนใบหน้า พบอุบัติการณ์ประมาณ 1 ใน 700 ของทารกแรกเกิด ลักษณะของปากแหว่ง คือ จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียว หรือ สองด้าน ส่วนเพดานโหว่ จะมีลักษณะเป็นรอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง โรคนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จากหลายสาเหตุ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือ ปัจจัยที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด สืบเนื่องจากพิษของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด และ อาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ เป็นต้น” “เด็กที่มีความผิดปกติในลักษณะนี้ จะมีปัญหาตั้งแต่การเลี้ยงดูหลังคลอด เนื่องจากเด็กจะไม่สามรถดูดนมได้ดีเท่าเด็กทั่วไป และอาจมีปัญหาในระบบของร่างกายร่วมด้วย เช่น ความพิการทางหัวใจและระบบไหลเวียน ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบประสาทและสมอง เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านการพูดคุย การออกเสียง หรือ พูดไม่ชัด วิธีการป้องกันภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ยังทำไม่ได้ในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า มารดาที่ได้รับวิตามินรวมที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิคก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ในขณะเดียวกันก็พบว่ามารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะให้ กำเนิดบุตรที่มีภาวะโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการได้รับวิตามินเอในปริมาณมาก ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายของเด็กได้ ปัจจุบันความผิดปกติดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด โดยจะต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าเด็กสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในช่องปากและจมูก ควรทำตอนที่เด็กอายุน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนการผ่าตัดแก้ไขภาวะเพดานโหว่นั้น เด็กควรมีอายุ 12- 18 เดือน ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสุขภาพเด็กโดยรวมและลักษณะของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นสำคัญ” นพ.วัชชิระ กล่าวเพิ่มเติม โครงการ “ยิ้มสร้างสุข” คุณจินตกาญ ศรีชลวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาวางแผนกลยุทธ์ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม กล่าวว่า “การจะช่วยเหลือแก่เด็กที่เกิดมาพร้อมกับความพิการบนใบหน้าได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในสังคม โดยเฉพาะในการให้ความรู้แก่คนในสังคมเกี่ยวกับปัญหาสาเหตุ และวิธีให้ความช่วยเหลือซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด เด็กที่มีการพิการจากโรคนี้จะต้องทนทุกข์จากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอารมณ์และพัฒนาการ และส่วนมากไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างสะดวกจึงเป็นโรคขาดสารอาหารและมี อาการป่วยตามมา ปัจจุบัน มีผู้ที่ยังไม่ได้รับการรักษาโรคปากแหว่งและเพดานโหว่อีกมาก และในแต่ละปีจะมีจำนวนเด็กที่มีความผิดปกติบนใบหน้าตั้งแต่กำเนิดเฉลี่ย 2,000 คน เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลปิยะเวท ได้เข้ามาเป็นส่วนร่วมและให้การสนับสนุนทั้งด้านให้ความรู้ถึงปัญหาดังกล่าว แก่สังคม และเป็นช่องทางในการระดมความช่วยเหลือ เพราะเราเชื่อมั่นว่า ความช่วยเหลือในครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราสามารถดำเนินภารกิจของมูลนิธิได้อย่างราบรื่น และสร้างรอยยิ้มให้แก่เด็กที่มีความพิการบนใบหน้า ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนดังคนปกติต่อไป” นพ.วัชชิระ กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพว่า “การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ว่าสภาพร่างกายของเรายังแข็งแรงอยู่หรือไม่ ภายในร่างกายเราเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตหรือไม่ และหากตรวจพบว่า มีอาการบางอย่างที่ส่อเค้าว่าอาจพบโรคบางโรคในระยะเริ่มต้น เราจะได้เตรียมปรึกษาคุณหมอเพื่อดูแลและรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคแต่เนิ่นๆ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ทั้งภายในและภายนอก” โครงการดังกล่าว กำหนดระยะเวลาในการจำหน่ายโปรแกรมตรวจสุขภาพชุดยิ้มสร้างสุข ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 – 30 พฤศจิกายน 2558 โดยมีให้เลือก 2 ชุดตรวจ คือ “ชุดตรวจสุขภาพ-ยิ้มเล็ก” ราคา 999 บาท และ “ชุดตรวจสุขภาพ-ยิ้มใหญ่” ราคา 1,999 บาท รายได้ส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการจำหน่ายชุดตรวจสุขภาพของโครงการมอบให้กับ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม Operation Smile เพื่อเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อบัตรตรวจสุขภาพสำหรับตนเอง หรือ ซื้อเป็นของขวัญให้กับคนในครอบครัวหรือคนที่คุณรักและห่วงใยได้ที่โรงพยาบาล ปิยะเวท โทร.02-625-6555หรือ www.piyavate.com ขอบคุณ... http://gossipstar.mthai.com/gossip-content/50775
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)